เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน

โดย : นางสาวบุษรินทร์ จิรัฐธนากุล ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-09-08-18:03:30

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอพานทอง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ในสถานการณ์ปัจจุบันการประกอบอาชีพของประชาชนภาคการเกษตรมีความเสี่ยง เนื่องจากเป็นการทำการเกษตรแบบดั้งเดิม เช่น ปลูกพืชเชิงเดี่ยว ราคาผลผลิตตกต่ำ เป็นต้น การไม่มีอาชีพหรือรายได้เสริม มีการจัดตั้งกลุ่มอาชีพค่อนข้างน้อย ส่วนกลุ่มที่มีอยู่ยังไม่ได้รับการส่งเสริม พัฒนาอย่างเพียงพอ ประกอบกับนโยบายของรัฐบาลที่มีนโยบายลดการเหลื่อมล้ำของสังคม และการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐ ที่มุ่งหวังแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับปากท้องของประชาชนในระดับล่างที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ ด้วยปัจจัยข้างต้น จึงมุ่งเน้นที่การยกระดับฐานราก นั่นคือ รายได้ โดยการสร้างอาชีพให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น

วัตถุประสงค์ ->

1. เตรียมความพร้อมข้อมูลปราชญ์ชาวบ้านในการฝึกอบรมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน  โดยการสำรวจและจัดทำทะเบียนข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน
2. คัดเลือกปราชญ์ชาวบ้านหรือผู้ประสบความสำเร็จหรือเชี่ยวชาญในอาชีพ ที่พร้อมเข้ารับการอบรมเป็นวิทยากรผู้ถ่ายทอดสัมมาชีพ จำนวน 1 คน จากเวทีประชาคม เข้าอบรมการพัฒนาทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับปราชญ์ชุมชน (วิทยากรสัมมาชีพชุมชน) ณ ศูนย์ศึกษาพัฒนาชุมชน
3.วิทยากรสัมมาชีพชุมชนกลับไปสร้างทีมในหมู่บ้าน โดยการคัดเลือกปราชญ์ชุมชน หมู่บ้านละ๔ คน รวมเป็น 5 คน เพื่อสร้างทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน
4.จัดประชุมเตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน โดยปราชญ์ที่ผ่านการฝึกอบรมเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้  ถ่ายทอดเทคนิคการเป็นวิทยากรสัมมาชีพชุมชน  และมอบหมายภารกิจหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน กำกับติดตามครัวเรือนเป้าหมาย  จำนวน ๒๐ ครัวเรือน  โดยแบ่งสัดส่วนทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน 1 คน ต่อครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน 4 ครัวเรือน
5. เตรียมความพร้อมครัวเรือนเป้าหมายที่จะเข้ารับการอบรมอาชีพ ตามแนวทางสัมมาชีพชุมชน จำนวน 20 คน เพื่อให้ความรู้เรื่องสัมมาชีพชุมชน ความเป็นมาของโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน และกระบวนการสร้างสัมมาชีพชุมชนที่เกี่ยวข้อง  ทบทวนความต้องการของครัวเรือนเป้าหมาย ว่ายังมีความสนใจ หรือต้องการฝึกอาชีพ หรือเปลี่ยนแปลงอาชีพหรือไม่ และกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มการติดตามครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน
6. ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูล ความต้องการอาชีพ โดยจัดกลุ่มความต้องการอาชีพ พิจารณาศักยภาพของชุมชน ว่าเป็นอาชีพที่จะสำเร็จได้ สามารถสร้างรายได้จริง ซึ่งต้องเชื่อมโยงกับการตลาด สอดคล้องกับความรู้ที่ปราชญ์ชุมชนในหมู่บ้านจะถ่ายทอด   จัดเตรียมพื้นที่ฝึกอบรม  ศึกษา   ดูงาน  และวัสดุ อุปกรณ์ในการฝึกอาชีพของครัวเรือน
7. ดำเนินโครงการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน ส่งเสริมและสนับสนุนการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน   และถอดองค์ความรู้ปราชญ์ชุมชน เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่าน  ทาง Facebook  , เว็บไซต์สัมมาชีพ เป็นต้น

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. การฝึกอบรมปราชญ์ เพื่อให้เป็น“ผู้นำสัมมาชีพชุมชน” สามารถเป็นปราชญ์วิทยากร ในการถ่ายทอดความรู้ เพื่อสร้างสัมมาชีพชุมชน โดย ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชน  จำนวน 11 แห่ง ของกรมการพัฒนาชุมชน เป็นหน่วยในการจัดฝึกอบรมปราชญ์ เพื่อเพิ่มพูนทักษะด้านการถ่ายทอดความรู้และการจัดกระบวนการสัมมาชีพในชุมชนของตนเอง  จำนวนหมู่บ้านละ 1 คน รวม 23,589 คน
2. สร้างทีมปราชญ์สัมมาชีพชุมชน ให้ปราชญ์ผู้นำสัมมาชีพชุมชน ร่วมกับเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนและภาคีเครือข่าย แสวงหาทีมปราชญ์สัมมาชีพชุมชนที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ จัดประชุมและสร้างการเรียนรู้ เพิ่มอีกหมู่บ้านละ 4 คน เพื่อเป็นทีมในการฝึกอาชีพ และไปส่งเสริม สนับสนุน กำกับและติดตามให้ครัวเรือนเป้าหมาย จำนวนหมู่บ้านๆละ 20 คน มีความรู้ในการทำอาชีพ สามารถพัฒนาตนเองและสร้างอาชีพได้
3. ฝึกอบรมสร้างสัมมาชีพชุมชน เป้าหมายจำนวนหมู่บ้านละ 20 คน ประกอบด้วย ผู้ที่ได้สำรวจความต้องการฝึกอาชีพไว้ที่หมู่บ้าน หรือครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ จปฐ. โดยปราชญ์ชุมชนที่เป็นวิทยากรผู้ถ่ายทอดประจำหมู่บ้านเป็นผู้ถ่ายทอดและฝึกอาชีพ ร่วมกับทีมปราชญ์ชุมชนของหมู่บ้าน  หรืออาจเชิญวิทยากรปราชญ์ชุมชนในหมู่บ้านอื่นๆ ในเขตจังหวัดเดียวกัน ถ้ามีอาชีพที่แตกต่างไปจากความรู้ของปราชญ์ชุมชนร่วมเป็นวิทยากร หรือมีการจัดไปศึกษาดูงานในศูนย์เรียนรู้ชุมชนหมู่บ้านอื่นๆ ตามอาชีพ  ที่ได้ฝึกอบรม  ซึ่งกระบวนการถ่ายทอดความรู้เน้นแบบชาวบ้านสอนชาวบ้าน เน้นฝึกการปฏิบัติจริง ใช้วัสดุจริง ลักษณะอาชีพ อาจเป็นอาชีพหลัก อาชีพเสริม หรือ อาชีพใหม่ ก็ได้ ตัวอย่างการพัฒนาสัมมาชีพ เช่น
* พัฒนาอาชีพหลักที่ทำอยู่เดิมให้มีรายได้มากขึ้น ด้วยการลดต้นทุน เปลี่ยนวิธีการ หรือการสร้างคุณภาพให้ผลผลิต หรือการทำแบบผสมผสานใช้ประโยชน์จากทุกส่วนของการผลิตหรือวัตถุดิบ มีผลผลิตตรงกับช่วงเวลาที่ตลาดต้องการ เช่น การทำนา 1 ไร่ ได้ 1 แสน ใช้ระบบน้ำหยด ปลูกผักออร์กานิกส์  ปศุสัตว์ปลอดภัย เป็นต้น
* การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ปศุสัตว์ ใช้วัตถุดิบที่มีมากในชุมชนมาแปรรูปให้ตรงกับความต้องการของตลาด พัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิต
* อาชีพที่เกี่ยวเนื่องและเชื่อมโยงกับด้านการท่องเที่ยวชุมชน ตามศักยภาพ ของทรัพยากรและพื้นที่ของชุมชน เช่น การบริการนักท่องเที่ยว นวดแผนไทย สปาร์ โฮมสเตร์ เป็นต้น
4. การส่งเสริมให้เกิดสัมมาชีพมั่นคง แกนนำสัมมาชีพและปราชญ์ชุมชน รวมหมู่บ้านละ 5 คน ต้องส่งเสริม ติดตามสนับสนุน และกำกับให้ 20 ครอบครัว สามารถนำความรู้จากการฝึกอบรมไปประกอบอาชีพ ให้มีรายได้หรือลดรายจ่าย ได้อย่างต่อเนื่องร่วมกับผู้นำ กลุ่ม องค์กร และพาคีเครือข่ายในพื้นที่ โดยใช้ศักยภาพของทุนชุมชนและแผนชุมชน เป็นเครื่องมือในการบูรณาการหน่วยงาน ทรัพยากร และงบประมาณ เพื่อสนับสนุนครัวเรือนสัมมาชีพ ให้สามารถดำเนินการพัฒนาอาชีพ สร้างอาชีพได้ อย่างมั่นคง สร้างความเข้มแข็งโดยการรวมกลุ่ม พัฒนากลุ่มเข้าถึงแหล่งทุน  พัฒนากลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชนหรือ OTOP เชื่อมโยงหรือใช้แนวทางและองค์ความรู้ จากบริษัทประชารัฐรักสามัคคีจังหวัด……………………. จำกัด  ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชน มีรายได้ ให้ความร่วมมือในการพัฒนา เศรษฐกิจฐานรากจะมั่นคงและชุมชนเข้มแข็งพึ่งตนเองได้

อุปกรณ์ ->

การอบรมครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนยังไม่มีความมั่นใจในการเป็นวิทยากรตามแนวทางที่กำหนด พัฒนากรต้องประชุมซักซ้อมสร้างความเข้าใจและมอบหมายหน้าที่ก่อนวันอบรมและในวันอบรมพัฒนากรต้องมีส่วนร่วมส่งเสริมสนับสนุนพร้อมให้กำลังใจอย่างใกล้ชิด

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. ทีมวิทยากรสัมมาชีพเข้าใจเป้าหมายของโครงการ ให้ความสำคัญกับงานมีเป้าหมายเดียวกันในการสร้างสัมมาชีพให้แก่ชุมชนอย่างยั่งยืน

2. การเข้าถึงความต้องการที่แท้จริงของชุมชน พร้อมด้วยศักยภาพที่ชุมชนมีนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดการต่อยอดได้

3. ความต่อเนื่องของการสร้างสัมมาชีพที่ไม่ได้หยุดอยู่ที่การฝึกอาชีพ แต่สำคัญตรงที่ครัวเรือนสัมมาชีพสามารถนาไปสร้างอาชีพได้อย่างยั่งยืน

4. ความเอื้อเฟื้อ สามัคคีของชุมชน จะสร้างพลังในการแบ่งปันความรู้ความสามารถที่มีในแต่ละอาชีพได้อย่างถูกต้อง

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดชลบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา