เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

การส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน

โดย : นางสาวสุวีรฌาย์ ตาวิโรจน์ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-08-02-17:40:39

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอศรีราชา

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

          การส่งเสริมการขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพชุมชน โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง ตามแผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็งของรัฐบาล ซึ่ง ตอบสนองนโยบายรัฐบาลเรื่อง การลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและการสร้างโอกาสเข้าถึง บริการของรัฐ

          ปัจจุบันนี้ สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพของประชาชนภาคการเกษตรใน ชุมชนมีภาวะความเสี่ยงของอาชีพภาคเกษตรกรรมที่เกิดจากการประกอบอาชีพแบบดั งเดิม เช่น ปลูกพืชเชิงเดี่ยว โรคพืช ราคาผลผลิตตกต่ำ การไม่มีอาชีพหรือรายได้เสริม หลังฤดูการ ผลิตและยังมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มอาชีพค่อนข้างน้อย ส่วนกลุ่มอาชีพที่มีอยู่ยังไม่ได้รับการ ส่งเสริม และพัฒนาอย่างเพียงพอ ส่งผลให้ประชาชนต้องเคลื่อนย้ายไปประกอบอาชีพในเมือง และมีส่วนราชการที่มีสถานที่หรือศูนย์ฝึกอบรมซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนเป็นศูนย์ฝึกอาชีพ/แหล่ง เรียนรู้การประกอบอาชีพได้ แต่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เท่าที่ควร ประกอบกับมีปราชญ์ชุมชนด้าน อาชีพที่เชี่ยวชาญและประสบผลส้าเร็จในการประกอบอาชีพด้านต่าง ๆ อยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชน แต่มีส่วนน้อยที่สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นนำไปทำตามให้สำเร็จได

          ในฐานะพัฒนากร จึงมุ่งเน้นที่การ ยกระดับเศรษฐกิจฐานราก นั่นคือ “รายได้” ที่ต้องท้าให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยการสร้าง อาชีพจึงเป็นที่มาของ “สัมมาชีพชุมชน”  ให้ประชาชนคิด ตัดสินในประกอบอาชีพตามความต้องการ ความถนัด จนสามารถคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น สามารถดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พึ่งตนเองและเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ครอบครัว ชุมชน หมู่บ้านและสามารถถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้อื่นได้ จนทำให้ครอบครัวเข้มแข็ง ดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข บนพื้นฐานไม่เบียดเบียนตนเอง ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เบียดเบียนธรรมชาติ จนทำให้ชุมชนเข้มแข็งได้อย่างยั่งยืน

วัตถุประสงค์ ->

1. การคัดเลือกปราชญ์ชาวบ้านโดยพิจารณาจากจากผลงานการทำงานและประสบการณ์ในการประกอบอาชีพที่ประสบความสำเร็จสามารถเป็นต้นแบบในการประกอบอาชีพได้ เพื่อเข้ารับการฝึกอบรมเพิ่มทักษะด้านการถ่ายทอดองค์ความรู้

2. ประชุมเชิงปฏิบัติการวิทยากรสัมมาชีพระดับจังหวัด เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ และวิเคราะห์ความ ต้องการอาชีพของประชาชนในหมู่บ้าน ให้สอดคล้องกับศักยภาพของชุมชน รวมถึงการจัดทาทะเบียน วิทยากรสัมมาชีพชุมชนตามประเภทอาชีพ

3. เตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน เพื่อสร้างทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน หมู่บ้านละ 5 คน  โดยทีมวิทยากรสัมมาชีพระดับหมู่บ้าน 1 คน ต่อ ครัวเรือน เป้าหมาย 4 คน ที่ต้องการฝึกอาชีพ เพื่อทบทวนความต้องการในการฝึกอาชีพได้ตรงตาม ความต้องการก่อนเริ่มการฝึกอาชีพ

4. สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอจัดซื้อวัสดุสาธิตอาชีพตามความต้องการของครัวเรือนเป้าหมายงบประมาณครัวเรือนละ 800 บาท จำนวน 20 ครัวเรือน รวมหมู่บ้านละ 16,000 บาท

5. ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนดำเนินการส่งเสริมสัมมาชีพชุมนในระดับหมู่บ้าน จัดฝึกอบรมอาชีพให้กับ ครัวเรือนเป้าหมาย จำนวน 5 วัน ตามแนวทางที่จัดเตรียมไว้ หลักสูตรอบรม ประกอบด้วย

5.1 ชี้แจงวัตถุประสงค์และการดำเนินงานขับเคลื่อนโครงการ

5.2 แนวทางการขับเคลื่อนโครงการสัมมาชีพชุมชน

5.3 Thailand 4.0

5.4 การดำเนินงานขับเคลื่อนบริษัทประชารัฐสามัคคี(จังหวัด) จำกัด

5.5 วิทยากรสัมมาชีพชุมชนถ่ายทอดความรู้ด้านอาชีพที่ต้องการฝึกอาชีพตามประเด็นต่าง ๆ

     1) ความเป็นมาของอาชีพ

     2) กระบวนการ/ขั้นตอนการประกอบอาชีพและทักษะที่เป็นนวัตกรรมในการพัฒนาอาชีพจนเกิดรายได้ให้แก่ครัวเรือน อธิบายให้ข้อมูลการประกอบอาชีพอย่างละเอียดในทุกขั้นตอนตลอดจนสาธิตอาชีพและฝึกปฏิบัติอาชีพ

     3) ศึกษาดูงานแหล่งเรียนรู้ด้านอาชีพตามความต้องการของครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน

     4) วางแผนปฏิบัติการส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาอาชีพให้แก่ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนและบันทึกข้อตกลงการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน

     5)  วิทยากรสัมมาชีพชุมชน 1 คนต่อครัวเรือนเป้าหมาย 4 คน ฝึกปฏิบัติ ณ บ้านตนเอง

     6) วิทยากรสัมมาชีพชุมชนติดตามและประเมินผลการฝึกอบรม
6. ทีมวิทยากรชุมมาชีพชุมชนและผู้ที่เกี่ยวข้องติดตามประเมินผลการดาเนินงานตามโครงการ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. การกำหนดอาชีพของครัวเรือนสัมมาชีพ เป็นการระเบิดจากข้างในทำให้ตรงกับปัญหาความ ต้องการที่แท้จริง

2. ทีมวิทยากรmทุกระดับ มีบทบาทสำคัญในการช่วยแก้ปัญหาด้านอาชีพให้กับครัวเรือน เป้าหมายอย่างแท้จริง

3. ครัวเรือนสัมมาชีพ มีความภาคภูมิใจ มีความเป็นเจ้าของในงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุน และมีรายได้เพิ่มขึ้น

4. สามารถพัฒนากลุ่มสัมมาชีพชุมชนเป็นผู้ประกอบการ OTOP ลงทะเบียน OTOP ได้ในอนาคต

อุปกรณ์ ->

1. ความรู้ความเข้าใจความเอาใจใส่ของพัฒนากรและทีมวิทยากรทุกระดับ วิทยากรต้องติดตามผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง หากวิทยากรไม่ติดตามจะทำให้ผู้ร่วมกิจกรรมไม่ดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

2. ระยะเวลาดำเนินการ ให้ดำเนินการในไตรมาส 2 ซึ่งมีระยะเวลาที่ถูกกำหนดมีเวลาสั้นมาก ต้องวางแผนการดำเนินงานให้ชัดเจนและดำเนินงานตามแผน

3. งบประมาณที่จัดสรรให้เป็นจำนวนน้อย (เงินค่าอาหารมื้อละ 50 บาทและงบประมาณ ส่งเสริมอาชีพครัวเรือนละ 800 บาท หมู่บ้านละ 16,000 บาท) ควรวางแผนการใช้จ่ายให้ดี เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

4. อาชีพที่ครัวเรือนสัมมาชีพกำหนด พบบางอาชีพรายได้ยังไม่เกิดต้องรอผลผลิต เช่น การปลูกไม้ผล การเลี้ยงปลา ฯลฯ เป็นต้น

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. ทีมวิทยากรสัมมาชีพควรมีทักษะในการสื่อสารให้ผู้อื่นได้อย่างชัดเจน

2. อาชีพที่ใช้ในการฝึกอบรมของครัวเรือน ควรเป็นอาชีพที่สามารถต่อยอดและทำได้อย่างต่อเนื่องภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่ของชุมชน

3. อาชีพที่ใช้ในการฝึกอบรมครัวเรือน ควรจะเป็นอาชีพที่วิทยากรสัมมาชีพชุมชนในหมู่บ้านมีความเชี่ยวชาญหรือมีความถนัด ซึ่งจะทำให้การดาเนินงานประสบผลสำเร็จมากกว่าอาชีพที่วิทยากรสัมมาชีพไม่มีความรู้

4. วิทยากรสัมมาชีพชุมชนและครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน ต้องมีคุณธรรมด้านความซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน ยึดหลักประชาธิปไตย และผลประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดชลบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา