เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การทำเกษตรผสมผสาน

โดย : นางประคอง ปิตะ ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-07-03-15:40:02

ที่อยู่ : 1 หมู่ที่ 7 บ้านแฝก ต.หันโจด

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

.

เกษตรระบบผสมผสาน

 ระบบเกษตรกรรมที่จะนำไปสู่การเกษตรยั่งยืน โดยมีรูปแบบที่ดำเนินการมีลักษณะใกล้เคียงกัน และทำให้ ผู้ปฏิบัติมีความสับสนในการให้ความหมายและวิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง ได้แก่ระบบเกษตรผสมผสานและระบบ ไร่นาส่วนผสม ในที่นี้จึงขอให้คำจำกัดความรวมทั้งความหมายของคำทั้ง 2 คำ ดังต่อไปนี้

      ระบบเกษตรผสมผสาน   เป็นระบบการเกษตรที่มีการเพาะปลูกพืชหรือการเลี้ยงสัตว์ต่างๆ ชนิดอยู่ในพื้นที่เดียวกันภายใต้การเกื้อกูล ประโยชน์ต่อกันและกันอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยอาศัยหลักการอยู่รวมกันระหว่างพืช สัตว์ และสิ่งแวดล้อมการอยู่รวมกันอาจจะอยู่ในรูปความสัมพันธ์ระหว่างพืชกับพืช พืชกับสัตว์ หรือสัตว์กับสัตว์ก็ได้ ระบบเกษตรผสมผสานจะประสบผลสำเร็จได้ จะต้องมีการวางรูปแบบ และดำเนินการ โดยให้ความสำคัญต่อกิจกรรม แต่ละชนิดอย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม มีการใช้แรงงาน เงินทุน ที่ดิน ปัจจัย การผลิตและทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนรู้จักนำวัสดุเหลือใช้จากการผลิตชนิดหนึ่งมาหมุนเวียนใช้ประโยชน์กับการผลิตอีกชนิดหนึ่งกับการผลิตอีกชนิดหนึ่งหรือหลายชนิดภายในไร่นาแบบครบวงจร ตัวอย่างกิจกรรมดังกล่าว เช่น การเลี้ยงไก่ หรือสุกรบนบ่อปลา การเลี้ยงปลาในนาข้าว การเลี้ยงผึ้งในสวนผลไม้ เป็นต้น
ตามแนวคิดดังกล่าวมีหลักการพื้นฐานที่สำคัญ 2 ประการ คือ
 1) ต้องมีกิจกรรมการเกษตรตั้งแต่ 2 กิจกรรมขึ้นไป
 2) ต้องเกิดการเกื้อกูลประโยชน์ระหว่างกิจกรรมต่างๆ

 

วัตถุประสงค์ ->

..

1.จัดเวทีประชุมคัดเลือกครัวเรือนที่ต้องการประกอบอาชีพทำการเกษตรผสมผสานที่จะสมัครใจเข้ามาเรียนรู้ร่วมกัน

2.ให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่ครัวเรือนสัมมาชีพที่สมัครใจให้มีทักษะและได้รับความรู้ที่ถูกต้อง ในทุกกระบวนการ เช่น

วิธีการแบ่งสัดส่วนกิจกรรมเกษตรระบบผสมผสาน
 เกษตรผสมผสานเป็นแนวทางหรือหลักในการบริหารจัดการที่ดินและน้ำ เพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำรินี้เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกร การจัดการพื้นที่แบ่งได้เป็น 4 ส่วน คือ 30:30:30:10    ดังนี้                 ขุดสระเก็บกักน้ำ  
พื้นที่ประมาณ 30% ให้ขุดสระเก็บกักน้ำ เพื่อให้มีน้ำใช้ สม่ำเสมอตลอดปี โดยเก็บกักน้ำฝนในฤดูฝน และใช้เสริมการปลูกพืชในฤดูแล้ง หรือระยะฝนทิ้งช่วง ตลอดจนการเลี้ยงสัตว์ และพืชน้ำต่างๆ เช่น ผักบุ้ง ผักกระเฉด โสน ฯลฯ
         ปลูกข้าว 
พื้นที่ประมาณ 30 % ให้ปลูกข้าวในฤดูฝน เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันสำหรับครัวเรือนให้เพียงพอตลอดปี โดยไม่ต้องซื้อหาในราคาแพง เป็นการลดค่าใช้จ่าย และสามารพึ่งตนเองได้
        ปลูกผลไม้ ไม้ยืนต้น พืชไร่ พืชผัก 
พื้นที่ประมาณ 30 % ให้ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชไร่ พืชผัก พืชสมุนไพร ฯลฯ อย่างผสมผสานกัน และหลากหลายในพื้นที่เดียวกัน เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวัน หากเหลือจากการบริโภคก็นำไปขายได้
       เป็นที่อยู่อาศัย และอื่นๆ
พื้นที่ประมาณ 10 % ใช้เป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ ถนนหนทาง คันดิน โรงเรือนและสิ่งก่อสร้างอื่นๆ รวมทั้งคอกเลี้ยงสัตว์ เรือนเพาะชำ ฉางเก็บผลิตผลการเกษตร ฯลฯ นี่เป็นทฤษฎีปฏิบัติจริง พื้นที่เป็นนาทั้งหมดหรือไร่สวนด้วย

- ออกไปติดตามประเมินผล ครัวเรือนที่ทำอาชีพนี้และหากมีปัญหาก็นำปัญหามาร่วมกันแก้ไข และพัฒนาให้ดีขึ้น

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

.

  ส่งเสริมให้ ครัวเรือนสัมมาชีพที่ประกอบอาชีพประเภทนี้ มีองค์ความรู้ที่ชัดเจน ถูกต้องและรู้จักตัวเองว่ามีจุดเด่น จุดด้อยในเรื่องใด และนำศักยภาพของตนเองมาเป็นองค์ประกอบในการดำเนินงาน

1   การวางแผนทางการเงินการลงทุน ควรวางแผนให้รอบคอบ เพราะการกู้เงินมาลงทุนมีต้นทุนทางการเงิน คือ ดอกเบี้ยเงินกู้ หากเกิดข้อผิดพลาดจะเสียหายภายหลัง

·        2  การวางแผนปลูกพืชตามฤดูกาล ที่ควรศึกษาสภาพตลาดโดยรวมด้วย หากผลผลิตออกมาใช้ช่วงเดียวกันพร้อมๆ กันก็จะเกิดภาวะล้นตลาด

·      3    การวางแผนการใช้ทรัพยากรน้ำ พืชบางชนิดต้องการน้ำมาก เช่น การปลูกข้าว ถ้าไม่วางแผนการใช้น้ำแล้วไปเจอช่วงน้ำแล้งจะลำบากทีหลัง ควรมีแหล่งน้ำเป็นของตัวเองไว้บ้าง อย่าได้เสียดายพื้นที่เก็บน้ำเลยครับ เพราะยามเกิดปัญหาจะได้เบาใจได้

·        4  วางแผนกันเงินสำรองยามฉุกเฉิน เรื่องเงินนั้นเราจะวางแผนเฉพาะเงินลงทุนเพียงอย่างเดียวดูเหมือนจะไม่ครอบคลุม ควรวางแผนกันเงินสำรองยามฉุกเฉินไว้ด้วย โดยเงินสำรองควรมีราว 20% ของรายรับทั้งปี

 

อุปกรณ์ ->

..ขั้นตอนการสาธิตอาชีพจะต้องให้ทุกคนได้ลงมือทำ จะเป็นเข้าใจนำไปปฏิบัติได้ และรับฟังข้อเสนอแนะของผู้เ้ชชข้าร่วมด้วย

 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

 

 1) ปัญหา โดยภาพรวมเกษตรกรผู้ทำเกษตรผสมผสานมีปัญหาอยูในระดับน้อย โดยเรียงลำดับของ ่ ปัญหาตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ราคาผลผลิตไม่แน่นอน ขาดอุปกรณ์เก็บเกี่ยวและขาดอุปกรณ์ในการ ดูแลรักษาผลผลิต

 2) ข้อเสนอแนะ เกษตรกรเกือบหนึ่งในสามให้ข้อเสนอแนะวา รัฐบาล ่ ควรจัดหาน้ำในฤดูแล้ง รองลงมา เสนอแนะให้รัฐบาลประกันราคาผลผลิต สนับสนุนเงินทุนดำเนินการในช่วง 1-3 ปี แรก ให้เจ้าหน้าที่ ส่งเสริมสนับสนุนให้ทำเกษตรผสมผสานเพิ่มมากขึ้น และให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิต ตามลำดับ

3  ส่งเสริมให้เกษตรกรไปทัศนศึกษาดูงานเพิ่มขึ้น

2) ส่งเสริมให้เกษตรกรมีการจดบันทึกและทำบัญชีครัวเรือน

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดขอนแก่น
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา