เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคการสนับสนุนการครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน

โดย : นางนงคราญ ดวงพรหม ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-06-30-00:25:10

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอกระนวน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

จากนโยบายลดความเลื่อมล้ำของสังคมและการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐที่มุ่งหวังแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับปากท้องของประชาชนในระดับล่างที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ ซึ่งได้มอบให้กระทรวงมหาดไทยโดยกรมการพัฒนาชุมชนเป็นหน่วยงานหลักบูรณาการไปสู่การปฏิบัติ ประชาชนมีภาวะเสี่ยงของอาชีพภาคเกษตรกรรมที่เกิดจากการประกอบอาชีพแบบดั้งเดิม มีการปลูกพืชเชิงเดี่ยว โรคพืช ราคาผลผลิตตกต่ำ การไม่มีอาชีพหรือรายได้เสริมหลังฤดูการผลิตและยังมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มอาชีพค่อนข้างน้อย อาชีพที่มีอยู่ยังไม่ได้รับการส่งเสริม จึงเป็นที่มาของ “สัมมาชีพชุมชน” ให้ประชาชนได้รับการพัฒนาอาชีพและมีรายได้ ฝึกปฏิบัติจริงให้สามารถนำไปเป็นอาชีพได้ อำเภอกระนวน มีพื่้นที่เป้าหมายในการดำเนินการ ส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน จำนวน 8 ตำบล  24 หมู่บ้าน มีการพัฒนาทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับปราชญ์ชุมชน โดยศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปาง เพื่อให้ปราชญ์กลับไปสร้างทีมและจัดฝึกอบรมให้กับครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพในหมู่บ้าน เพื่อมุ่งหมายให้ครัวเรือนที่เข้ารับการฝึกอาชีพมีความรู้ และปฏิบัติอาชีพได้จริง จนพัฒนาเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือน และต่อยอดสู่การรวมกลุ่มการจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพที่มีความเข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป

วัตถุประสงค์ ->

1.คัดเลือกผู้ที่มีความรู้ ความชำนาญในด้านอาชีพต่างๆ ในหมู่บ้านๆ ละ 1 คน รวม 36 คน

2.ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้นำปราชญ์สัมมาชีพ เข้ารับการอบรม ฝึกทักษะ และเทคนิค ของการเป็นวิทยากรผู้นำสัมมาชีพจากศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนและจังหวัด

3.เตรียมความพร้อมผู้นำสัมมาชีพชุมชนสร้างความรู้ความเข้าใจ ชี้แจงแนวทางโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน ความเป็นมาของโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน ความสำคัญของการสร้างสัมมาชีพชุมชน กระบวนการสร้างสัมมาชีพชุมชน

4. จัดทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน พร้อมมอบหมายภารกิจหน้าที่ในการส่งเสริมสนับสนุน กำกับและติดตามครัวเรือนเป้าหมาย โดยแบ่งสัดส่วนของทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน 1 คน ต่อครัวเรือน สัมมาชีพชุมชน 4 ครัวเรือน

5.ฝึกอบรมพัฒนาความรู้ เสริมสร้างทักษะการพัฒนาอาชีพตามความต้องการของครัวเรือนเป้าหมาย

6.สนับสนุนให้ทีมวิทยากรสัมมนาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ดำเนินการส่งเสริมให้ครัวเรือนนำอาชีพที่ได้ฝึกปฏิบัติไปประกอบอาชีพหรือพัฒนาอาชีพอย่างต่อเนื่อง

7.จัดทำฐานข้อมูลครัวเรือนเป้าหมาย เพื่อนำไปใช้ต่อยอดในการพัฒนาอื่นๆ

8.สรุปและประเมินผลการดำเนินงาน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

วิทยากรสัมมาชีพชุมชนผู้เป็นเจ้าของอาชีพ ดำเนินการร่วมกับทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านถ่ายทอดความรู้  ในประเด็น ดังนี้

          1. เล่าความเป็นมาของอาชีพ

          2. อธิบายกระบวน/ขั้นตอน√ การประกอบอาชีพ และทักษะที่เป็นนวัตกรรมในการพัฒนาอาชีพจนเกิดรายได้ให้แก่ครัวเรือน

          3. อธิบายความสำคัญของการจัดการอาชีพเพื่อพัฒนาและสร้างรายได้ โดยเชื่อมโยงกับการตลาดหรือการสนับสนุนจากหน่วยงานหรือประชารัฐ

          4. ผู้แทนครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพทั้ง 20 คน (ครัวเรือนละ 1 คน) เดินทางไปศึกษาดูงานเพิ่มพูนความรู้และสร้างแรงจูงใจด้านอาชีพ ณ หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงหรือศูนย์เรียนรู้ชุมชนหรือบ้านปราชญ์ชุมชนที่กำหนด

          5. ผู้แทนครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพทั้ง 20 ครัวเรือน ดำเนินการฝึกปฏิบัติอาชีพ ณ บ้านของตนเอง โดยมีทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ให้การกำกับดูแลการฝึกปฏิบัติฯ ตามขั้นตอนการประกอบอาชีพที่ต้องการฝึกคนละ 4 ครัวเรือน

อุปกรณ์ ->

การอบรมเป็นระยะเวลานานเกินไป  ผู้อบรมเกิดการท้อ ห่วงการประกอบอาชีพหลัก

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ควรสนับสนุนงบประมาณให้สอดคล้องการการดำเนินการและวัตถุประสงค์ที่ต้องการ เพื่อให้เกิดผลสำเร็จเป็นรูปธรรมจริงๆ

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดขอนแก่น
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา