เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การปลูกอ้อย

โดย : นายเคน วรสิทธิ์ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-06-29-23:34:07

ที่อยู่ : ๘๐ หมู่ที่ ๓ ตำบลห้วยโจด

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

               การทำการเกษตรไม่ว่าจะทำการเพาะปลูกพืชชนิดใดจะประสบผลสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อการดำเนินการจะต้องมีแผนงานโครงการในการเพาะปลูกพืชแต่ละชนิดตามระยะเวลาอันเหมาะสมของพืชแต่ละชนิด ประกอบกับระยะเวลาที่ผลผลิตนั้นจะออกสู่ท้องตลาดที่มีช่วงเวลาที่ผลผลิตได้ราคาสูง คือจะต้องมีความพร้อมทั้งด้าน เวลา สถานที่ งบประมาณ ตลอดช่วงเวลาจากเริ่มเตรียมการปลูกถึงการเก็บผลผลิต

วัตถุประสงค์ ->

การปลูกอ้อยหรือทำนาข้าวหรือพืชผสมผสานจะประสบผลสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อมีวิธีการขั้นตอน ดังนี้

             1.  การจัดเตรียมดิน คือ การนำดินที่จะทำการเกษตรไปตรวจจัดหาค่าของดินว่าดินในแปลงที่จะทำการเกษตรนั้น ขาดแร่ธาตุชนิดใดและจะเพิ่มอินทรีย์ชนิดใดมากน้อยตามค่าของดินนั้นเพื่อการเตรียมการในการลงทุนน้อยประหยัดและได้ผลผลิตมากเพิ่มขึ้น

             2. การจัดเตรียมดิน  ต้อมมีการไถกลบ ไถพรวนดิน เพื่อปรับสภาพดินให้มีช่องปรับระบายอากาศในดิน

             3. การจัดเตรียมพันธ์ จะต้องศึกษาพันธุ์พืชและคัดพันธุ์ที่มีความแข็งแรงทนต่อการเกิดโรคต่าง ๆ และเป็นพันธุ์พืชที่กำลังมีความนิยมแข่งขันกัน ตลอดทั้งการศึกษาความรู้กับหน่วยงานรับผิดชอบทางการเกษตร

                4. การเตรียมการปลูกหลังจากาการไถกลบ-ไถพรวน  การปลูกอ้อยจะต้องมีการยกร่องสูงประมาณ 50-60 ซ.ม.  ระหว่างแถวประมาณ 120-140 ซ.ม.  เพื่อการวางพันธุ์เพื่อปลูกและใส่ปุ๋ยเพื่อปรับปรุงดินตามปริมาณปุ๋ยตามการจัดค่าของดิน จำนวนกิโลกรัมมากน้อยต่อไร่หลังจากการปลูกต้องดูแลปราบวัชพืช พอพืชที่ปลูกโตมีความสูงประมาณ 80-150 ซ.ม.  ต้องจัดการทำการให้ปุ๋ยอีกครั้งแล้วไถพรวนและรอเวลาในการเก็บเกี่ยว และจะได้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้น

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

                  1.  เทคนิคที่ทำให้สำเร็จทางการเกษตรเบื้องต้น  คือ  ผู้ทำการเกษตรจะต้องมีเวลา ความพร้อมของตนเองในเรื่องการกำกับดูแลรักษา รับผิดชอบในสิ่งนั้น ๆ

                  2.  การระวังไม้ให้เกิดความผิดพลาดในการประกอบอาชีพ  ในการปลูกต้องมีการจัดเตรียมดินให้ดีมีความพร้อมในการปลูก การจัดเตรียมพันธุ์ที่ดี มีความแข็งแรง ทนทานต่อโรคแมลงต่าง ๆ  ตลอดทั้งระยะเวลาในการปลูกจะต้องเหมาะสมกับพืชชนิดนั้น ๆ เป็นหลัก

อุปกรณ์ ->

การไถ ควรไถอย่างน้อย 2 ครั้ง หรือมากกว่า ความลึกอย่างน้อย 20 นิ้ว หรือ มากกว่า เพราะอ้อยมีระบบรากยาว ประมาณ 2-3 เมตร และทำร่องปลูก

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การบำรุงตออ้อย
1. ทำการตัดแต่งตออ้อยหลังจากตัดทันที หรือเสร็จภายใน 15 วัน ถ้าตัดอ้อยชิดดิน ก็ไม่ต้องตัดแต่งตออ้อย ทำให้ประหยัดเงินและเวลา
2. ใช้พรวนเอนกประสงค์ 1-2 ครั้ง ระหว่างแถวอ้อยเพื่อตัดและคลุกใบ หรือใช้คราดคราดใบอ้อยจาก 3แถวมารวมไว้แถวเดียว เพื่อพรวนดินได้สะดวก
3. ใช้ริปเปอร์หรือไถสิ่วลงระหว่างแถวอ้อย เพื่อระเบิดดินดาน ต้องระมัดระวังในเรื่องความชื้นในดินด้วย
4. การใส่ปุ๋ย ควรใส่มากกว่าอ้อยปลูก ใช้สูตรเช่นเดียวกับอ้อยปลูก
5. ในแปลงที่ไม่เผาใบอ้อยและตัดอ้อยชิดดิน ก็จะปล่อยทิ้งไว้ตามธรรมชาติ และเริ่มดายหญ้าใส่ปุ๋ยเมื่อเข้าฤดูฝน
6. การไว้ตออ้อยได้นานแค่ไหนขึ้นกับหลุมตายของอ้อยว่ามีมากน้อยเพียงใด ถ้ามีหลุมตายมาก ก็จะรื้อปลูกใหม่

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดขอนแก่น
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา