เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

ทำปุ๋ยหมักอินทรีย์-ชีวภาพ

โดย : นายวุฒิไกร วิชัยวงศ์ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-06-29-23:30:44

ที่อยู่ : ๕๕ หมู่ที่ ๑ ตำบลหนองกุงใหญ่

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากหมักบ่มสารอินทรีย์ด้วยจุลินทรีย์ที่ทำหน้าที่ย่อยสลายอินทรีย์วัตถุให้สลายตัว และผุพังไปบางส่วน ทำให้ได้ปุ๋ยที่มีลักษณะสีคล้ำดำ มีลักษณะเป็นผง ละเอียดเหมาะ สำหรับการปรับปรุงดิน และให้ธาตุอาหารแก่พืชวัสดุอินทรีย์ที่ใช้สำหรับการหมัก อาจเป็นเศษพืชสด วัสดุอินทรีย์เผา รวมถึงอาจผสมซากของสัตว์ หรืออาจผสมปุ๋ยคอกก็ได้ และหากนำมากองรวมกัน พร้อมรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ จุลินทรีย์ก็จะทำการย่อยสลายขึ้นซึ่งสังเกตได้จากกองปุ๋ยหมักจะมีความร้อนเกิดขึ้น เมื่อเกิดความร้อนจึงจำเป็นต้องคลุกกลับกองปุ๋ย และรดน้ำให้ทั่ว ซึ่งจะทำให้จุลินทรีย์ย่อยสลายสารอินทรีย์ได้อย่างทั่วถึง และหากความร้อนในกองปุ๋ยหมักมีอุณหภูมิใกล้เคียงกันในทุกจุด และความร้อนมีน้อยจึงจะแสดงได้ว่า ปุ๋ยหมักปุ๋ยพร้อมใช้งานแล้ว

วัตถุประสงค์ ->

วิธีการทำปุ๋ยหมักแบบทั่วไป
            เริ่มด้วยการนำเอาเศษพืช และมูลสัตว์ผสมกันในอัตราส่วน ๑๐๐ : ๑๐ กองเป็นชั้น แต่ละชั้นประกอบด้วยเศษพืชที่รดน้ำให้ชุ่มจนอิ่มน้ำ และโรยทับด้วยมูลสัตว์
            ขั้นตอนการกองปุ๋ยหมัก แยกวัสดุที่ไม่ย่อยสลาย และเป็นอันตรายออก แล้วนำวัสดุหรือเศษพืชที่เก็บรวบรวมได้มากองบนดินในคอก หรือในหลุมโดยกองเป็นชั้นสลับกันไปโดย เริ่มจากชั้นล่างสุดกองเศษพืชหรือวัสดุลงไปตามขนาดกว้างยาวของกองที่กำหนดไว้สูงประมาณ ๒๕ เซนติเมตร
            รดน้ำให้ชุ่ม แล้วอัดให้แน่น ให้น้ำซึมเข้าไปในเศษพืชหรือวัสดุ
            โรยทับด้วยสารเร่ง เช่น ปุ๋ย มูลสัตว์ หรือดินในอัตราส่วนโดยน้ำหนักเศษพืชต่อมูลสัตว์ เท่ากับ ๕ : ๑
            ในกรณีที่ใช้ปุ๋ยเคมีเสริม เพื่อลดอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจนหรือต้องการลดระยะเวลาการผลิตต้องใช้เศษพืช : ปุ๋ยคอก :ปุ๋ยเคมี ในอัตราส่วน ๑๐๐ : ๒๐ : ๑  ตามลำดับ โดยจะผสมหรือโรยทับบนชั้นกองปุ๋ยหมักก็ได้
           ทำการเรียงสลับจนได้กองสูงประมาณ ๑ เมตร แล้วโรยด้วยดินหนาประมาณ ๑ นิ้ว ที่ชั้นบนสุด เพื่อป้องกันนกมาคุ้ยเขี่ย ช่วยป้องกันความร้อน และรักษาความชื้นของกองปุ๋ยให้คงที่
           สำหรับการหมักแบบไม่ใช้ปุ๋ยเคมี อายุการหมักจะหมักนาน ๕-๗ เดือน แต่หากใส่ปุ๋ยเคมีร่วมด้วยจะหมักนาน ๓-๕ เดือน

          ๒. ปุ๋ยหมักชีวภาพ และวิธีการทำ
ปุ๋ยหมักชีวภาพ เป็นวิธีการทำปุ๋ยหมักที่มีการพัฒนาขึ้น เพื่อให้การย่อยสลายเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วด้วยการเติมหัวเชื้อจุลินทรีย์ หรือ EM เพื่อเร่งกระบวนการหมัก ทำให้เกิดปุ๋ยจากอินทรีย์วัตถุที่มีการปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาได้เร็วขึ้น แบ่งเป็นชนิดต่างๆ ได้แก่

๑. ปุ๋ยหมักจากปุ๋ยคอก
    วัสดุ และส่วนผสม
– ปุ๋ยคอก ๑ ส่วน ประมาณ ๑๐ ปี๊ป
– แกลบเผา/แกลบดำ ๑ ส่วน
– รำละเอียด ๑ ส่วน
– เชื้อ EM ๒๐ ซีซี
– กากน้ำตาล ๑๐๐ ซีซี
– น้ำ ๑๐ ลิตร

วิธีทำ
– ผสมปุ๋ยคอก แกลบดำ และวัสดุทุกอย่างให้เข้ากัน
– นำไปกองบนพื้นซีเมนต์ แล้วใช้ผ้าคลุมหรือหากทำปริมาณน้อย ให้บรรจุใส่ถังหรือถุงกระสอบ
– หมักทิ้งไว้ ๓๐ วัน ก่อนนำใส่ต้นไม้หรือแปลงผัก

๒. ปุ๋ยหมักจากพืช
๓. ปุ๋ยหมักฟางข้าว
วัสดุ และส่วนผสม
– ฟางแห้งสับละเอียด ๑ ส่วน ประมาณ ๑๐ กก.
– แกลบดิบ/แกลบเผา ๑ ส่วน
– ปุ๋ยยูเรีย ๒๐๐ กรัม
– กากน้ำตาล ๑๐๐ ซีซี
– เชื้อ EM ๒๐ ซีซี
– น้ำ ๑๐ ลิตร

วิธีทำ
– คลุกผสมฟาง และแกลบให้เข้ากัน หากมีจำนวนมากให้แยกคลุก แล้วค่อยมารวมกันเป็นกองเดียวอีกครั้ง
– ผสมเชื้อ EM และกากน้ำตาลร่วมกับน้ำ หลังจากนั้น ใช้เทราด และคลุกให้เข้ากันกับวัสดุอื่นๆ
– นำไปหมักในถัง ถุงกระสอบ หรือ บ่อซีเมนต์ นาน ๑-๒ เดือน ก็สามารถนำไปใช้ได้

๓. ปุ๋ยหมักชีวภาพจากเศษอาหาร และขยะ
ปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร หากมีเฉพาะเศษอาหารที่เป็นพืชมักจะไม่มีปัญหา เพราะเวลาเน่าจะมีกลิ่นเหม็นไม่รุนแรง เราสามารถนำไปคลุกกับปุ๋ยคอกในรางทำปุ๋ยหมักได้เลย แต่หากมีเนื้อสัตว์จะมีกลิ่นเหม็นรุนแรงสำหรับบางครัวเรือนที่มีข้อจำกัดปริมาณเศษอาหารที่เกิดน้อย หากต้องการทำปุ๋ยหมักจำเป็นต้องทำรางหมักหรือหลุมหมัก แต่หากจะหมักในถังจะมีข้อจำกัดที่เต็มเร็วการทำรางหมัก ควรหาพื้นที่ว่างบริเวณหลังบ้าน ขนาดพื้นที่ประมาณ ๑ เมตร x ๑ เมตร ลึกประมาณ ๒๐-๔๐ เซนติเมตร หรืออาจน้อยกว่า หรืออาจมากกว่าตามความต้องการ แต่ควรให้รองรับเศษอาหารให้ได้ประมาณ ๑ เดือน และควรทำ ๒ ชุด พร้อมฉาบด้านข้างด้วยปูนซีเมนต์ แต่หากไม่มีปัญหาเรื่องน้ำฝนหรือน้ำไหลเข้า ก็อาจขุดเป็นบ่อดินก็เพียงพอ ทั้งนี้ ควรทำร่องด้านข้าง เพื่อป้องกันน้ำไหลเข้า และควรเตรียมผ้าใบคลุมเมื่อฝนตก

วัสดุ และส่วนผสม
– ปุ๋ยคอก ๑ ใน ๔ ส่วนของรางหมัก
– แกลบดำ ๒ ถัง หรือไม่ใส่ก็ได้
– น้ำผสมหัวเชื้อเชื้อ EM ๑ ลิตร
– กากน้ำตาล ๑ ลิตร

วิธีทำ
– หลังจากที่เตรียมรางหมักแล้ว ให้เทปุ๋ยคอก และแกลบดำรองในรางไว้
– เมื่อมีเศษอาหาร ให้นำมาใส่ในราง พร้อมใช้จอบคลุกผสมกับปุ๋ยคอก
– รดด้วยน้ำหัวเชื้อชีวภาพ และกากน้ำตาลบริเวณที่ใส่เศษอาหารเล็กน้อย
– หากมีเศษอาหารเกิดขึ้นอีก ก็นำมาคลุก และใส่น้ำหัวเชื้อ ตามด้วยกากน้ำตาลเรื่อยๆจนเต็มบ่อ
– หากเต็มบ่อแล้ว ให้นำผ้าคลุกมาปิดไว้ และทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือน ก่อนตักออกนำไปใช้ประโยชน์
– ระหว่างที่หมักทิ้ง ให้นำเศษอาหารที่เกิดในแต่ละวันมาหมักในอีกบ่อ ซึ่งจะเวียนกันพอดีในรอบเดือน
– ทั้งนี้ บางครัวเรือนอาจไม่สะดวกในการหาซื้อหัวเชื้อหรือกากน้ำตาล ดังนั้น จึงไม่ต้องใช้ก็ได้ แต่จำเป็นต้องมีปุ๋ยคอก หรือใช้ปุ๋ยอื่น เช่น ปุ๋ยมูลไก่ ซึ่งส่วนที่จำเป็นต้องใช้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

การใช้ปุ๋ยหมักอินทรีย์-ชีวภาพ เกิดให้เกิดประโยชน์ ดังนี้

- เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน ทั้งปริมาณอินทรีย์วัตถุ แร่ธาตุอาหาร ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม
          - ช่วยในการย่อยสลายซากพืช ซากสัตว์ในดิน ทำให้ธาตุอาหารถูกพืชนำไปใช้ได้รวดเร็วขึ้น
          -. ช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดิน
          - ช่วยต้านการแพร่ของจุลินทรีย์ก่อโรคพืชชนิดต่างๆในดิน
          -. ทำให้ดินมีความร่วนซุย จากองค์ประกอบของดินที่มีดิน อินทรีย์วัตถุ น้ำ และอากาศในสัดส่วนที่เหมาะสม
          - ช่วยปรับสภาพ pH ของดิน ให้เหมาะสมกับการปลูกพืช
          - ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดึงแร่ธาตุของพืชจากปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอื่นที่เกษตรกรใส่
          - ช่วยดูดซับความชื้นไว้ในดินให้นานขึ้น ทำให้ดินชุ่มชื้นตลอดเวลา

อุปกรณ์ ->

หากต้องการทำปุ๋ยหมักจำเป็นต้องทำรางหมักหรือหลุมหมัก แต่หากจะหมักในถังจะมีข้อจำกัดที่เต็มเร็วการทำรางหมัก ควรหาพื้นที่ว่างบริเวณหลังบ้าน ขนาดพื้นที่ประมาณ ๑ เมตร x ๑ เมตร ลึกประมาณ ๒๐-๔๐ เซนติเมตร หรืออาจน้อยกว่า หรืออาจมากกว่าตามความต้องการ แต่ควรให้รองรับเศษอาหารให้ได้ประมาณ ๑ เดือน และควรทำ ๒ ชุด พร้อมฉาบด้านข้างด้วยปูนซีเมนต์ แต่หากไม่มีปัญหาเรื่องน้ำฝนหรือน้ำไหลเข้า ก็อาจขุดเป็นบ่อดินก็เพียงพอ ทั้งนี้ ควรทำร่องด้านข้าง เพื่อป้องกันน้ำไหลเข้า และควรเตรียมผ้าใบคลุมเมื่อฝนตก

กระบวนการ/ขั้นตอน->

บางครัวเรือนอาจไม่สะดวกในการหาซื้อหัวเชื้อหรือกากน้ำตาล ดังนั้น จึงไม่ต้องใช้ก็ได้ แต่จำเป็นต้องมีปุ๋ยคอก หรือใช้ปุ๋ยอื่น เช่น ปุ๋ยมูลไก่ ซึ่งส่วนที่จำเป็นต้องใช้

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดขอนแก่น
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา