เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การปลูกข้าวไรซ์เบอรี่

โดย : นายทองคำ พรวนไชย์ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-06-29-23:28:02

ที่อยู่ : ๑๐ หมู่ที่ ๑ ตำบลหัวนาคำ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การผลิตข้าวไรซ์เบอร์รี่  เป็นระบบการผลิตข้าวที่ไม่ใช้สารเคมีทางการเกษตรทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็น ปุ๋ยเคมี สารควบคุมการเจริญเติบโต สารควบคุมและกำจัดวัชพืช สารป้องกันกำจัดโรค แมลงและสัตว์ศัตรูข้าว ตลอดจนสารเคมีที่ใช้รมเพื่อป้องกันกำจัดแมลงศัตรูข้าวในโรงเก็บ  การผลิตข้าวไรซ์เบอร์รี่ นอกจากจะทำให้ได้ผลผลิตข้าวที่มีคุณภาพสูงและปลอดภัยจากสารพิษแล้ว ยังเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและเป็นการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืนอีกด้วย

วัตถุประสงค์ ->

การผลิตข้าวไรซ์เบอร์รี่ มีขั้นตอนการปฏิบัติ  ดังนี้  

๑)การเลือกพื้นที่ปลูก เราเลือกพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่ติดต่อกัน และมีความอุดมสมบูรณ์ของดินโดยธรรมชาติค่อนข้างสูง ควรอยู่ห่างจากถนนเมนซึ่งจำส่งผลให้พื้นที่ของเราปราศจากสารพิษจากควันท่อไอเสียและมลพิษทางอากาศอย่างสิ้นเขิง            

๒)การเลือกใช้พันธุ์ข้าว เราเลือกพันธุ์ข้าวที่ดีที่สุดในโลกพันธุ์หนึ่งก็คือข้าวไรซ์เบอร์รี่ โดยใช้เมล็ดพันธุ์ที่ได้รับการอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสนเป็นการเฉพาะ  

๓)การเตรียมดิน การเตรียมดินเพื่อปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ย์ ถือเป็นหัวใจหลักของการผลิต เพราะถ้าเตรียมไม่ดีพอ จะส่งผลเสียมหาศาลในการผลิตคราวนั้นๆและคราวต่อๆไป เราจึงต้องปรับสภาพดินให้เหมาะสมที่สุดต่อการปลูกและการเจริญเติบโตของข้าว  โดยการหมักดินด้วยจุลินทรีย์ที่ผลิตเองตามคำแนะนำของกรมการพัฒนาที่ดิน เพื่อให้ช่วยควบคุมวัชพืช โรค แมลงและสัตว์ศัตรูข้าวบางชนิด จากนั้นจึงไถดะ ไถแปร คราด และทำเทือก

          ๔)วิธีปลูก การปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ ใช้วิธีปักดำ ซึ่งเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุดในการผลิตข้าวอินทรีย์ เพราะการเตรียมดิน ทำเทือก การควบคุมระดับน้ำในนาจะช่วยลดปริมาณวัชพืชได้  และการปลูกกล้าข้าวลงดินจะช่วยให้ข้าวสามารถแข่งขันกับวัชพืชได้ ต้นกล้าที่ใช้ปักดำ มีอายุประมาณ ๒๐ วัน เป็นต้นกล้าที่เจริญเติบโตแข็งแรงดี ปราศจากโรคและแมลงทำลาย   เพราะเราใช้เชื้อราไตโคเดอร์มาจากศูนย์ควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี จ.ชัยนาท มาใช้แช่เมล็ดพันธุ์ก่อนทำการเพาะ      

          ๕)การจัดการความอุดมสมบูรณ์ของดิน การจัดการดินเพื่อรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินให้เหมาะสมกับการใช้ปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่  

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

การแช่ข้าวในน้ำที่ผสมด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มาเป็นระยะเวลานานเกินไป กล่าวคือ นานเกินกว่า ๑๒ ชม. ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวเป็นสาเหตุให้ข้าวมีอัตราการงอกที่ต่ำลง เนื่องจากเชื้อราไตรโคเดอร์มาจะเข้าไปกินอะไมเลสหรือเนื้อแป้งในเมล็ดพันธุ์ ทำให้ความสมบูรณ์ของเมล็ดพันธุ์ลดลง กับทั้งเชื้อราไตรโคเดอร์มายังเข้าไปแย่งออกซิเจนในน้ำแช่ข้าว ทำให้ปริมาณออกซิเจนที่เมล็ดพันธุ์ต้องใช้เพื่อการเจริญเติบโตมีปริมาณไม่เพียงพอ ด้วยปัจจัยดังที่กล่าวข้างต้น จึงทำให้อัตราการงอกของเมล็ดพันธุ์อยู่ในระดับที่ต่ำกว่ามาตรฐาน

อุปกรณ์ ->

ต้องไม่เผาตอซัง ฟางข้าว และเศษวัสดุอินทรีย์ในแปลงนา เพราะเป็นการทำลายอินทรียวัตถุและ จุลินทรีย์ดินที่มีประโยชน์

กระบวนการ/ขั้นตอน->

เราเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดินโดยการปลูกพืชโดยเฉพาะพืชตระกูลถั่วในที่ว่างในบริเวณพื้นที่นาตามความเหมาะสม แล้วใช้อินทรียวัตถุที่เกิดจากการเลี้ยงไส้เดือน ทั้งมูลและน้ำเลี้ยง บำรุงทั่วแปลงนาอย่างต่อเนื่อง ทั่วทั้งแปลงจึงอุดมสมบูรณ์ สังเกตได้จากมูลไส้เดือนกระจายตัวอยู่ทั่วไป  

-น้ำหมักชีวภาพ หรือน้ำสกัดชีวภาพ (Bio Extract) เราทำใช้เองจากวัสดุเหลือใช้ในไร่นา ในครัวเรือน นำมาหมักร่วมกับกากน้ำตาล(Mollass) ละลายน้ำ

          

          -น้ำสกัดจากพืช ผลไม้ได้แก่ผักต่างๆ ใบสะเดา ตะไคร้หอม พืชสมุนไพรต่างๆ มะม่วง สับปะรด กล้วย มะละกอ ฟักทอง   น้ำสกัดจากสัตว์ ได้แก่ ไส้ปลา หอยเชอรี่ เป็นต้น

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดขอนแก่น
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา