เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การทอเสื่อกก

โดย : นางศิริวรรณ กาสี ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-06-29-23:20:38

ที่อยู่ : ๒๕๐ หมู่ที่ ๙ ตำบลหนองโก

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

กลุ่มทอเสื่อกกบ้านศรีสมบูรณ์ จัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยเริ่มต้นจากวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนใน ชุมชนตั้งแต่สมัย ปู่ ย่า ตา ยาย มีการนำเส้นกกมาทอเป็นของใช้ในครัวเรือน เช่น การทอเสื่อ แต่ละครัวเรือน จะเก็บไว้ใช้เอง ยังไม่มีการจำหน่าย ชาวบ้านโดยการนำของกลุ่มสตรีได้เลือกอาชีพการทอเสื่อกก เป็นอาชีพเสริม โดยการรวมกลุ่ม จัดตั้งเป็น กลุ่มสตรีทอเสื่อกก สมาชิกเริ่มแรกมีจำนวน ๒๐ คน โดยมีการคัดเลือกประธานคนแรก คือ นางสิริวรรณ กาสี ต่อมาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโก ได้เข้ามาให้การสนับสนุนกลุ่ม โดยการสนับสนุนวัสดุ/อุปกรณ์ ในการทอเสื่อกก ได้แก่ ฟืม จำนวน ๕๐ หลัง กี่ ๕๐ หลัง พร้อมด้วยสี ย้อมกก,เส้นเอ็น ให้กับกลุ่ม ไว้ใช้ในการผลิต สี่ที่นิยมใช้ย้อมมากที่สุดในขณะนั้น ได้แก่ สีแดง เหลือง สีน้ำเงิน ลายที่นิยมทอเสื่อกก เริ่มแรกได้แก่ ลายหมากจับ

วัตถุประสงค์ ->

๑)การซอยเส้นกก 
- นำกกหรือไหลมาซอยออกเป็นเส้นนำไปตากแดดประมาณ ๑ อาทิตย์ 
- เมื่อแห้งแล้วนำมาย้อมสีตามต้องการ โดยสีที่ย้อมเป็นสีเคมีอย่างดี ส่วนมากจะย้อม สีแดง, เหลือง,ม่วง,เขียว และสีน้ำเงิน 
๒)การย้อมสี 
- นำกกแช่น้ำเป็นเวลา ๑ คืน เพื่อให้กกอิ่มตัวเมื่อย้อมสีจะทำให้ติดสีได้ง่ายและทั่วถึง 
- ก่อไฟและนำกระทะใส่น้ำ ต้มน้ำให้เดือดจัดในการย้อมแต่ครั้งจะใช้เวลา ๕ นาที และควบคุมปริมาณของส่วนผสมให้คงที่ดังนี้ 
          ๑. น้ำเปล่า ๒ ลิตร 
          ๒. สีย้อมกก ๑ ช้อนโต๊ะ

๓. เทสีย้อมกก ประมาณ ครึ่ง ช้อนชา ลงในน้ำที่เดือดจัด และใส่เกลือ/ผงซักฟอก ลงประมาณ ๑ ช้อนโต๊ะ เพื่อให้กกมีสีสดและเป็นเงางาม 
๔. นำกกที่ผ่านการแช่น้ำแล้ว ลงไปย้อมในน้ำที่เดือดจัด โดยการม้วนกกให้เป็นวงกลม ค่อยๆ ขดลงในกระทะ ใช้ไม้กดให้กกจมน้ำให้ทั่ว ทิ้งไว้ประมาณ ๕ นาที 
๕. นำกกขึ้นจากกระทะให้ระมัดระวังน้ำเดือด และสีกระเด็นใส่ 
๖. แช่กกที่ผ่านการย้อมสีแล้วลงในน้ำสะอาด ประมาณ ๕ นาที แล้วนำไปตาก/ผึ่งลม 

          ๓)การทอเสื่อกก
                   ๑. นำเชือกไนลอนหรือเชือกเอ็นขึงที่กี่ทอเสื่อให้เป็นเส้นตามกี่ทอและฟืม

๒. นำกกหรือไหลที่ย้อมสีสอดเข้ากับไม้สอดเพื่อที่จะสอดเข้ากับกี่ทอเสื่อ 

๓  เมื่อสอดกกหรือไหลเข้าไปแล้วผลักฟืมเข้าหาตัวเองให้กกหรือไหลแน่นติดกันเป็นลายต่าง ๆ 
๔. ลายที่ทอเป็นประจำและเป็นที่นิยมคือ ลายดาวกระจาย ลายหมากจับ 
๕. จากนั้นก็นำเสื่อกกที่ทอแล้วมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น เสื่อพับ 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

 การทอเสื่อ เป็นไปเพื่อการใช้สอยในครัวเรือน  โดยท้องถิ่นใดมีต้นกกก็ทอเสื่อกก  ท้องถิ่นใดมีต้นกระจูดก็ทอเสื่อกระจูด  เสื่อในอดีตเป็นของใช้ที่สำคัญอย่างหนึ่งสำหรับปูนั่งหรือนอน  จนถึงกับมีคำกล่าวว่า  บ้านใดไม่มีเสื่อใช้  ถือว่า พ่อ แม่ ลูก เกียจคร้านไม่มีฝีมือ  หนุ่มสาวที่แต่งงานตั้งครอบครัวใหม่หรือขึ้นเรือนใหม่ จะต้องเตรียมที่นอน หมอน มุ้ง  ส่วนเสื่อฝ่ายหญิงจะจัดเตรียมทอสะสมไว้เป็นของขึ้นเรือน  นอกจากนี้ยังทอเพื่อถวายเป็นไทยทานให้กับวัด  เพื่อบำรุงศาสนาในฤดูเทศกาลต่างๆ  และยังนำเสื่อที่ทอไปซื้อขายแลกเปลี่ยนกับหมู่บ้านใกล้เคียงอีกด้วย

และผลพวงแห่งแนวนโยบายของรัฐบาล  ที่มุ่งอนุรักษ์ภูมิปัญญาชาวบ้าน  เน้นส่งเสริมให้สร้างรายได้เป็นธุรกิจชุมชน  จนถึงขั้นหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์  ทำให้การทอเสื่อกกของชาวชุมชนแบบดั้งเดิม ได้รับการส่งเสริมพัฒนาให้มีคุณภาพมีประสิทธิภาพมากขึ้น  จนเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น ถึงแม้ค่านิยมในการใช้เสื่อกกในปัจจุบันจะลดลง  แต่การทำนากก  การทอเสื่อกกก็ยังสร้างรายได้เป็นอาชีพเสริมแก่ชาวชุมชนได้ไม่เปลี่ยนแปลง  ส่งผลให้เกิดการรวมตัวของผู้ประกอบการเป็นกลุ่มแม่บ้านทอเสื่อ  สร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนทั้งทางด้านการผลิตและทางด้านการตลาด

อุปกรณ์ ->

๑) การเก็บเกี่ยวต้นกก เมื่ออายุกกได้ประมาณ ๒ เดือน กกเริ่มมีความเหนียวพอประมาณ โดย

สังเกตต้นกกออกดอก ซึ่งเป็นระยะที่มีความเหนียวจึงเริ่มตัดกกได้ โดยใช้มีดหรือเคียวตัดบริเวณโคนต้น เพื่อให้กกแตกหน่อขึ้นมาใหม่ 
                   ๒) กรรมวิธีการซอย/ผ่ากก และการตาก และย้อม การซอยกกทำได้ ๒ แบบ คือ การซอยสดๆหรือผึ่งแดดให้พอหมาดๆ (๑ แดด) จึงนำมาซอย ๑ ต้น แล้วแต่ขนาดของต้นกก และลักษณะที่นำมาใช้แล้วนำไปตากแดดให้แข็งประมาณ ๒-๓ แดด โดยกกจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวหรือสีขาว 
                   ๓) ขั้นตอนการย้อม ก่อนย้อมกกต้องนำเส้นกกไปแช่น้ำ ให้เส้นกกอิ่มน้ำประมาณ ๑ ชั่วโมง นำกกผึ่งแดดให้พอหมาดๆ นำเส้นกกลงในหม้อย้อมสีที่เตรียมไว้จนเส้นกกอิ่มสีหรือประมาณ ๒๐ นาที แล้วจึงนำขึ้นผึ่งแดด ประมาณ ๒ แดด นำกกเข้าเก็บเพื่อรอการทอต่อไป

กระบวนการ/ขั้นตอน->

วิธีที่เก็บรักษาผลิตภัณฑ์ที่ทำจากกกนั้น ควรเก็บไว้ในห้องที่เก็บควรไม่มีอากาศชื้น เมื่อขึ้นราควรเช็ดและขัด แล้วผึ่งแดดให้แห้ง ผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปแล้วควรมีถุงพลาสติกห่อหุ้ม เพื่อไม่ให้อากาศเข้า

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดขอนแก่น
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา