เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

ทำไร่อ้อย มันสำปะหลัง ทำนา

โดย : นายทองสุข พินิจมนตรี ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-06-29-23:11:57

ที่อยู่ : ๓๖๘ หมู่ที่ ๖ ตำบลหัวนาคำ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การเกษตรของไทยในอดีตเป็นการทำการเกษตรเพื่อยังชีพโดยอาศัยความอุดมสมบูรณ์จากธรรมชาติ จึงไม่ค่อยจะพบปัญหามากนัก แต่ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ อันเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรมีการใช้เทคโนโลยีการเกษตรแผนใหม่ เพื่อเพิ่มผลผลิตให้เพียงพอแก่การบริโภคของประชากรและเพื่อการส่งออกเป็นรายได้เข้าสู่ประเทศจึงทำให้การทำการเกษตรในปัจจุบันประสบปัญหามากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการขาดความสมดุลทางธรรมชาติการระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืชรวมทั้งด้านการตลาดซึ่งนับวันจะแปรปรวนมากขึ้นเรื่อย ๆจากปัญหาดังกล่าว การทำ ไร่นาสวนผสมจึงเป็นทางเลือกหนึ่งของเกษตรกรที่จะลดความเสี่ยงที่เกิดจากภัยธรรมชาติและความไม่แน่นอนของราคาผลผลิตโดยการทำการเกษตรหลายๆ อย่าง เพื่อเพิ่มระดับรายได้ สามารถหมุนเวียนการใช้ทรัพยากรในไร่นาได้มากขึ้น สร้างความสมดุลให้กับธรรมชาติทำให้ระบบนิเวศเกษตรของชุมชนดีขึ้น เกษตรกรมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีและมีความมั่นคงในการที่จะประกอบอาชีพการเกษตรต่อไปเป็นการทำกิจกรรมการเกษตรหลาย ๆ อย่าง

( ตั้งแต่ 2 อย่าง ) เพื่อตอบสนองต่อการบริโภคและลดความเสี่ยงจากราคาผลผลิตและภัยธรรมชาติ ซึ่งกิจกรรมการเกษตรไม่จำเป็นต้องเกื้อกูลกันเช่น การเลี้ยงไก่ สุกร รวมกับการปลูกพืช การปลูกโกโก้แซมในสวนมะพร้าว การเลี้ยงปลาในร่องสวนไม้ผลหรือสวนผัก หรืออาจจะมีการเกื้อกูลกันระหว่างกิจกรรมการผลิต โดยนำเศษเหลือของกิจกรรมหนึ่งไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับอีกกิจกรรมหนึ่งเช่น เศษพืชผักเป็นอาหารสุกร มูลสุกรเป็นอาหารปลาน้ำจากบ่อปลานำไปรดพืชผัก เป็นต้นลักษณะการทำกิจกรรมหลาย ๆ อย่างเช่นนี้เกษตรกรจะมีรายได้จากผลผลิตหลาย ๆ อย่าง มีการกระจายการใช้แรงงานอย่างมีประสิทธิภาพตลอดทั้งปี มีความรักและผูกพันกับไร่นา มีความภาคภูมิใจในผลงานและผลผลิตของตนเอง ไม่อยากทิ้งไร่นาไปที่อื่น เกษตรกรมีรายได้ตลอดปีและลดค่าใช้จ่ายสำหรับการซื้ออาหารเช่น ผัก ผลไม้ และแหล่งอาหารโปรตีนเช่น ปลา ไก่ เป็นต้น

วัตถุประสงค์ ->

วิธีการทำไร่อ้อย

          การเตรียมท่อนพันธุ์ ปัจจุบันพันธุ์อ้อยมีหลายพันธุ์ ควรเลือกพันธุ์ที่มีลักษณะการเจริญเติบโตดี ให้ผลผลิตสูงและมีความหวานสูงด้วย โดยพิจารณาจากสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
          ๑. พันธุ์อ้อยมีความสมบูรณ์ตรงตามพันธุ์ อายุประมาณ ๘-๑๐ เดือน ควรเป็นอ้อยปลูกใหม่ มีการเจริญเติบโตดี ปราศจากโรคและแมลง
          ๒. ตาอ้อยต้องสมบูรณ์ ควรมีกาบใบหุ้มเพื่อป้องกันการชำรุดของตาและเมื่อจะปลูกจึงค่อยลอกออก
          ๓. ขนาดท่อนพันธุ์ที่ใช้ปลูกควรมีตา ๒-๓ ตา หรือจะวางทั้งลำก็ได้

         วิธีการปลูก
         ๑. ปลูกด้วยแรงคน คือหลังจากเตรียมดินยกร่อง ระยะระหว่างร่อง ๑-๑.๕  เมตร แล้ว นำท่อนพันธุ์มาวางแบบเรียงเดี่ยวหรือคู่ ปัจจุบันเกษตรกรนิยมปลูกโดยวางอ้อยทั้งลำเหลื่อมกันลงในร่อง เสร็จแล้วกลบดินให้หนาประมาณ ๓-๕ เซนติเมตร ถ้าปลูกปลายฤดูฝนควรกลบดินให้หนาเป็น ๒ เท่าของการปลูกต้นฤดูฝน
         ๒. การปลูกอ้อยโดยใช้เครื่องปลูก จะช่วยประหยัดแรงงานและเวลา เพราะจะใช้แรงงานเพียง ๓ คนเท่านั้น คือคนขับ คนป้อนพันธุ์อ้อย และคนเตรียมอุปกรณ์อย่างอื่นถ้าเป็นเครื่องปลูกแถวเดียว แต่ถ้าเป็นเครื่องปลูกแบบ ๒ แถว ก็ต้องเพิ่มคนขึ้นอีก ๑ คน โดยจะรวมแรงงานตั้งแต่ยกร่อง สับท่อนพันธุ์ ใส่ปุ๋ย และกลบร่อง มารวมในครั้งเดียว ซึ่งเกษตรกรสามารถปลูกอ้อยได้วันละ ๘-๑๐ ไร่ แต่จะต้องมีการปรับระดับพื้นที่และเตรียมดินเป็นอย่างดีด้วย

          การใส่ปุ๋ยอ้อย เป็นสิ่งจำเป็น ควรมีการใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยพืชสดร่วมกับปุ๋ยเคมี เพื่อปรับสภาพทางกายภาพของดิน ปริมาณปุ๋ยที่ใส่ควรดูตามสภาพความอุดมสมบูรณ์ของดิน และการเจริญเติบโตของอ้อย ถ้ามีการวิเคราะห์ดินด้วยยิ่งดี ปุ๋ยเคมีที่ใส่ควรมีธาตุอาหารครบทั้ง ๓ อย่าง คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปตัสเซียม (เอ็น พี เค) ควรแบ่งใส่ ๒ ครั้ง คือ
        ๑. ใส่ปุ๋ยรองพื้น ใส่ก่อนปลูกหรือพร้อมปลูก ใช้ปุ๋ยที่มีธาตุอาหาร เอ็น พี เค ทั้ง ๓ ตัว เช่น ๑๕-๑๕-๑๕,  ๑๖-๑๖-๑๖ หรือ ๑๒-๑๐-๑๘  อัตรา ๕๐-๑๐๐ กิโลกรัม/ไร่
        ๒. ใส่ปุ๋ยแต่งหน้า อ้อยอายุไม่เกิน ๓-๔ เดือน ควรเป็นปุ๋ยไนโตรเจนอย่างเดียว เช่น ๒๑-๐-๐ อัตรา         ๕๐ กิโลกรัม/ไร่

       วิธีการทำไร่มันสำปะหลัง

        การเตรียมดิน  หากดินที่ทำการเพาะปลูกมันติดต่อกันหลายปี ควรปรับปรุงดิน เพื่อรักษาระดับผลผลิตในระยะยาว ด้วยการใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักเปลือกมันชนิดเก่าค้างปี (จากโรงแป้งทั่วไป) ที่หาได้ในท้องถิ่น หรือ ปลูกพืชตระกูลถั่วต่าง ๆ หมุนเวียนบำรุงดิน ในกรณีที่พื้นที่ประเภทหญ้าคา ควรใช้ยาราวด์อัพหรือเครือเถาต่าง ๆ ควรใช้ยาสตาร์เรน ฉีดพ่นยาจำกัดเสียก่อนการไถ จากนั้นไถครั้งแรกโดยไถกลบวัชพืชก่อนปลูกด้วยผาน ๓ (อย่าเผาทำลายวัชพืช) ให้ลึกประมาณ ๒๐-๓๐ ซม. แล้วทิ้งระยะไว้ประมาณ ๒๐-๓๐ วัน เพื่อหมักวัชพืชเป็นปุ๋ยในดินต่อไป ไถพรวนด้วยผาน ๗ อีก ๑-๒ ครั้ง ตามความเหมาะสม และรีบปลูกโดยเร็ว ในขณะที่ดินยังมีความชื้นอยู่ 

       การเตรียมท่อนพันธุ์    ใช้ท่อนพันธุ์มันที่สด อายุ ๑๐-๑๒ เดือน ตัดทิ้งไว้ไม่เกินประมาณ ๑๕ วัน โดยติดให้มีความยาวประมาณ    ๒๐ ซม. มีตาไม่น้อยกว่า ๕ ตา เพื่อป้องกันเชื้อราและแมลง ควรจุ่มท่อนพันธุ์ในยาแคปแทน ๑.๖ ขีด (๑๖๐ กรัม) ผสมร่วมกับมาลาไธออน ๒๐ ซีซี ในน้ำ ๒๐ ลิตร ประมาณ ๕ นาที ก่อนปลูก

       การปลูก   ปลูกเป็นแถวแนวตรง เพื่อสะดวกในการบำรุงรักษาและกำจัดวัชพืช โดยใช้ระยะระหว่างแถว 1.20 เมตร ระยะระหว่างต้น 80 ซม. และปักท่อนพันธุ์ให้ตั้งตรงลึกในดินประมาณ 10 ซม.

       การฉีดยาคุมเมล็ดวัชพืช   สำหรับการปลูกในฤดูฝนสภาพดินชื้น ควรฉีดยาคุมวัชพืชด้วยยาไดยูรอน (คาแม็กซ์) หลังจากการปลูกทันที ไม่ควรเกิน 3 วัน หรือก่อนต้นมันงอก หากฉีดหลังต้นมันงอก อาจทำให้ต้นมันเสียหายได้ ใช้ยาในอัตรา 6 ขีด (600 กรัม)ผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นได้ประมาณ 1 ไร่ครึ่ง

        การกำจัดวัชพืชและการใส่ปุ๋ย    กำจัดวัชพืช ครั้งที่ 1 ประมาณ 30-45 วัน หลังการปลูก โดยใช้รถไถเล็กเดินตาม หรือ จานพรวนกำจัดวัชพืช ติดท้ายรถแทรกเตอร์ พร้อมทั้งใส่ปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 25-50 กก./ไร่ ห่างจากต้นมัน 1 คืบ (20 ซม.) จากนั้นใช้จอบกำจัดวัชพืชส่วนที่เหลือ พร้อมกับกลบปุ๋ยไปด้วย หรือใส่ปุ๋ยโดยการขุดหลุม ห่างจากโคนต้น 1 คืบ แล้วกลบดินตามก็ได้ ข้อสำคัญควรใส่ปุ๋ยขณะที่ดินมีความชื้นอยู่ กำจัดวัชพืช ครั้งที่ 2 ประมาณ 60-70 วัน หลังการปลูก โดยปฏิบัติเช่นเดียวกันกับครั้งแรก กำจัดวัชพืช ครั้งที่ 3 ตามความจำเป็น โดยใช้จอบถาก หรือฉีดพ่นด้วยยากรัมม๊อกโซน (ควรใช้ฝากครอบหัวฉีด เพื่อป้องกันไม่ให้ยาโดนตาและลำต้นมัน)

        การเก็บเกี่ยว    ทำการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังในช่วงอายุที่เหมาะสม คือ ประมาณ 10-12 เดือน พร้อมทั้ง วางแผนการเตรียมท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง เพื่อการปลูกในคราวต่อไปส่วนของต้นมันสำปะหลังที่ไม่ใช้ เช่น ใบ กิ่ง ก้าน หรือ ลำต้น ควรสับทิ้งไว้ในแปลง เพื่อให้เป็นปุ๋ยพืชสดในดินต่อไป

 

       วิธีการทำนา

             การเตรียมพันธุ์ข้าว
          เมื่อนำเมล็ดข้าวไปเพาะให้งอก โดยแชน้ำนานประมาณ ๑-๒ ชั่วโมง แล้วนำเมล็ดขึ้นจากน้ำและเก็บไว้ในที่มี ความชื้นสูงเมล็ด จะงอก ภายใน ๔๘ ชั่วโมง จึงนำเมล็ดที่เริ่มงอกเหล่านี้ไปปลูกในดินที่เปียก ส่วนที่เป็นรากจะเจริญเติบโตลึกลงไปในดิน ส่วนที่เป็น ยอดก็จะสูงขึ้นเหนือผิวดินแล้วเปลี่ยนเป็นใบ ต้นข้าวเล็กๆนี้เรียกว่า “ต้นกล้า” หลังจากต้นกล้ามีอายุ ประมาณ ๔๐ วัน จะมีหน่อใหม่เกิดขึ้นโดยเจริญเติบโตออกจากตา บริเวณโคนต้น ต้นกล้าแต่ละต้นสามารถแตกหน่อใหม่ประมาณ ๕-๑๕ หน่อ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธ์ ข้าวระยะปลูก และความอุดมสมบูรณ์ของดิน แต่หน่อต้นกล้าให้ร่วงข้าวหนึ่งรวง แต่รวงข้าวมีเมล็ดข้าวประมาณ ๑๐๐-๒๐๐ เมล็ด โดยปกติต้นข้าวที่โตเต็มที่แล้วจะมีความสูงจากพื้นดินถึงปลายรวงที่สูงที่ สุดประมาณ ๑๐๐-๒๐๐ เซนติเมตรซึ่งแตกต่างไปตามพันธุ์ ข้าว ตลอดจนถึงความอุดมสมบูรณ์ของดินและความลึกของน้ำ

วิธีการปลูกข้าวหรือการทำนา

        การปลูกข้าวไร่ คือ การปลูกข้าวบนที่ดอนไม่มีน้ำขังในพื้นที่ปลูก ชนิดของข้าวที่ปลูกเรียกว่า “ข้าวไร่” พื้นที่ดอนส่วนมากเช่น ภูเขา มักจะไม่มีระดับ คือ สูงๆต่ำๆ จึงไม่สามารถไถเตรียมดิน และปรับระดับดินได้ง่ายๆ เหมือนกับพื้นที่ราบ เพราะฉะนั้น ชาวนามักปลูกข้าวแบบหยอด โดยขั้นแรกทำการตัดหญ้าและต้นไม้เล็กออก แล้วจึงทำความสะอาดพื้นที่ที่จะปลูก แล้วใช้หลักไม้ปลาย แหลมเจาะดินเป็นหลุม ปกติจะต้องหยอดพันธุ์ข้าวทันที่หลังจากที่เจาะหลุม และหลังจากหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าว แล้วจะใช้เท้ากลบดินปากหลุม เมื่อฝนตกหรือเมื่อเมล็ดได้รับความชื้นจากดิน เมล็ดจะงอกและเจริญเติบโตเป็นต้นข้าว เนื่องจากที่ดอนไม่มีน้ำขัง และไม่มี การชลประทาน การปลูกข้าวไร่จึงต้องใช้น้ำฝนเพียงอย่างเดียว พื้นที่ปลูกข้าวไร่จะแห้งและขาดน้ำทันที่เมื่อสิ้นหน้าฝน ดังนั้นการ ปลูกข้าวไร่จึงต้องใช้พันธุ์ที่มีอายุเบา โดยปลูกในต้นฤดูฝนและแก่เก็บเกี่ยวได้ในปลายฤดูฝน ดังนั้นการปลูกข้าวไร่ชาวนาจะต้องหมั่น กำจัด วัชพืช เพราะที่ดอนมักจะมีวัชพืชมากกว่าที่ลุ่ม พื้นที่ที่ปลูกข้าวไร่ในประเทศไทยมีจำนวนน้อยและปลูก มากในภาคเหนือและภาคใต้ ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางปลูกข้าวไร่น้อยมาก


       การปลูกข้าวนาดำ คือ การปักดำ ซึ่งวิธีการปลูกแบ่งเป็นสองตอน ตอนแรกได้แก่การตกกล้าในแปลขนาดเล็ก และตอน ที่สองได้แก่การถอนต้นกล้านำไปปักดินในนาผืนที่ใหญ่ ดังนั้น การปลูกแบบปักดำต้องเตรียมดินที่ดีกว่าการปลูกข้าวไร่ ซึ่งมีการไถดะ การไถแปร และการคราด ปกติการไถและคราดในนาดำมักจะใช้แรงวัวควาย หรือแทรกเตอร์ขนาดเล็กที่เรียกว่า ควายเหล็ก หรือไถยนต์เดินตาม ทั้งนี้เป็นเพราะพื้นที่นาดำมีคันนาแบ่งกั้นออกเป็นแปลงเล็กๆ ขนาดแปลงละ ๑ ไร่ หรือเล็กกว่า คันนามีไว้เพื่อกักเก็บน้ำ ปล่อยน้ำทิ้งจากแปลงนา นาดำจึงมีการบังคับน้ำในนาไว้ได้บ้างพอสมควร

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.เกษตรกรควรเป็นคนขยันขันแข็ง กระตือรือร้น และมีความคิดสร้างสรรค์ ยอมรับในการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ มีแนวความคิดเชิงธุรกิจ(นักฉวยโอกาส) ติดตามความเคลื่อนไหว ด้านราคา ชนิดผลิตผลการเกษตรและการตลาดอยู่ตลอดเวลา

2.มีแรงงานครอบครัวสำหรับทำการเกษตรอย่างน้อย 3 คน ต่อพื้นที่ไร่นาสวนผสม 10 ไร่

3.เกษตรกรควรมีความรู้ความสามารถ และทักษะในการวางแผนและการจัดการด้านทรัพยากรด้านแรงงาน ด้านเวลา และกิจกรรมการผลิตได้เป็นอย่างดีเป็นต้น

อุปกรณ์ ->

เนื่องจากกิจกรรมด้านไร่นาสวนผสมมีความหลากหลายของกิจกรรมการเกษตรจึงทำให้เกิดความหลากหลายด้านชีวภาพ อายุการเก็บเกี่ยวและผลผลิตที่ออกจำหน่ายมีความแตกต่างกันและสามารถช่วยลดการระบาดของโรคและศัตรูพืชลงได้ตลอดจนในบางครั้งราคาผลผลิตบางชนิดตกต่ำแต่บางชนิดราคาสูงหรือให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อดีของการทำอาชีพเกษตรกร คือ 
           - จะเน้นการพัฒนาที่ตัวเกษตรกรให้เป็นผู้คิดเอง ทำเอง จนในที่สุดสามารถ พัฒนาไปใน ทิศทางที่พึ่งตัวเองได้ และจะเป็นผู้กำหนดแผนการผลิตของตนเอง 
           - แผนการผลิตของเกษตรกรจะปรับเปลี่ยนจากการผลิตพืชเดี่ยว เช่น ข้าวหรือพืชไร่ชนิดใดชนิดหนึ่ง มาทำการเกษตรแบบผสมผสาน ซึ่งรวมถึงการผลิตไม้ผลไม้ยืนต้น ไม้ดอก ไม้ประดับ การเลี้ยง สัตว์และการประมง โดยคำนึงถึงความต้องการของตลาดภายในประเทศและความสอดคล้องกับทรัพยากรของพื้นที่นั้นเป็นหลัก
           - เน้นให้ความรู้และทางเลือกในการ และทางเลือกในการประกอบอาชีพเพื่อให้เกษตรกรตัดสินใจปรึกษาหารือคิดร่วมกับเกษตรกรและให้การสนับสนุนตามที่จำเป็น

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดขอนแก่น
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา