เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การปลูกข้าวอินทรีย์

โดย : นายบุญกอง แสงผา ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-06-29-21:55:20

ที่อยู่ : ๓๐ หมู่ที่ ๑๐ ตำบล หัวนาคำ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การเกษตรของไทยในอดีตเป็นการทำการเกษตรเพื่อยังชีพโดยอาศัยความอุดมสมบูรณ์จากธรรมชาติ จึงไม่ค่อยจะพบปัญหามากนัก แต่ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ อันเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรมีการใช้เทคโนโลยีการเกษตรแผนใหม่ เพื่อเพิ่มผลผลิตให้เพียงพอแก่การบริโภคของประชากรและเพื่อการส่งออกเป็นรายได้เข้าสู่ประเทศจึงทำให้การทำการเกษตรในปัจจุบันประสบปัญหามากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการขาดความสมดุลทางธรรมชาติการระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืชรวมทั้งด้านการตลาดซึ่งนับวันจะแปรปรวนมากขึ้นเรื่อย ๆจากปัญหาดังกล่าว การทำ ไร่นาสวนผสมจึงเป็นทางเลือกหนึ่งของเกษตรกรที่จะลดความเสี่ยงที่เกิดจากภัยธรรมชาติและความไม่แน่นอนของราคาผลผลิตโดยการทำการเกษตรหลายๆ อย่าง เพื่อเพิ่มระดับรายได้ สามารถหมุนเวียนการใช้ทรัพยากรในไร่นาได้มากขึ้น สร้างความสมดุลให้กับธรรมชาติทำให้ระบบนิเวศเกษตรของชุมชนดีขึ้น เกษตรกรมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีและมีความมั่นคงในการที่จะประกอบอาชีพการเกษตรต่อไปเป็นการทำกิจกรรมการเกษตรหลาย ๆ อย่าง

วัตถุประสงค์ ->

วิธีการทำนา

การเตรียมพันธุ์ข้าว
เมื่อนำเมล็ดข้าวไปเพาะให้งอก โดยแชน้ำนานประมาณ ๑-๒ชั่วโมง แล้วนำเมล็ดขึ้นจากน้ำและเก็บไว้ในที่มี ความชื้นสูงเมล็ด จะงอก ภายใน ๔๘ชั่วโมง จึงนำเมล็ดที่เริ่มงอกเหล่านี้ไปปลูกในดินที่เปียก ส่วนที่เป็นรากจะเจริญเติบโตลึกลงไปในดิน ส่วนที่เป็น ยอดก็จะสูงขึ้นเหนือผิวดินแล้วเปลี่ยนเป็นใบ ต้นข้าวเล็กๆนี้เรียกว่า “ต้นกล้า” หลังจากต้นกล้ามีอายุ ประมาณ ๔๐วัน จะมีหน่อใหม่เกิดขึ้นโดยเจริญเติบโตออกจากตา บริเวณโคนต้น ต้นกล้าแต่ละต้นสามารถแตกหน่อใหม่ประมาณ ๕-๑๕หน่อ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธ์ ข้าวระยะปลูก และความอุดมสมบูรณ์ของดิน แต่หน่อต้นกล้าให้ร่วงข้าวหนึ่งรวง แต่รวงข้าวมีเมล็ดข้าวประมาณ ๑๐๐-๒๐๐เมล็ด โดยปกติต้นข้าวที่โตเต็มที่แล้วจะมีความสูงจากพื้นดินถึงปลายรวงที่สูงที่ สุดประมาณ ๑๐๐-๒๐๐เซนติเมตรซึ่งแตกต่างไปตามพันธุ์ ข้าว ตลอดจนถึงความอุดมสมบูรณ์ของดินและความลึกของน้ำ

วิธีการปลูกข้าวหรือการทำนา

 การปลูกข้าวไร่ คือ การปลูกข้าวบนที่ดอนไม่มีน้ำขังในพื้นที่ปลูก ชนิดของข้าวที่ปลูกเรียกว่า “ข้าวไร่” พื้นที่ดอนส่วนมากเช่น ภูเขา มักจะไม่มีระดับ คือ สูงๆต่ำๆ จึงไม่สามารถไถเตรียมดิน และปรับระดับดินได้ง่ายๆ เหมือนกับพื้นที่ราบ เพราะฉะนั้น ชาวนามักปลูกข้าวแบบหยอด โดยขั้นแรกทำการตัดหญ้าและต้นไม้เล็กออก แล้วจึงทำความสะอาดพื้นที่ที่จะปลูก แล้วใช้หลักไม้ปลาย แหลมเจาะดินเป็นหลุม ปกติจะต้องหยอดพันธุ์ข้าวทันที่หลังจากที่เจาะหลุม และหลังจากหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าว แล้วจะใช้เท้ากลบดินปากหลุม เมื่อฝนตกหรือเมื่อเมล็ดได้รับความชื้นจากดิน เมล็ดจะงอกและเจริญเติบโตเป็นต้นข้าว เนื่องจากที่ดอนไม่มีน้ำขัง และไม่มี การชลประทาน การปลูกข้าวไร่จึงต้องใช้น้ำฝนเพียงอย่างเดียว พื้นที่ปลูกข้าวไร่จะแห้งและขาดน้ำทันที่เมื่อสิ้นหน้าฝน ดังนั้นการ ปลูกข้าวไร่จึงต้องใช้พันธุ์ที่มีอายุเบา โดยปลูกในต้นฤดูฝนและแก่เก็บเกี่ยวได้ในปลายฤดูฝน ดังนั้นการปลูกข้าวไร่ชาวนาจะต้องหมั่น กำจัด วัชพืช เพราะที่ดอนมักจะมีวัชพืชมากกว่าที่ลุ่ม พื้นที่ที่ปลูกข้าวไร่ในประเทศไทยมีจำนวนน้อยและปลูก มากในภาคเหนือและภาคใต้ ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางปลูกข้าวไร่น้อยมาก


การปลูกข้าวนาดำ คือ การปักดำ ซึ่งวิธีการปลูกแบ่งเป็นสองตอน ตอนแรกได้แก่การตกกล้าในแปลขนาดเล็ก และตอน ที่สองได้แก่การถอนต้นกล้านำไปปักดินในนาผืนที่ใหญ่ ดังนั้น การปลูกแบบปักดำต้องเตรียมดินที่ดีกว่าการปลูกข้าวไร่ ซึ่งมีการไถดะ การไถแปร และการคราด ปกติการไถและคราดในนาดำมักจะใช้แรงวัวควาย หรือแทรกเตอร์ขนาดเล็กที่เรียกว่า ควายเหล็ก หรือไถยนต์เดินตาม ทั้งนี้เป็นเพราะพื้นที่นาดำมีคันนาแบ่งกั้นออกเป็นแปลงเล็กๆ ขนาดแปลงละ ๑ไร่ หรือเล็กกว่า คันนามีไว้เพื่อกักเก็บน้ำ ปล่อยน้ำทิ้งจากแปลงนา นาดำจึงมีการบังคับน้ำในนาไว้ได้บ้างพอสมควร

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

-จะเน้นการพัฒนาที่ตัวเกษตรกรให้เป็นผู้คิดเอง ทำเอง จนในที่สุดสามารถพัฒนาไปใน ทิศทางที่พึ่งตัวเองได้ และจะเป็นผู้กำหนดแผนการผลิตของตนเอง 

อุปกรณ์ ->

เน้นให้ความรู้และทางเลือกในการ และทางเลือกในการประกอบอาชีพเพื่อให้เกษตรกรตัดสินใจปรึกษาหารือคิดร่วมกับเกษตรกรและให้การสนับสนุนตามที่จำเป็น

กระบวนการ/ขั้นตอน->

แผนการผลิตของเกษตรกรจะปรับเปลี่ยนจากการผลิตพืชเดี่ยว เช่น ข้าวหรือพืชไร่ชนิดใดชนิดหนึ่ง มาทำการเกษตรแบบผสมผสาน ซึ่งรวมถึงการผลิตไม้ผลไม้ยืนต้น ไม้ดอก ไม้ประดับ การเลี้ยง สัตว์และการประมง โดยคำนึงถึงความต้องการของตลาดภายในประเทศและความสอดคล้องกับทรัพยากรของพื้นที่นั้นเป็นหลัก

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดขอนแก่น
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา