เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

เทคนิคการหนุนเสริมสัมมาชีพสู่การเป็น OTOP

โดย : นางประภาวดี ร่มเย็น ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-06-21-18:03:44

ที่อยู่ : 52 หมู่ที่ 11 ต.เพ็กใหญ่ อ.พล จ.ขอนแก่น

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การส่งเสริมการขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพชุมชน โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามแผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็งของรัฐบาล ซึ่งตอบสนองนโยบายรัฐบาลเรื่อง การลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐ ซึ่งได้กำหนดกระบวนการขับเคลื่อนที่เริ่มต้นด้วยการพัฒนาทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับปราชญ์ชุมชน เพื่อให้กลับไปสร้างทีม และจัดฝึกอบรมอาชีพให้กับครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพในหมู่บ้าน โดยใช้พื้นที่ในบ้านปราชญ์ชุมชนหรือศูนย์เรียนรู้ชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ เพื่อมุ่งหมายให้ครัวเรือนที่เข้ารับการฝึกอาชีพมีความรู้ และปฏิบัติอาชีพได้จริง จนพัฒนาเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน และต่อยอดสู่การรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพที่มีความเข้มแข็งสามารถสร้างรายได้และมีความมั่นคงทางอาชีพอย่างยั่งยืน  และครัวเรือนสัมมาชีพสามารถดำเนินการตามกระบวนการที่ได้รับการฝึกอบรมหรือเรียนรู้จากปราชญ์ชุมชน และเกิดผลิตภัณฑ์ชุมชนขึ้นในหมู่บ้าน/ตำบล ทำให้ครัวเรือนสัมมาชีพมีรายได้เกิดขึ้น จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทั้งในและนอกหมู่บ้าน โดยการสนับสนุน ส่งเสริมจากหน่วยงานภาคีในพื้นที่ที่หาพื้นที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ให้กับครัวเรือนสัมมาชีพ ก่อให้เกิดรายได้และความภาคภูมิใจในการดำเนินการ รวมถึงแรงผลักดัน ความมั่นใจในการดำเนินการต่อไป
 

วัตถุประสงค์ ->

1. ก่อนการดำเนินการ พัฒนากรที่รับผิดชอบหมู่บ้านเป้าหมาย จัดประชุมสร้างความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นกับผู้นำชุมชนในหมู่บ้าน
2. ดำเนินการคัดเลือกปราชญ์ชุมชน ที่ดำเนินกิจกรรมสัมมาชีพในชุมชนจนประสบความสำเร็จ สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ได้ มีความสมัครใจที่จะเข้าร่วมโครงการได้จนครบกระบวนการ
3. ปราชญ์ชุมชน ร่วมคัดเลือกทีมวิทยากรสัมมาชีพในหมู่บ้านที่มีความสมัครใจ และมีความสามารถในการทำสัมมาชีพ
4. ทีมสนับสนุนระดับอำเภอ เข้าร่วมกิจกรรมกับปราชญ์และทีมวิทยากรฯ ทุกกระบวนการ โดยการติดตามให้กำลังใจ ให้ข้อเสนอแนะ และแนะนำขั้นตอนกระบวนการทำงาน
5. ในการคัดเลือกครัวเรือนเป้าหมายในการอบรมสัมมาชีพ มอบหมายภารกิจและบทบาทให้ทีมวิทยากรปราชญ์ชุมชน ได้ดำเนินการตามกระบวนการของแต่ละอาชีพได้อย่างเต็มที่ โดยไม่มีการปิดกั้นความคิด
6. ทีมสนับสนุนระดับอำเภอ พัฒนากรผู้ประสานงานในพื้นที่ ติดตามให้กำลังใจ
ก่อนการอบรม ระหว่างการอบรม และหลังการอบรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจในการรวมกลุ่มอาชีพให้ดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
7. การจัดหาพื้นที่ ให้ครัวเรือนสัมมาชีพได้นำผลิตภัณฑ์หรือผลงานของกลุ่มได้มาแสดงหรือจำหน่าย เพื่อให้เกิดรายได้ และสร้างแรงผลักดัน หรือกำลังใจในดำเนินงานต่อไป อาทิ งานประจำปีในท้องถิ่น ได้แก่ งานนมัสการพระบรมธาตุนาดูน งานจังหวัดเคลื่อนที่ เป็นต้น

8. การประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานร่วมกับทีมปราชญ์ชุมชน เพื่อเป็นการสร้างภาพลักษณ์ เกิดความภาคภูมิใจในผลการดำเนินงานของปราชญ์

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานสัมมาชีพชุมชน ให้หน่วยงานภาคีต่างทราบ เพื่อการหนุนเสริมการดำเนินการและการบูรณาการการทำงานร่วมกันในพื้นที่

2. ติดตาม สนับสนุน สรา้งขวัญกำลังใจแก่ครัวเรือนสัมมาชีพอย่างต่อเนื่อง

3. หาพื้นที่แสดงจำหน่ายผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อประชาสัมพันธ์และเกิดความภาคภูมิใจในการดำเนินงาน

อุปกรณ์ ->

1. การคัดเลือกปราชญ์และทีมวิทยากร ต้องคัดจากคนที่มีพื้นฐานการทำสัมมาชีพที่ประสบผลสำเร็จและสามารถถ่ายทอดความรู้ให้คนอื่นเข้าใจได้
2. ควรมีการติดตาม สนับสนุนการทำงานร่วมกับทีมปราชญ์ และครัวเรือนสัมมาชีพอย่างต่อเนื่อง 

3. การสร้างความเข้าใจในกรอบแนวทางและเป้าหมายการดำเนินงานกับครัวเรือนสัมมาชีพให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันก่อนดำเนินการ เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายการดำเนินงานทุกประการ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดขอนแก่น
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา