เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

ไข่เค็มดินสอพองสมุนไพร

โดย : นายบัวไข รุกขชาติ ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-07-02-14:23:27

ที่อยู่ : เลขที่ 4 หมู่ที่ ๒ ตำบลหัวทุ่ง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

           การส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน เป็นภารกิจตามนโยบายที่สำคัญ ของรัฐบาลในการลดความเลื่อมลาทาง สังคม เพื่อสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐ โดยการขับเคลื่อนการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในการส่งเสริมอาชีพของประชาชนในหมู่บ้านเป้าหมายด้วยกระบวนการให้ชาวบ้านสอนชาวบ้านเพื่อให้ครัวเรือนที่เข้ารับการฝึกอาชีพมีความรู้สามารถนาไปปฏิบัติประกอบเป็นอาชีพ สร้างรายได้ให้กับครัวเรือนและต่อยอดสู่การรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพที่ยั่งยืนต่อไปเพื่อเป็นการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชน ให้ประสบผลสำเร็จตรงตามเป้าหมาย โดยไม่เบียดเบียน ตนเอง ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เบียดเบียนสิ่งแวดล้อม และมีรายได้มากกว่ารายจ่าย ตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง

 

ไข่เค็มเป็นภูมิปัญญาของคนไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณ เป็นการถนอมอาหารอย่างหนึ่ง ซึ่งคนสมัยก่อนทำไข่เค็มเพื่อเก็บไว้บริโภคในยามที่ขาดแคน หรือเพื่อยืดอายุการเก็บของไข่ ที่เหลือจากการบริโภคสด และถือเป็นภูมิปัญญาที่ผสมผสานกับเทคโนโลยีของชาวบ้านที่สืบทอดกันมาช้านาน ต่อมาไข่เค็มได้รับความนิยมจากผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้น มีความหลากหลาย ทั้งวัตถุดิบที่ใช้เป็นส่วนผสม มีคุณประโยชนที่หลากหลาย มีรสชาติที่แตกต่างกัน ปัจจุบันมีการพัฒนาให้เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อการค้า มีการไปจำหน่ายในรูปของไข่เค็มทั้งที่เป็นไข่สด และไข่ที่ต้มแล้วสามารถนำไปบริโภคได้เลย หรืออาจนำไปทำเป็นไส้ขนมต่าง ๆ เช่น ขนมเปี๊ยะ ขนมไหว้พระจันทร์ ขนมบ๊ะจ่าง ตลอดจนนำใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารต่างๆ ได้อีกด้วย

วัตถุประสงค์ ->

 1. ศึกษาข้อมูล ตามเอกสารแนวทางการดำเนินงานสัมมาชีพชุมชนของกรมการพัฒนาชุมชน
2.  ประสานผู้นำชุมชน ร่วมปรึกษา สร้างความเข้าใจ ร่วมกัน
3. ประชุมผู้นำหมู่บ้าน ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน เพื่อ ให้ความรู้และชี้แจงแนวทางการดำเนินงานสัมมาชีพ

     ชุมชนให้แก่ครัวเรือนฯ เป้าหมาย
4. ดำเนินการ คัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย  ปราชญ์ทีมวิทยากรที่มีองค์ความรู้ในอาชีพแต่ละประเภทให้ชัดเจน

    ครัวเรือนสัมมาชีพที่สมัครที่เข้าร่วม ต้องเข้ามาด้วยความสมัครใจเท่านั้น ห้ามมิให้มีการบังคับกัน
5. นำครัวเรือนสัมมาชีพศึกษาดูงานครัวเรือนที่ประสบผลสำเร็จในการประกอบอาชีพ
6. ดำเนินการตามขั้นตอนและกระบวนการส่งเสริมอาชีพ
7. การจัดแสดง จำหน่ายผลิตภัณฑ์ของครัวเรือนสัมมาชีพ เพื่อประชาสัมพันธ์การดำเนินการ

8. การสนับสนุน ส่งเสริมให้ครัวเรือนสัมมาชีพรวมกลุ่ม เพื่อนำผลิตภัณฑ์เข้าจดทะเบียนกลุ่มกับหน่วยงาน

    ภาครัฐ ได้แก่ ลงทะเบียนผู้ผลิตผู้ประกอบการ OTOP กับสำนักงานพัฒนาชุมชน กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกับ

    เกษตรอำเภอ 

9. ติดตามประเมินผลการดำเนินงานกลุ่มและรายงานผลการดำเนินงานแก่สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภออย่าง

    ต่อเนื่อง
10. สรุปถอดผลการดำเนินงาน ถอดบทเรียนองค์ความรู้ เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์

 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

 1    วิทยากรสัมมาชีพชุมชน ได้รับเลือก   และยอมรับจากเวทีประชาคมของหมู่บ้าน   มีความเป็นผู้นำ   มีจิตอาสา มีความรู้ความสามารถ    และทักษะในการถ่ายทอดความรู้    และมีประสบการณ์ในการประกอบอาชีพ  มีเป้าหมายที่ชัดเจนร่วมกัน

2    ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนให้ความสำคัญ เอาใจใส่ และรับผิดชอบการดำเนินการตามโครงการในทุกขั้นตอน  ตลอดจนความมีไมตรีจิตที่ดีต่อกัน มีความเอื้ออาทร สร้างความประทับใจซึ่งกันและกัน

3    อาชีพที่ชุมชนเลือก เป็นอาชีพที่เกิดจากความต้องการของชุมชนเอง บนพื้นฐานของความรู้ และสอดรับกับทุนทางทรัพย์ที่มีในชุมชน รวมทั้ง การคัดเลือกครัวเรือนสัมมาชีพเป้าหมาย ที่สมัครใจ มีความพร้อม และความตั้งใจจริงในการฝึกอาชีพ

4    เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ติดตามสนับสนุนอย่างใกล้ชิด และสนับสนุนองค์ความรู้ในทุกๆด้านและครัวเรือนสัมมาชีพที่เข้าร่วมแทบทุกครัวเรือนมีความตั้งใจ มุ่งหมั่น ขยันอดทน ในการประกอบอาชีพนี้ 

 

อุปกรณ์ ->

๑) ให้ครัวเรือนสัมมาชีพได้ศึกษาข้อมูลการดำเนินงานแนวทางสัมมาชีพชุมชนให้เกิดวามเข้าใจที่ชัดเจน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผล รวมทั้งกำหนดแผนการดำเนินกิจกรรม/โครงการให้ ชัดเจน

 ๒)  ปราชญ์ชุมชน จะต้องเป็นปราชญ์ที่มีองค์ความรู้ในเรื่องการประกอบอาชีพนั้นๆอย่างแท้จริง และครัวเรือนสัมมาชีพสนใจ สามารถต่อยอดให้เกิดพัฒนาเป็นอาชีพหลักได้

๓) ครัวเรือนเป้าหมาย  ต้องสมัครใจ ไม่ใช่เข้ามาอบรมอาชีพด้วยความเกรงในผู้นำชุมชนหรือวิทยากรปราชญ์สัมมาชีพ หรือเพื่อมารับวัสดุอุปกรณ์จากหน่วยงานภาครัฐที่ให้การสนับสนุนเท่านั้น  และต้องตั้งใจฝึกอาชีพ เพื่อก่อให้เกิดการสร้าง กลุ่มอาชีพให้เกิดรายได้อย่างแท้จริง และยั่งยืน

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. ภาครัฐควรมีการส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนมีการจัดทำบัญชีครัวเรือนในการประกอบอาชีพนี้ อย่างทั่วถึงและทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อจะได้ทราบรายได้ค่าใช้จ่ายในการประกอบอาชีพและนำไปแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด

 2. ควรมีการจัดอบรมพัฒนาอาชีพที่ทำอยู่ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันและเกิดประโยชน์แก่ชุมชนอย่างทั่วถึง

 3. ควรจะมีการติดตาม ประเมินผลเป็นระยะ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ ทราบถึงปัญหาและความต้องการต่างๆ ของครัวเรือนที่ประกอบอาชีพนั้นๆ

 4. ควรมีการยกย่องและให้รางวัลแก่ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน ที่ประสบผลสำเร็จในการประกอบอาชีพ เพื่อเป็นแรงจูงใจกระตุ้นและกำลังใจแก่ครัวเรือนอื่นๆ

 

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดขอนแก่น
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา