เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคการผ้าไหมมัดหมี่

โดย : นางสาวลัดดา ชินทะนา ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-07-02-12:49:54

ที่อยู่ : หมู่ที่ 5 บ้านป่าติ้ว ตำบลหัวทุ่ง อำเภอพล

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

– เพื่อสืบสานสืบทอดเจตนารมณ์ของบรรพบุรุษในการอนุรักษ์ด้านการทอผ้าไหมมัดหมี่ให้คงอยู่สืบไป

– เป็นการส่งเสริมอาชีพและสร้างรายได้เสริมให้กับสตรีในหมู่บ้าน

– ลดปัญหาการว่างงาน ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

– สร้างความภาคภูมิใจในการสร้างชื่อเสียงให้กับท้องถิ่นของตนซึ่งเป็นที่รู้จักทั้งในประเทศและต่างประเทศ

– เกิดการรวมกลุ่มดำเนินกิจกรรมเฉพาะกิจมีส่วนเสริมสร้างความสามัคคีในชุมชน

– ทำให้ครัวเรือนมีรายได้เสริม

– เกิดความภาคภูมิใจในการริเริ่มสร้างสรรค์การออกแบบ ลวดลายผ้าใหม่ ๆ การให้สี การแปรรูปผลิตภัณฑ์และการนำผลิตภัณฑ์ออกจำหน่ายสู่ตลาดจนเป็นที่รู้จักทั่วไป

วัตถุประสงค์ ->

1. จัดเวทีประชาคมชี้แจงทำความเข้าใจแก่ครัวเรือนสัมมาชีพที่สมัครเข้าร่วมโครงการฯ

 2.ประสานขอความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆในการสนับสนุนงบประมาณแหล่งเงินทุน หรือองค์ความรู้เพิ่มเติมแก่ครัวเรือน

3.ศึกษาแนวทางการดำเนินกิจกรรม  

4.ศึกษาดูงานการส่งเสริมกากรพัฒนาอาชีพจากหมู่บ้านที่ประสบความสำเร็จ

5.ส่งเสริมและสนับสนุนวัสดุในการสาธิตอาชีพตามแผนงาน

6.ส่งเสริมการหาแหล่งเงินทุนแก่ครัวเรือน

6.ติดตามให้การสนับสนุนและให้กำลังใจกลุ่มเป้าหมาย

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ปัจจัยที่มีผลต่อความเข้มแข็ง แก่ครัวเรือนสัมมาชีพที่สมัครใจประกอบอาชีพทอผ้าไหม  องค์ประกอบที่มีผลต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวของกลุ่มสตรีทอผ้าไหมมัดหมี่     ได้แก่  การทอที่ละเอียดปราณีต การให้สีที่เป็นเอกลักษณ์และตามสภาวะสังคม ความต้องการของลูกค้า กลุ่มมีการ บริหารจัดการที่มีความชัดเจน โปร่งใส   ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมสมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมในทุกกระบวนการ  มีระเบียบ  ข้อบังคับ  ด้านต้นทุนทางทรัพยากรเช่นมีการปลูกต้นหม่อน และเลี้ยงไหมเอง เป็นการลดต้นทุนการผลิต ทำให้ไหมบ้านโนนตะหนินจะราคาไม่แพง  ที่สำคัญต้องมีความซื่อสัตย์ต่อลูกค้าเสมอ ควรย้อมสีธรรมชาติ  ปัจจัยภายนอกอื่นๆ  ได้แก่  ภาคราชการ  องค์กรเอกชน เข้ามาให้การสนับสนุนด้านวิชาการ เป็นต้น

อุปกรณ์ ->

ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีต้นทุนสูง การตั้งราคาต้องดูศักภาพของลูกค้า และควรมีการอบรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มอย่างต่อเนื่อง

กระบวนการ/ขั้นตอน->

-ทุกภาคส่วนควรให้การสนับสนุนให้มีการอนุรักษ์ภูมิปัญญาพื้นบ้าน และส่งเสริมภูมิปัญญาชาวบ้านด้านหัตถกรรมกระบวนการทอผ้าไหมให้คงอยู่สืบไป

- สนับสนุนให้เกิดเครือข่ายการเรียนรู้ที่เชื่อมโยง ระหว่างความหลากหลายทาง วัฒนธรรมในภูมิภาคต่างๆ

-นำองค์ความรู้ทางภูมิปัญญาพื้นบ้านบรรจุในหลักสูตรการเรียนการสอนซึ่งก่อให้เกิดกระบวนกาเรียนรู้ในการทำผ้าไหม เพื่อดำรงไว้เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนต่อไป

- ควรศึกษาถึงการส่งเสริมและพัฒนาให้เป็นชุมชนเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์โดยภูมิปัญญาชาวบ้าน 

- ควรพัฒนารูปแบบ ลวดลาย สีที่ใช้ย้อม และประโยชน์ใช้สอยในรูปแบบอื่นๆ เช่น การทำตุ๊กตาผ้าไหม การทำกระเป๋าผ้าไหม หรือของใช้ในครัวเรือน เป็นต้น

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดขอนแก่น
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา