เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

ทำพานบายศรีสู่ขวัญ

โดย : นางเสาวภา อุดมศิลป์ ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-06-21-15:14:39

ที่อยู่ : 54....หมู่ที่...13 ต.หนองกุง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

พิธีบายศรีสู่ขวัญ" เป็นพิธีเก่าแก่ของชาวไทยแทบทุกภาค ซึ่งพิธีสู่ขวัญนี้จะทำกันได้ในทุกโอกาส ทั้งในมูลเหตุแห่งความดีและไม่ดี พิธีสู่ขวัญจึงเป็นได้ทั้งการแสดงความชื่นชมยินดี และเป็นการปลอบใจให้เจ้าของขวัญ ตามความเชื่อที่ว่าคนเราเมื่อเกิดมาในโลกจะมี "ขวัญ" ประจำกายคอยช่วยพิทักษ์รักษาเจ้าของขวัญให้มีความสวัสดี ดังนั้น พิธีสู่ขวัญจึงถือเป็นประเพณีที่ถือสืบทอดกันมา และในการทำพิธีต้องมีพานบายศรีสู่ขวัญ ในการประกอบพิธีด้วย

วัตถุประสงค์ ->

กระบวนการ/วิธีการขั้นตอน/เทคนิค/ข้อพึงระวังที่ใช้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาอาชีพ

                 อุปกรณ์

                  ๑. โฟมหนา ๒ นิ้ว ตัดเป็นขนาดต่าง ๆ ๗ ขนาด
        ชั้นล่างสุด ชั้นที่ ๗ กว้าง ๓ นิ้ว
        ชั้นที่ ๖ กว้าง ๗ นิ้ว
        ชั้นที่ ๕ กว้าง ๖.๕ นิ้ว
        ชั้นที่ ๔ กว้าง ๖ นิ้ว
        ชั้นที่ ๓ กว้าง ๕.๕ นิ้ว
        ชั้นที่ ๒ กว้าง ๕ นิ้ว
        ชั้นที่ ๑ กว้าง ๔.๕ นิ้ว
แล้วเฉือนโฟมตรงกลางออกและเจาะโฟมตรงจุดศูนย์กลางให้มีความกว้างเล็กเท่ากับบายศรี
                 ๒. ใบตองตานี ประมาณ ๑๔ กิโลกรัม ช่วงขนาดกลาง
                 ๓. ลวดเย็บตัว U ขนาด ๒ นิ้ว ๒๐๐ ตัว ใช้ลวดเบอร์ ๑๖
                 ๔. กาบกล้วย, กาบพลับพลึง, เนื้อมะละกอดิบ
                 ๕. ดอกพุดและดอกไม้ตกแต่งตรงชั้นของบายศรี
                 ๖. ด้าย เข็ม เข็มหมุด
                 ๗. ขัน, ชาม, พานทำยอดบายศรี

 

 

          วิธีทำ

           ๑. ขนาดของหลักบายศรีควรสูงประมาณ ๑.๗๐ ม.
          ๒. ช่วงห่างของแต่ละชั้น ห่างประมาณ ๘ นิ้ว
           ๓. ความกว้างของแต่ละชั้น คำนึงถึงเส้นรอบวงว่าจะต้องใช้ตัวบายศรีเท่าใด เช่นชั้นที่ ๗ ใช้ตัวบายศรี ๙ ตัว ต้องติดข้างล่างและข้างบนเป็น ๑๘ ตัว ตัวรองอีก ๑๘ ตัวชั้นที่ ๖ ใช้ตัวบายศรี ๑๖ ตัว ตัวรอง ๑๖ ชุดชั้นที่ ๕ ใช้ตัวบายศรี ๑๔ ตัว ตัวรอง ๑๔ ชุดชั้นที่ ๔ ใช้ตัวบายศรี ๑๒ ตัว ตัวรอง ๑๒ ชุดชั้นที่ ๓ ใช้ตัวบายศรี ๑๐ ตัว ตัวรอง ๑๐ ชุดชั้นที่ ๒ ใช้ตัวบายศรี ๘ ตัว ตัวรอง ๘ ชุดชั้นที่ ๑ ใช้ตัวบายศรี ๘ ตัว ตัวรอง ๖ ชุดตัวรองช่องละ ๓ ชิ้นเมื่อติดตัวบายศรีได้แล้ว จึงจะกำหนดการใช้ใบตอง

           ๔. ควรลดหลั่นขนาดกันไปจนถึงยอด
          ๕. ทำตัวบายศรีเสร็จแล้วแช่น้ำให้อิ่ม แล้วนำขึ้นสลัดให้สะเด็ดน้ำ ใส่ไว้ในกาละมังคลุมด้วยผ้าขาวบาง จะอยู่ได้หลายวันจนกว่าจะเหลือง เพราะกว่าจะทำเสร็จใช้เวลาเป็นวัน ๆ
          ๖. การทำตัวรอง ใบตองกว้าง ๑.๕ นิ้ว จีบใบตองด้านแข็งอยู่ทางขวามือด้านอ่อนอยู่ทางซ้ายมือ พับมาทางขวามือ ๓ ทบ ให้เกินครึ่งไปทางขวามือทางด้านขวามือใช้ใบตองพับ ๓ ทบซ้อนใบตองที่พับจากทาง
ด้านซ้ายมือให้อยู่ตรงกลาง เมื่อพับได้เช่นนี้แล้ว ๓ อัน ให้ห่อ ๓ ชิ้นรวมกัน วิธีห่อห่อแบบห่อบายศรีจนครบ
           ๗. การเข้าตัวบายศรี อาจจะทำที่หลักบายศรีเลยหรือจะนำมาประกอบข้างนอกเสร็จแล้วจึงจะใส่ก็ได้ เพื่อสะดวกควรประกอบข้างนอก
 ๘. วิธีเข้าตัวบายศรี ให้เริ่มตั้งแต่ชั้นล่างก่อน ก่อนจะเข้าตัวบายศรีให้ตัดและตกแต่งบายศรีให้มีขนาดเท่ากันก่อนทุกตัว และนำไปติดกับแป้นโฟมที่ให้ตัดไว้แล้ว กะจังหวะให้ช่วงห่างเท่า ๆ กัน
แล้วนำบายศรีโดยใช้ลวดตัว U เสียบยึดให้แน่นจนครบรอบชั้นบนชั้นล่างก็ติดเช่นเดียวกันให้ตัวบายศรีตรงกันทั้งข้างล่างข้างบน แล้วจึงติดตัวรองระหว่างช่องของบายศรีจนครบ
 ๙. คาดเอว หรือสายรัด ระหว่างชั้นบนและชั้นล่างของตัวบายศรีจะใช้กาบกล้วย กาบพลับพลึง หรือใช้ใบตองรัดก็ได้ ถ้าใช้กาบกล้วย กาบพลับพลึงจะต้องสลักลวดลาย และอาจตกแต่งด้วยบานไม่รู้โรยหรือดอกไม้อื่น หรืออาจเย็บสวนคาดแทนก็ได้ ถ้าใช้ใบตองก็จะต้องเย็บแบบหรือตกแต่งดอกไม้ หรือจะใช้เป็นมาลัยแบนคาดก็ได้
          ๑๐. ทำเช่นนี้ครบ ๓ ชั้นแล้ว ชั้นบนสุดให้ใส่บายศรีปากชาม
จะใช้ชามหรือพานก็ได้วางอยู่บนยอดบายศรี
          ๑๑. แป้นบายศรีแต่ละชั้นจะเห็นโฟม ให้ตัดใบตองปิดทั้งข้างล่างและข้างบนแล้วประดับดอกไม้ปักเรียบ ๆ จะเป็นบานไม่รู้โรยหรือดอกรัก ฯลฯ ถ้าแต่งดอกไม้มากหรือปักให้แน่นจะทำให้บดบังความงามของบายศรีไป
 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

การคัดเลือกใบตองเพื่อมาทำพานบายศรี ควรเลือกใบตองที่มีสีเขียว  และสด เพื่อให้ได้พานบายศรีที่สวยงาม และในการเย็บพานแต่ละชั้น ควรเย็บให้มีความเข็งแรง  คงทน

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดขอนแก่น
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา