เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เครื่องจักสานต่าง ๆ (ตะกร้า)

โดย : นายเชาว์ มูลตรี ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-06-21-15:12:13

ที่อยู่ : 17...หมู่ที่...8..ต.พังทุย

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ตะกร้าไม่ไผ่เป็นเครื่องมือเครื่องใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณ  ปัจจุบันนี้แทบจะไม่มีคนจักสานตะกร้าไม้ไผ่เลยเพราะคนสมัยนี้ไม่ค่อยสนใจในวัฒนธรรมเดิมๆเลย จึงหันมาให้ความสำคัญกับการสานตะกร้าไม้ไผ่มากขึ้น ซึ่งต่างจากเดินที่สานตะกร้าเพียงเอาไว้ใช้งานเท่านั้น แต่ปัจจุบันการจักสานตะกร้ายังสร้างรายได้ ซึ่งขายในราคาไม่แพง แต่ก็ขึ้นอยู่กับขนาดของตะกร้า และยังถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เยาวชนรุ่นหลังเพื่อสืบทอดไม่ให้สูญหายต่อไป        

วัตถุประสงค์ ->

กระบวนการ/วิธีการขั้นตอน/เทคนิค/ข้อพึงระวังที่ใช้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาอาชีพ

                    วิธีการทำตะกร้า

๑. ตัดไม้ไผ่แก่มาผ่าซีกและผ่าแบ่งเป็นเสี้ยวเล็ก ๆ ขนาดประมาณ ๑ ซม. และอีกส่วนหนึ่งผ่าประมาณ ๑ นิ้ว เพื่อใช้ทำขอบปากตะกร้าและมือจับ

๒. นำแต่ละชิ้นที่ผ่าไว้ ลอกใช้แต่ส่วนเปลือก โดยใช้มีดคม ๆ เหลาหรือขูดเนื้อไม้ออกและเหลือแต่ส่วนเปลือกบาง ๆ และเหนียว

๓. เริ่มต้นสานตะกร้า โดยเริ่มที่ก้นก่อน โดยใช้ส่วนที่แข็งกว่าและหนากว่าสานที่ก้น ความยาวของไม้ตามขนาดของตะกร้า เส้นที่แข็งกว่าสานขึ้นตามแนวตั้ง ความห่างเท่า ๆ กัน ส่วนเส้นไม้ไผ่ที่บาง นิ่ม สานตามขวางชั้นมาเรื่อย ๆ แน่น มีลักษณะเป็นวงกลมแต่ปากตะกร้าจะกว้างกว่าก้นตะกร้า พอได้ขนาดตามต้องการใช้ไม้ไผ่ขนาด ๑ นิ้ว ทำให้เป็นวงกลมและวางไว้ที่ขอบปากตะกร้า ใช้ไม่ไผ่ส่วนที่ตั้งขึ้น พัน หรือ บิดลงไปด้านล่าง สานลงไปประมาณ ๑ นิ้ว จนแน่นไม่หลุด ตัดเศษที่เหลือทิ้ง ตกแต่งให้สวยงาม

๔. ใส่หูหรือที่หิ้ว ซึ่งทำจากไม้ไผ่และโค้งงอได้ ใช้เชือกหรือหวายพันให้แน่น หรือใช้เชือกที่เป็นสีพันที่มือจับจนมิด นำไปใช้งานหรือขายได้

๕. หากต้องการเก็บไว้ใช้งานได้นาน ทาเล็กเกอร์เคลือบไม้ไผ่ทั้งด้านในและด้านนอก แล้วนำไปตากแดดให้แห้ง

       

 

 

 

                            

 

       นำตอกยืน 4 เส้น วัดกึ่งกลางเส้นแล้ววางตัดกันเป็นเครื่องหมาย + เพื่อก่อก้น โดยสานลายสองขัดบีในขั้นตอนนี้จะใช้ตอกยืนทั้งหมด จนได้แผ่นพื้นตะกร้าตามขนาดที่ต้องการจากนั้นนำเข้าแบบพิมพ์ตะกร้า (ตัวแบบพิมพ์ทำจากท่อนไม้เป็นรูปกลมขนาดใหญ่ – เล็ก) เพื่อสานผนังตะกร้าต่อจากก้นโดยใช้ตอกสานเส้นกลมสานลายหนึ่งคือข้ามหนึ่งสอดหนึ่งโดยใช้เส้นตอกยืนเป็นหลักสานไปเรื่อยๆจนได้ขนาดของตะกร้าตามต้องการโดยให้เหลือส่วนปลายของตอกยืนไว้ ประมาณ 15 ซม. เผื่อไว้พับเป็นปากตะกร้าจากนั้นนำออกจากแบบพิมพ์
       การล้มปาก  คือการพับปากตะกร้า  โดยตอกยืนที่เหลือไว้นั้นจับรวมกันจับละ 4-5เส้นแล้วม้วนสอดเข้าตามช่องของปากตะกร้าในลักษณะเอียงล้มไปในทิศทางเดียวกันให้สวยงาม และแข็งแรง ใช้ไม้คัดก้น 2 อัน สอดปลายแหลมเข้าที่มุมก้นตะกร้าในลักษณะไขว้กัน (เครื่องหมาย X) เพื่อให้เกิดความคงรูปแข็งแรง และตอกตีนคือไม้ตรงปล้องไม้ไผ่ทำเป็นปุ่มปลายแหลม จุ่มเทียนแล้วตีเข้ามุมก้นเป็นขาของตะกร้า 4มุม

       

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ต้องนำตะกร้าไปรมควันไฟใช้ฟางข้าวที่ไม่ใช้แล้วเป็นเชื้อเพลิงรวมควันเพื่อกันมอดแมลงเพื่อให้เศษไม้เศษเสี้ยนไม้ไผ่ที่สานหลุดออกสร้างสีสันดูให้เกิดความแข็งแรง และเพิ่มความสวยงามด้วยการทาแลกเกอร์เพื่อรักษาไม้และให้ความสวยงาม

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดขอนแก่น
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา