เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคการทำเกษตรแบบผสมผสาน

โดย : นายปรัชญา สีบาง ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-07-01-16:29:07

ที่อยู่ : 62 หมู่ที่ 11 ตำบลหนองแวงนางเบ้า

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

แต่ก่อนพ่อ แม่พาทำนาเป็นอาชีพหลัก ฐานะทางการเงินก็ไม่ดีขึ้น ได้มีโอกาสไปศึกษาดูงานจึงเกิดความคิดในการทำเกษตรแบบผสมผสานขึ้น

ตอนแรกๆ ไม่ประสบสบความสำเร็จจึงได้ลองศึกษาหาความรู้จาก internet 

เกษตรผสมผสาน หรือไร่นาสวนผสม ไม่มีคำจำกัดความ เพราะสามารถแตกแขนงออกได้หลายแบบ ไม่มีการเจาะจงชนิดของพืชที่สามารถปลูก แต่การทำการเกษตรแบบผสมผสานนี้นั้น ภายในแปลงปลูกควรมีพืชพันธ์นานาชนิด มีความร่มรื่น เย็นสบาย เพื่อให้พืชหลายชนิดมีการเอื้อเฟื้อต่อกันได้มากที่สุด โดยส่วนใหญ่แล้วพืชพันธุ์ที่พบภายในสวน มีทั้งไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผักสมุนไพร ผักพื้นบ้าน ผักป่า ผักสวนครัว และอื่นๆ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทุกอย่าง รวมทั้ง แปลงดอกไม้ แปลงข้าว การเลี้ยงปลาในนาข้าว การเพาะพันธ์ปลาในบ่อปลา เรียกได้ว่าเป็นการผสมผสานทุกสิ่งทุกอย่าง ในพื้นที่จำกัด 1-2 ไร่ได้อย่างลงตัว และที่สำคัญ สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

วัตถุประสงค์ ->

วิธีการแบ่งสัดส่วนกิจกรรมเกษตรระบบผสมผสาน
 เกษตรผสมผสานเป็นแนวทางหรือหลักในการบริหารจัดการที่ดินและน้ำ เพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำรินี้เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกร การจัดการพื้นที่แบ่งได้เป็น 4 ส่วน คือ 30:30:30:10    ดังนี้                                   ขุดสระเก็บกักน้ำ  
พื้นที่ประมาณ 30% ให้ขุดสระเก็บกักน้ำ เพื่อให้มีน้ำใช้ สม่ำเสมอตลอดปี โดยเก็บกักน้ำฝนในฤดูฝน และใช้เสริมการปลูกพืชในฤดูแล้ง หรือระยะฝนทิ้งช่วง ตลอดจนการเลี้ยงสัตว์ และพืชน้ำต่างๆ เช่น ผักบุ้ง ผักกระเฉด โสน ฯลฯ
         ปลูกข้าว 
พื้นที่ประมาณ 30 % ให้ปลูกข้าวในฤดูฝน เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันสำหรับครัวเรือนให้เพียงพอตลอดปี โดยไม่ต้องซื้อหาในราคาแพง เป็นการลดค่าใช้จ่าย และสามารพึ่งตนเองได้
        ปลูกผลไม้ ไม้ยืนต้น พืชไร่ พืชผัก 
พื้นที่ประมาณ 30 % ให้ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชไร่ พืชผัก พืชสมุนไพร ฯลฯ อย่างผสมผสานกัน และหลากหลายในพื้นที่เดียวกัน เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวัน หากเหลือจากการบริโภคก็นำไปขายได้
       เป็นที่อยู่อาศัย และอื่นๆ
พื้นที่ประมาณ 10 % ใช้เป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ ถนนหนทาง คันดิน โรงเรือนและสิ่งก่อสร้างอื่นๆ รวมทั้งคอกเลี้ยงสัตว์ เรือนเพาะชำ ฉางเก็บผลิตผลการเกษตร ฯลฯ นี่เป็นทฤษฎีปฏิบัติจริง พื้นที่เป็นนาทั้งหมดหรือไร่สวนด้วย
  จุดเด่นของการเกษตรผสมผสาน 
 1) การลดความเสี่ยงและความไม่แน่นอนของรายได้
 2) รายได้สม่ำเสมอ
 3) การประหยัดทางขอบข่าย ค่าใช้จ่ายในไร่นาลดลง มีรายได้สุทธิเพิ่มมากขึ้น
 4) ลดการพึ่งพิงจากภายนอก
 5) ลดการว่างงานตามฤดูกาล มีงานทำทั้งปี ทำให้ลดการอพยพแรงงาน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

 จุดเด่นของการเกษตรผสมผสาน 
 1) การลดความเสี่ยงและความไม่แน่นอนของรายได้
 2) รายได้สม่ำเสมอ
 3) การประหยัดทางขอบข่าย ค่าใช้จ่ายในไร่นาลดลง มีรายได้สุทธิเพิ่มมากขึ้น
 4) ลดการพึ่งพิงจากภายนอก
 5) ลดการว่างงานตามฤดูกาล มีงานทำทั้งปี ทำให้ลดการอพยพแรงงาน

อุปกรณ์ ->

1. การให้ปุ๋ยโดยการใช้ฉีดพ่นสารละลายที่มีธาตุอาหารให้กับพืชโดยทางใบสามารถให้ธาตุอาหารแก่พืชในแต่ละครั้งได้น้อยกว่าการใส่ปุ๋ยทางดินมากทำให้ต้องมีการใช้บ่อยครั้งจึงจะให้ธาตุอาหารเพียงพอกับความต้องการของพืช (ถ้าไม่มีการให้ปุ๋ยทางดินร่วมด้วย) ซึ่งเป็นการสิ้นเปลื้องทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นการใช้กับพืชที่ราคาผลผลิตต่ำเช่นพืชไร่ต่างๆโดยทั่วไปอาจให้ผลไม่คุ้มค่า

2. การให้ปุ๋ยทางใบถ้าใช้สารละลายปุ๋ยที่มีความเข้มข้นมากเกินไปอาจทำให้ใบพืชเกิดอาการไหม้หรือใบหงิกงอได้ดังนั้นในการให้ปุ๋ยทางใบผู้ใช้จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับระดับความเข้มข้นวิกฤติของธาตุอาหารพืชที่มีในปุ๋ยทางใบแต่ละชนิดรวมทั้งความอ่อนไหวหรือความทนทานของพืชแต่ละชนิดต่อระดับความเข้มข้นของสารละลายปุ๋ยที่ใช้ด้วย

3. การให้ปุ๋ยทางใบโดยทั่วไปมีความยุ่งยากในการเตรียมการและการปฏิบัติงานมากกว่าการให้ปุ๋ยทางดินโดยใช้มือทั้งนี้เพราะต้องมีแหล่งน้ำสำหรับใช้ผสมปุ๋ยเครื่องฉีดพ่นสารละลายปุ๋ยและในบางครั้งอาจต้องใช้สารบางอย่างเช่นสารจับใบผสมลงในปุ๋ยด้วยนอกจากนั้นในการฉีดพ่นก็ต้องคำนวณหรือกะปริมาณน้ำและปุ๋ยที่จะต้องใช้ต่อพื้นที่ให้ถูกต้องรวมทั้งความเข้มข้นที่จะใช้อย่างมากเหมาะสมสำหรับปุ๋ยและพืชแต่ละชนิดด้วย

4. สำหรับพืชที่ปลูกตามฤดูกาลในเขตน้ำฝนระยะเวลาการให้ปุ๋ยทางใบจะต้องมีการคาดคะเนให้ดีว่าจะไม่มีฝนตกในช่วงเวลาอันสั้นหลังการให้ปุ๋ยเพราะมิฉะนั้นจะทำให้ปุ๋ยที่ฉีดพ่นไว้ที่ใบพืชบางส่วนหรือส่วนใหญ่ถูกชะล้างออกไปจากใบพืชแต่ธาตุอาหารที่ถูกชะออกไป

 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

เกษตรผสมผสาน คือ ระบบการเกษตรที่มีการปลูกพืชและหรือมีการเลี้ยงสัตว์หลายชนิด ในพื้นที่เดียวกัน โดยที่กิจกรรมแต่ละชนิด จะต้องเกื้อกูลประโยชน์ต่อกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเหมาะสมเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีความสมดุลของสภาพแวดล้อมและเพิ่มพูนความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดขอนแก่น
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา