เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การเลี้ยงไก่พื้นบ้าน

โดย : นายชาญชัย วงษ์ภูเย็น ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-06-21-15:11:52

ที่อยู่ : 52 ....หมู่ที่...2 ต.ทรายมูล

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

อาชีพเกษตรกรเป็นอาชีพดั้งเดิมของคนไทยโดยเฉพาะในภาคอีสาน  เช่น   การทำนา   และการ

     เลี้ยงสัตว์ซึ่งการเลี้ยงสัตว์ส่วนใหญ่จะเป็นการเลี้ยง  เป็ด   ไก่   วัว    ควาย   เป็นต้น   แต่ส่วนใหญ่จะเลี้ยงไก่ 

    ซึ่งสามารถเลี้ยงไว้เพื่อบริโภคในครัวเรือน  และเลี้ยงไว้เพื่อจำหน่าย  แต่ก็มักจะมีปัญหาตามมาคือ  ไก่มักจะ

    ป่วยเป็นโรคสัตว์ต่าง  ทำให้ไก่ล้มตาย    เกษตรกรจึงไม่ค่อยเลี้ยงไก่มากนัก   ต่อมาได้มีการฝึกอบรมเกี่ยวกับ

    การเลี้ยง  การดูแล   และการป้องกันโรคไก่  ทำให้ชาวบ้านมีการเลี้ยงไก่เพิ่มมากขึ้นปัจจุบันไก่พื้นบ้านได้รับความ

    นิยมเพิ่มสูงขึ้นมาก เป็นเพราะไก่พื้นบ้านมี เนื้อ รสชาติอร่อยและเนื้อแน่น เป็นที่ถูกปากของผู้บริโภคทั่วไป

    จนมีแนวโน้มว่า จะสามารถส่งเนื้อไก่พื้นiบ้านออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ แต่ปัญหาคือปริมาณไก่ บ้านยัง

    ไม่เพียงพอต่อความต้องการ เพราะเกษตรกรส่วนมากประมาณร้อยละ 70 80 เปอร์เซ็นต์ จะเลี้ยงไก่พื้นบ้านแบบ

   หลังบ้าน ซึ่งการเลี้ยงก็เป็นการเลี้ยงแบบปล่อยตามยถากรรม จึงเป็นเหตุให้เกิดความสูญเสย พอสมควร

    แต่ถ้าเกษตรกรสามารถปรับใช้เทคนิคการเลี้ยงแบบเรือนโรงมาผสม ผสานกับการเลี้ยงแบบพื้นบ้านและ

    มีการปรับปรุงพันธุ์ลูกผสมระหว่างไก่บ้านกับไก่ พันธุ์แท้แล้วย่อมส่งผลทำให้จำนวนไก่บ้านที่จะออกสู่ตลาดมีปริมาณที่สูงขึ้นอย่าง แน่นอน

วัตถุประสงค์ ->

การสร้างเรือนโรงไก่จะมีจุดประสงค์หลัก ๆ ดังนี้คือ

1. ใช้เป็นที่กกลูกไก่แทนแม่ไก่

2.  ให้ไก่หลบพักผ่อนในช่วงกลางคืน

3.   เป็นที่ให้อาหารและน้ำในช่วงภาวะอากาศแปรปราน เช่น ฝนตกหนัก

4.   ใช้เป็นที่ขังไก่เพื่อทำวัคซีน

    5.  ใช้เป็นที่ขังไก่เพื่อให้ยาหรือยาปฏิชีวนะป้องกันรักษาโรค

    หลักในการให้อาหารไก่พื้นบ้านมีดังต่อไปนี้

1. ควรซื้อหัวอาหารเพื่อเอามาผสมกับอาหารที่ผู้เลี้ยงมีอยู่เช่น ผสมกับปลายข้าว หรือรำเป็นต้น

                          อาหารผสมนี้ใช้เลี้ยงไก่โดยเฉพาะอย่างยิ่งไก่เล็ก จะทำให้ไก่ที่เลี้ยงโตเร็วและแข็งแรง

        2. การใช้เศษอาหารมาเลี้ยงไก่ควรคำนึงถึงความสะอาดและสิ่งแปลกปลอมที่เป็นพิษต่อไก่ด้วย

                      3. ถ้าเป็นไปได้ควรเสริมเปลือกหอยป่นในอาหารที่ให้ไก่กินจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องเปลือกไข่

                          บางและปัญหาการจิกกินไข่ของแม่ไก่

         4. ควรนำหญ้าขนหรือพืชตระกูลถั่วบางชนิดเช่น ถั่วฮามาต้า ใบกระถิน หรือเศษใบพืชต่าง ๆ

             เช่น ใบปอ ใบมัน เป็นต้น นำมาสับให้ไก่กินจะทำให้ไก่ได้รับไวตามินและโปรตีนเพิ่ม

              มากขึ้น

5. การใช้แสงไฟล่อแมลงในตอนกลางคืน นำแมลงนั้นมาเป็นอาหารไก่จะทำให้ไก่ได้

    อาหารโปรตีนอีกทางหนึ่งนอกจากนี้ยังเป็นการช่วยทำลายแมลงศัตรูพืชอีกด้วย

6. ควรมีภาชนะสำหรับใส่อาหารและน้ำโดยเฉพาะ โดยทำจากวัสดุต่าง ๆ ที่หาได้ เช่นยาง

                 รถยนต์ หรือไม้ไผ่ ภาชนะสำหรับให้น้ำและอาหารควรวางให้สูงระดับเดียวกับหลังของ

                  ตัวไก่และใส่อาหารเพียง 1 ใน 3 ก็พอเพื่อให้หกเรี่ยราด   สำหรับน้ำนั้นควรใช้น้ำที่

                   สะอาดให้ไก่ดื่มกินตลอดเวลา ส่วนอาหารอาจจะให้เฉพาะตอนเช้า และเย็นเท่านั้น

 

 

 

                 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

การเลี้ยงไก่จะต้องเอาใจใส่  ดูและด้วยความตั้งใจอย่างสม่ำเสมอ  หากเกิดปัญหาต้องรีบแก้ไข  หากเกินความสามารถต้องประมานขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยด่วน

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดขอนแก่น
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา