เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน

โดย : นางภาวินี จันทรศรี ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-06-20-22:25:37

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การแก้ไขปัญหาชุมชนที่ยั่งยืน คือการสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ ด้วยการยกระดับเศรษฐกิจฐานราก บนพื้นฐานของการทำให้ ครัวเรือน มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการประกอบอาชีพที่สุจริตและครัวเรือนสมัครใจทำอาชีพนั้น   ปัจจุบันสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพของประชาชนภาคการเกษตรกรรมมีภาวะความเสี่ยงต่อการขาดทุนที่เกิดจากการประกอบอาชีพแบบดั้งเดิม เช่น การปลูกพืชเชิงเดี่ยว , โรคพืช , ราคาผลผลิตตกต่ำ , การรวมตัวเป็นกลุ่มอาชีพไม่ยั่งยืน  รายได้ชุมชนตกต่ำ ชุมชนมีความเข้มแข็งน้อยลง อย่างไรก็ตามในแต่ละชุมชนยังมีผู้ที่ประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพด้านต่าง ๆ ที่สามารถเป็นตัวอย่างและพร้อมถ่ายทอดประสบการณ์ด้านอาชีพให้แก่คนในชุมชนด้วยกันเอง

                   จากแนวคิดข้างต้น จึงเป็นที่มาของ “ สัมมาชีพชุมชน ” ซึ่งหมายถึง การสร้างความเข้มแข็งด้านเศรษฐกิจให้แก่ชุมชน ด้วยการส่งเสริมให้ครัวเรือนในชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการประกอบอาชีพที่

- ไม่ผิดกฎหมาย

- ครัวเรือนชอบและสมัครใจทำ

- ควรเป็นอาชีพที่ทำแล้วเกิดรายได้ให้แก่ครัวเรือนอย่างสม่ำเสมอตลอดเดือน

- มีผู้ประสบความสำเร็จด้านอาชีพ หรือ ปราชญ์ชุมชน เป็นผู้ถ่ายทอดประสบการณ์และเป็นพี่

เลี้ยงในหมู่บ้าน           

วัตถุประสงค์ ->

1. ศึกษาทำความเข้าใจเป้าหมาย วัตถุประสงค์ กระบวนการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชนตามแนวทางสร้างสัมมาชีพชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

                   2. สร้างความเข้าใจในแนวทางและกระบวนการทำงานสร้างสัมมาชีพชุมชนแก่พัฒนากรประจำตำบล , ภาคีการพัฒนาและผู้นำชุมชน โดยการประชุมและประชาสัมพันธ์โครงการในที่ประชุมกำนันผู้ใหญ่บ้าน

                   3. ร่วมกับทีมงานสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ กำหนดแผนการดำเนินงาน พื้นที่เป้าหมาย และทิศทางการทำงาน

                   4. มอบหมายเจ้าหน้าที่ร่วมกับผู้นำชุมชนค้นหาปราชญ์สัมมาชีพชุมชน หมู่บ้านละ 1 คน เพื่อเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการวิทยากรสัมมาชีพชุมชนที่ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชน

                   5. ดำเนินการขับเคลื่อนโครงการฯตามแนวทางและกระบวนการทำงานที่กำหนด คือ

                        5.1 ปราชญ์สัมมาชีพชุมชนคัดเลือกทีมวิทยากรปราชญ์สัมมาชีพระดับเพิ่มอีกหมู่บ้านละ 4 คน รวมจำนวนปราชญ์สัมมาชีพชุมชนทั้งสิ้น หมู่บ้านละ 5  คน เพื่อเตรียมความพร้อมการทำหน้าที่วิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน

 

 

                      5.2 ทีมวิทยากรปราชญ์สัมมาชีพชุมชนร่วมกับผู้นำชุมชนและพัฒนากรประจำตำบลคัดเลือกครัวเรือนในหมู่บ้านที่สนใจฝึกอาชีพโดยพิจารณาจากครัวเรือนที่มีรายได้น้อยเป็นอันดับแรก หมู่บ้านละ 20 ครัวเรือนเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมตามกระบวนการ รวม 5 วัน คือ

 

          วันที่ 1 - 3 วิทยากรปราชญ์สัมมาชีพถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ครัวเรือนสัมมาชีพ (วิชาการ/ทฤษฎี/การสาธิตอาชีพเบื้องต้น)

          วันที่ 4    ศึกษาดูงานเพิ่มพูนความรู้ด้านอาชีพ

          วันที่ 5    ครัวเรือนเป้าหมายฝึกปฏิบัติอาชีพ และต่อยอดความรู้ในการสร้างรายได้ภายในครัวเรือน

                   6. พัฒนากรประจำตำบลทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงและติดตามประเมินผล

เทคนิคในการทำงาน

                   1. ผู้ปฏิบัติ คือ พัฒนากรประจำตำบล , ผู้นำชุมชน , ปราชญ์ชาวบ้าน และครัวเรือนเป้าหมายทั้ง

20 ครัวเรือนต้องเข้าใจวัตถุประสงค์ เป้าหมายและกระบวนการทำงานสร้างสัมมาชีพชุมชนในแนวทางเดียวกัน

2. ดำเนินการขับเคลื่อนร่วมกับภาคีพัฒนา และทีมสนับสนุนสัมมาชีพชุมชน 4 องค์กร ได้แก่

กพสอ. / ศอช.อ. /เครือข่ายออมทรัพย์ และชมรมผู้นำ อช.

          3. สนับสนุนให้ครัวเรือนเป้าหมายของทุกหมู่บ้านทำอาชีพในลักษณะของกลุ่มอาชีพ เพื่อความยั่งยืนของกิจกรรม

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. กลไกการขับเคลื่อนทุกระดับต้องมีความเข้าใจในเป้าหมาย , แนวทางและกระบวนการทำงานที่ถูกต้อง และมีทัศนคติที่ดีต่องานส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน

                   2. ปราชญ์สัมมาชีพชุมชนต้องมีทักษะในการถ่ายทอด

                   3. ต้องมีการต่อยอดกิจกรรมจากภาคีการพัฒนา ทั้งเรื่องการสนับสนุนงบประมาณ ,การพัฒนาอาชีพและจัดหาตลาดจำหน่ายสินค้า 

อุปกรณ์ ->

1.การคัดเลือกวิทยากรปราชญ์สัมมาชีพชุมชนต้องคัดเลือกจากผู้ที่ประสบความสำเร็จจากการประกอบอาชีพและมีความพร้อมในการถ่ายทอดความรู้จริง ๆ

2.อย่าลัดขั้นตอนในการดำเนินงานตามกระบวนงาน

กระบวนการ/ขั้นตอน->

          1. อาชีพที่ใช้ในการฝึกอบรมของครัวเรือน ควรเป็นอาชีพที่สามารถต่อยอดและทาได้อย่างต่อเนื่องภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่ของชุมชน

                   2. วิทยากรสัมมาชีพชุมชนในหมู่บ้านต้องมี่ทักษะในการถ่ายทอด และมีความเชี่ยวชาญในการทำอาชีพที่คัดเลือก

                   3. เจ้าหน้าที่จะต้องมีส่วนร่วมในการดำเนินงานทุกกระบวนการ

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดขอนแก่น
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา