เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคการทอผ้าและแปรรูปผ้า

โดย : นายอ่อนศรี คำวงษ์ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-06-30-10:15:27

ที่อยู่ : 80 หมู่ที่ 4 ตำบลดอนช้าง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เนื่องจากผ้าไหม มีราคาค่อนข้างสูง เพราะมีขั้นตอนการผลิตที่ยาก และซับซ้อน ต้องอาศัยความปราณีตในการทอ เมื่อทอเสร็จจะได้ผ้าไหมที่มีความสวยงาม เหมาะสำหรับการใส่ในโอกาสสำคัญ ๆ เช่น การบวช งานแต่งงาน และงานบุญต่างๆ เป็นต้น

วัตถุประสงค์ ->

- จัดทีมวิทยากรสัมมาชีพ ชุมชนระดับหมู่บ้าน พร้อมมอบหมายภารกิจ หน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน กำกับและ ติดตามครัวเรือนเป้าหมาย ที่ผ่านการอบรมอาชีพ ซึ่ง เรียกว่า “ครัวเรือน สัมมาชีพชุมชน” โดย 1 หมู่บ้านให้แบ่งสัดส่วนของ ทีมวิทยากรสัมมาชีพ ชุมชน 1 คน ต่อ ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน 4 ครัวเรือน

 - ทบทวนและจัดทำ แผนปฏิบัติการฝึกอบรม อาชีพและส่งเสริม สนับสนุน กำกับและ ติดตามครัวเรือนเป้าหมาย ที่ผ่านการอบรมอาชีพ ซึ่ง เรียกว่า “ครัวเรือน สัมมาชีพชุมชน

- ทีมวิทยากร สัมมาชีพชุมชน ระดับหมู่บ้านร่วมกัน วิเคราะห์ข้อมูลความ ต้องการอาชีพจาก แบบความต้องการ ฝึกอาชีพของคนใน ชุมชนที่ได้สำรวจไว้ แล้ว โดยจัดกลุ่ม ความต้องการอาชีพ แล้วจึงวิเคราะห์ให้ เชื่อมโยงกับตลาด สร้างผลผลิต สร้าง ผลิตภัณฑ์เข้าสู่ ระบบ OTOP และ กำหนดการดำเนินงานของ บริษัทประชำรัฐรัก สามัคคี ขอนแก่น จำกัด

 – จัดเตรียมพื้นที่ ฝึกอบรม พื้นที่ดูงาน วัสดุ/อุปกรณ์ การสร้างสัมมาชีพ ชุมชน

โดยมีวิธีการขั้นตอนดังนี้

๑. การมัดลายมัดหมี่

            หลังจากเลือกลายที่จะนำมาเป็นแบบในการมัดหมี่ได้แล้ว ให้นำลายวางซ้อนทับหัวหมี่ที่เตรียมไว้ เลือกตำแหน่งที่พอดีและสวยงามแล้วใช้ดินสอเขียนจุดซ้าย – ขวา ที่ลำหมี่ให้เป็นข้อ ๆ

. วิธีการมัดหมี่  หลังจากลอกลายแล้ว   ใช้เชือกฟางมามัดให้แน่นเพื่อป้องกันสีซึม    เข้าในข้อหมี่ หลังจากมัดเสร็จก็จะได้ลายที่ต้องการทันที

การมัดโอบหมี่

การมัดโอบคือ การมัดหมี่ครั้งที่สองเพื่อเก็บสีลายจากการมัดครั้งที่หนึ่งไว้ หลังจากการมัดโอบเสร็จแล้วนำหัวหมี่มาย้อมเป็นครั้งที่ 2 เพื่อจะให้หมี่เป็นลายอีก  สีหนึ่งขั้นตอนการย้อมโอบ จะทำอยู่หลายครั้งเมื่อต้องการลวดลายหลากหลายสี ขึ้น  อยู่กับลายที่จะนำมามัดหรือสีสันที่ต้องการ  

 ๔.  การย้อมสี 

         ขั้นตอนการย้อมสี

        ๑. การย้อมสีธรรมชาติ

            ๑.๑  การย้อมเครือหูกให้ต้มน้ำสีที่สกัดจากธรรมชาติประมาณ 5 ลิตรตามต้องการและนำเครือไหมลงย้อมในหม้อ ส่วนการย้อมปอยเพื่อกรอเป็นหลอดไว้ทอผ้า ถ้าจะให้เกิดสีมีเงาสวยงามควรเลือกคนละ สีจากเครือหูก

            ๑.๒  ค่อย ๆ เร่งความร้อนขึ้นจนเดือด หมั่นพลิกฝ้ายกลับไปกลับมาเพื่อป้องกันสีด่าง

            ๑.๓  ใช้เวลาประมาณ ๑ ชั่วโมง นำออกผึ่งลมให้แห้งแล้งน้ำให้สะอาด 

      ๒.  การย้อมสีเคมี

           - การย้อมฝ้ายโดยใช้สีเคมีสำเร็จ สามารถทำได้เช่นเดียวกันกับวิธีการย้อมสีจากธรรมชาติ แต่ควรลด เวลาในการย้อมลงเหลือ   ๔๐-๕๐  นาทีเท่านั้น

 . ขั้นตอนการปั่นหลอด หรือกรอหมี่

๑.     แก้หมี่ที่มัดเป็นเปราะ ๆ ออกก่อน ( การแก้หมี่ คือการแก้เชือกฟางที่มัดให้เป็นลวดลายต่าง ๆ ออกให้หมด )

 

 

 ๒. นำปอยหมี่ที่แก้เสร็จ ขึงใส่กง แล้วดึงเงื่อนไหมมาผูกติดกับหลอดที่อยู่เข็มไน ใช้มือปั่นหลา หรือไน

โดยการหมุนเวียนซ้ายไปตลอด

๒.     เมื่อครบขีนของลายทันที แล้วปลดออกจากหลาหรือไนเก็บไว้เพื่อทอต่อไป

.ขั้นตอนการสืบหูก

๑.   นำเครือไหมที่ย้อมสีเสร็จแล้ว มากางเพื่อดึงให้เส้นไหมตึงเท่ากัน

๒.   นำเครือไหมที่ตึงเท่ากันแล้วมาต่อใส่ฟืม โดยการผูกติดกับกกหูก  ( กกหูก คือ ปมผ้าไหมเดิมที่ทอติดไว้กับฟืมโดยไม่ตัดออกเพื่อที่จะต่อเครือหูกไว้ทอครั้งต่อไป )

. วิธีการกางหูก

๑. นำฟืมที่สืบเครือหูกแล้วไปกางใส่กี่ โดยดึงเส้นไหมตึงสม่ำเสมอทุกเส้น

๒. หูกที่กางเสร็จแล้วจะต้องเรียงเส้นฝ้ายหลังฟืม โดยแยกเส้นฝ้ายออกไม่ให้ติดกันความยาวประมาณ 1 เมตร

13

 

๓. นำไม้หลาวกลม 2 อัน เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.5 ซม.      มาสอดคั่นให้เส้นฝ้ายของ เครือหูกไขว้กันเป็นกากบาทอยู่ หลังฟืม เพื่อให้เลื่อนฟืมไปข้างหน้าในเวลาทอได้สะดวก

๘. ขั้นตอนในการทอผ้า 
         ๑. สืบเส้นด้ายยืนเข้ากับแกนม้วนด้ายยืน และร้อยปลายด้ายแต่ละเส้นเข้าในตะ กอแต่ละชุดและฟันหวี ดึงปลายเส้นด้ายยืนทั้งหมดม้วนเข้ากับแกนม้วนผ้าอีกด้านหนึ่ง ปรับความตึงหย่อนให้พอเหมาะ กรอด้ายเข้ากระสวยเพื่อใช้เป็นด้ายพุ่ง
         ๒. เริ่มการทอโดยกดเครื่องแยกหมู่ตะกอ เส้นด้ายยืนชุดที่ 1 จะถูกแยก ออกและเกิดช่องว่าง สอดกระสวยด้ายพุ่งผ่าน สลับตะกอชุดที่ 1 ยกตะกอชุดที่ 2 สอดกระสวยด้ายพุ่งกลับ ทำสลับกันไปเรื่อย ๆ
         ๓. การกระทบฟันหวี ( ฟืม ) เมื่อสอดกระสวยด้ายพุ่งกลับก็จะกระทบ ฟันหวี เพื่อให้ด้ายพุ่งแนบติดกัน ได้เนื้อผ้าที่แน่นหนา
         ๔. การเก็บหรือม้วนผ้า เมื่อทอผ้าได้พอประมาณแล้วก็จะม้วนเก็บใน แกนม้วนผ้า โดยผ่อนแกนด้ายยืนให้คลายออกและปรับความตึงหย่อนให้พอเหมาะ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

  •  ปราชญ์ชุมชนออกแบบการเรียนรู้และสามารถถ่ายทอดความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านระบบการสื่อสารทางอินเตอร์เน็ต สร้างกลุ่ม Line, Facebook

  มีการบันทึกครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนตัวอย่าง หรือนวัตกรรมขึ้นในฐานข้อมูลปฏิบัติการ

  •            มีการสื่อสารผ่านช่องทางออนไลน์ ของปราชญ์ชุมชนเพื่อเชื่อมโยงการผลิตการตลาดให้แพร่หลาย     ๔.๕ เกิดการสร้างงานสร้างอาชีพ  หรือนวัตกรรม หรือกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตในหมู่บ้านเป้าหมาย

อุปกรณ์ ->

เส้นไหมที่นำมาทอจะเลือกคัดอย่างดีเส้นไหมต้องละเอียดและสม่ำเสมอ ที่สำคัญผ้าไหมสีไม่ตก โดยมีเคล็ดลับการย้อม ขณะย้อมจะใส่เกลือหรือน้ำส้มสายชู จำนวน ๑ ช้อนโต๊ะ ใส่หม้อย้อมที่น้ำกำลังเดือดตั้งไฟทิ้งไว้ประมาณ ๑๐ นาที ยกไหมลงมาล้างและทำขั้นตอนการผลิตจนกว่าจะได้ผ้าไหมที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน

กระบวนการ/ขั้นตอน->

- ออกแบบการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมกับกลุ่มเป้าหมายผ่านระบบการสื่อสารทางอินเตอร์เน็ต

- ทีมสนับสนุนร่วมติดตามสนับสนุนการการจัดการเรียนรู้ของปราชญ์สัมมาชีพชุมชนและผู้เกี่ยวข้อง

     - ร่วมกิจกรรม AAR เพื่อปรับปรุงฐานข้อมูลการถ่ายทอดครัวเรือนสัมมาชีพ ผู้ประกอบการ OTOP 

       รัฐให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจากหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกหน่วยงาน รวมทั้งการสนับสนุนปัจจัยการผลิต การลงทุน การแปรรูป การตลาด

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดขอนแก่น
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา