เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

เทคนิคการเป็นวิทยากรสัมมาชีพ

โดย : นายเมฆ จันทร์โนราช ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-06-29-22:25:47

ที่อยู่ : ม.2 ต.โนนศิลา

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การส่งเสริมการขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพชุมชน โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามแผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็งของรัฐบาล ซึ่งตอบสนองนโยบายรัฐบาลเรื่อง การลดความเหลื่อมล้าทางสังคมและการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐ จากพื้นที่หมู่บ้านเป้าหมายที่ผ่านการให้การศึกษาด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การสำรวจข้อมูลและจัดเวทีประชาคมทาแผนชุมชนในปี ๒๕๕๙ ตามแผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคการเกษตรและชนบท ซึ่งได้กาหนดกระบวนการขับเคลื่อนที่เริ่มต้นด้วยการพัฒนาทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับปราชญ์ชุมชน เพื่อให้กลับไปสร้างทีม และจัดฝึกอบรมอาชีพให้กับครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพในหมู่บ้าน โดยใช้พื้นที่ในบ้านปราชญ์ชุมชนหรือศูนย์เรียนรู้ชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ เพื่อมุ่งหมายให้ครัวเรือนที่เข้ารับการฝึกอาชีพมีความรู้ และปฏิบัติอาชีพได้จริง จนพัฒนาเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน และต่อยอดสู่การรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพที่มีความเข้มแข็งต่อไป

วัตถุประสงค์ ->

) เตรียมความพร้อมข้อมูลปราชญ์ชาวบ้านในการฝึกอบรมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน โดยการสำรวจข้อมูลปราชญ์ชาวบ้านและจัดทาทะเบียนข้อมูลปราชญ์ชาวบ้านและจัดทำทะเบียนข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

(๒) คัดเลือกปราชญ์ชาวบ้านหรือผู้ประสบความสำเร็จหรือเชี่ยวชาญในอาชีพ ที่พร้อมเข้ารับ การอบรมเป็นวิทยากรผู้ถ่ายทอดสัมมาชีพ

(๓) วิทยากรสัมมาชีพชุมชนกลับไปสร้างทีมในหมู่บ้าน โดยการคัดเลือกปราชญ์ชุมชนหมู่บ้านละ ๔ คน เพื่อสร้างทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน

(๔) ศึกษาแนวทางการสร้างสัมมาชีพชุมชนจากเอกสารแนวทางสร้างสัมมาชีพชุมชน ของกรมการพัฒนาชุมชนและเตรียมประสานพื้นที่ดาเนินการ ประสานผู้นาชุมชนเตรียมพื้นที่ในการดำเนินการสร้างสัมมาชีพชุมชน

.๒ ขั้นตอนดำเนินการ

- สร้างความรู้ ความเข้าใจการสร้างสัมมาชีพชุมชนและสร้างทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ถ่ายทอดความรู้ เทคนิค ของการเป็นวิทยากรผู้นาสัมมาชีพ และจัดทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน พร้อมมอบหมายภารกิจหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน กำกับและติดตามครัวเรือนเป้าหมายที่ผ่านการอบรมอาชีพ ซึ่งเรียกว่า “ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน”

- เตรียมความพร้อมครัวเรือนเป้าหมายที่จะเข้ารับการอบรมอาชีพ ทบทวนความต้องการของครัวเรือนเป้าหมาย ว่ายังมีความสนใจหรือต้องการฝึกอาชีพ หรือเปลี่ยนแปลงอาชีพหรือไม่ และกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มการติดตามครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน

- ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูล ความต้องการอาชีพจากแบบความต้องการฝึกอาชีพของคนในชุมชนที่ได้สำรวจไว้แล้ว โดยจัดกลุ่มความต้องการอาชีพ สอดคล้องกับความรู้ ที่ปราชญ์ชุมชนในหมู่บ้านจะถ่ายทอด หรือจากการศึกษาดูงานบ้านปราชญ์ชุมชน หรือมีแหล่งเรียนรู้ที่สะดวกต่อการเรียนรู้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

) วิทยากรสัมมาชีพชุมชนได้รับเลือกและยอมรับจากเวทีประชาคมของหมู่บ้าน มีความเป็นผู้นา มีจิตอาสา มีความรู้ความสามารถและทักษะในการถ่ายทอดความรู้ และมีประสบการณ์ในการประกอบอาชีพ

(2) ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน ให้ความสำคัญ เอาใจใส่ และรับผิดชอบการดาเนินการตามโครงการในทุกขั้นตอน

(3) อาชีพที่ชุมชนเลือก เป็นอาชีพที่เกิดจากความต้องการของชุมชนเองบนพื้นฐานของความรู้ และสอดรับกับทุนที่มีในชุมชน รวมทั้ง การคัดเลือกครัวเรือนสัมมาชีพเป้าหมาย ที่สมัครใจ มีความพร้อม และความตั้งใจจริงในการ ฝึกอาชีพ

(4) เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ติดตามสนับสนุนอย่างใกล้ชิด และสนับสนุนองค์ความรู้ต่างๆ

อุปกรณ์ ->

) ความพร้อมของเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ต้องศึกษาข้อมูลการดาเนินงานแนวทางสัมมาชีพชุมชนให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจน เพื่อจะได้นำไปดาเนินการในระดับพื้นที่ให้เกิดประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล รวมทั้งกำหนดแผนการดำเนินกิจกรรม/โครงการให้ชัดเจน

(๒) คัดเลือกปราชญ์ชุมชน ต้องเป็นปราชญ์ที่มีองค์ความรู้ที่เหมาะสมกับบริบทของชุมชน และคนในชุมชนสนใจ สามารถต่อยอดให้เกิดการพัฒนาเป็นอาชีพได้

 (๔) ให้การสนับสนุนกิจกรรมผ่านกระบวนการถ่ายทอด การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และศึกษาผ่านระบบเครือข่ายออนไลน์ต่างๆ เพื่อศึกษาขั้นตอนกระบวนการในการประกอบอาชีพประเภทเดียวกัน หรือมีความใกล้เคียงกัน เพื่อนามาประยุกต์ใช้ในหมู่บ้านชุมชน

(5) ติดตามสนับสนุน และเยี่ยมเยียนให้กาลังใจแก่ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนและครัวเรือนเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง ยกย่องการขับเคลื่อนกิจกรรมที่น่าสนใจ และประชาสัมพันธ์กิจกรรมเพื่อสร้างกระแสการขับเคลื่อนผ่านสื่อสังคมออนไลน์

(6) สร้างความมั่นใจแก่ทีมวิทยากร โดยการให้เกียรติ ยกย่องให้เป็นผู้รู้ มีความสามารถเป็นบุคคลสำคัญในการขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพชีพชุมชน เป็นแกนหลักในการสร้างอาชีพ และทำให้หมู่บ้านมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยกระบวนการชาวบ้านสอนชาวบ้าน

(7) การส่งเสริมอาชีพ ต้องเป็นอาชีพที่สามารถทำรายได้ และอยู่รอดได้จริงในชุมชน และเป็นอาชีพที่สามารถแข่งขันได้ทั้งตลาดภายในชุมชน และภายนอกชุมชน

กระบวนการ/ขั้นตอน->

0

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดขอนแก่น
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา