เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

เทคนิคการสร้างสัมมาชีพชุมชน

โดย : นายพิชิต แสงมี ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-06-19-22:57:17

ที่อยู่ : 94/1 ม.13 ต.หนองกุงธนสาร

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพของประชาชน ในภาคการเกษตรในชุมชนมีภาวะความเสี่ยงเกิดจากการประกอบอาชีพเกษตรแบบดั่งเดิมเช่นปลูกพืชเชิงเดี่ยว ราคาผลิตตกต่ำ ประชาชนไม่มีอาชีพเสริมหลังฤดูเก็บเกี่ยว ดังนั้นการแก้ไขปัญหาการดังกล่าวเพื่อให้ประชาชนลดรายจ่ายในครัวเรือนให้ได้มากที่สุด และสามารถมีรายได้เล็กๆน้อยๆตลอดทั้งปี มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จึงต้องส่งเสริมการประกอบอาชีพให้คนในชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน 

          ครอบครัวประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ตั้งแต่ปี 2550 และเห็นว่าสามารถลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวได้จริง อยากให้ทุกครัวเรือนหันมาสนใจและดำรงชีวิตตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงอย่างจริงจัง เพื่อความเป็นอยู่ของครัวเรือนจะได้ดีขึ้น

วัตถุประสงค์ ->

1.      ศึกษา ขั้นตอน วิธีการขับเคลื่อนกิจกรรมของวิทยากรสัมมาชีพชุมชนในหมู่บ้าน

2.      ถ่ายทอด แนวทางการขับเคลื่อนที่ไปฝึกอบรมมาให้ทีมวิทยากรสัมมาชีพอีก 4 คนทำความเข้าใจ

ร่วมกัน วางแผนการดำเนินงานร่วมกัน

          3.คัดเลือกครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพ  โดยพิจารณาจากข้อมูล จปฐ. เลือกครัวเรือนที่มีรายได้ไม่ผ่านเกณฑ์ จปฐ.ก่อนเป็นลำดับแรก และจะต้องเป็นครัวเรือนที่อาสาสมัครจะเข้าร่วมโครงการ

          4.คณะวิทยากรสัมมาชีพชุมชนร่วมกับครัวเรือนสัมมาชีพร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลของชุมชน /ครัวเรือนเป้าหมาย ความต้องการด้านอาชีพ

          5. นำความต้องการด้านอาชีพมาพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในการประกอบอาชีพนั้นๆ สามารถสร้างรายได้ได้จริง ซึ่งต้องเชื่อมโยงกับการตลาด สอดคล้องกับความรู้ ทรัพยากรที่ชุมชนมี

          6.ประสานภาคีเครือข่ายในการเข้ามาบูรณาการการทำงานร่วมกัน

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

1.      การคัดเลือกครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนที่มีจิตอาสา เป็นผู้มีความไฝ่รู้ มีความกระตือรือร้นในการจะ

ประกอบสัมมาชีพเพื่อเป็นแบบอย่างของครัวเรือนอื่นๆในหมู่บ้าน

2.      ได้รับการสนับสนุนจากผู้นำชุมชน ภาคีเครือข่าย และสำนักงานพัฒนาชุมชนในการติดตาม

สนับสนุนการทำงานอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง

          3.ครัวเรือนที่ร่วมโครงการฯมีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ และศรัทธาในทีมวิทยากร

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.      การคัดเลือกครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนที่มีจิตอาสา เป็นผู้มีความไฝ่รู้ มีความกระตือรือร้นในการจะ

ประกอบสัมมาชีพเพื่อเป็นแบบอย่างของครัวเรือนอื่นๆในหมู่บ้าน

2.      ได้รับการสนับสนุนจากผู้นำชุมชน ภาคีเครือข่าย และสำนักงานพัฒนาชุมชนในการติดตาม

สนับสนุนการทำงานอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง

          3.ครัวเรือนที่ร่วมโครงการฯมีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ และศรัทธาในทีมวิทยากร

อุปกรณ์ ->

1.อาชีพที่เลือกจะต้องเป็นอาชีพที่ชุมชนมีภูมิความรู้เป็นพื้นฐาน

          2.ครัวเรือนเป้าหมายต้องสามารถกำหนดกิจกรรม  แนวทางการทำงานเองได้

          3.กลุ่มอาชีพจะต้องมีการแบ่งหน้าที่การรับผิดชอบที่ชัดเจนและแต่ละคนได้เลือกทำในบทบาท หน้าที่ที่ตนเองชอบและถนัด

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การเป็นครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน จะต้องเป็นบุคคลที่อาสาสมัครเข้ามาร่วมโครงการตั้งแต่แรก ไม่ใช่เป็นครัวเรือนที่รับการคัดเลือกอย่างเดียว  เนื่องจากคนที่จะขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชนเข้ามาเป็นกิจวัตรประจำวัน หรือกิจวัตรของครัวเรือนได้นั้นจะต้องมีใจรัก จะทำให้ทำด้วยความสุข มีความมุ่งมั่นตั้งใจ และสามารถเป็นแบบอย่างและขยายผลไปสู่ครัวเรือนอื่นๆได้

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดขอนแก่น
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา