เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

เทคนิคการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน

โดย : นางนิตยา ศรีสุระ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-06-16-19:11:37

ที่อยู่ : สพอ.หนองเรือ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

กรมการพัฒนาชุมชน ได้กำหนดวาระกรมการพัฒนาชุมชน ปี 2560(CDD Agenda 2017) ปัจจัยขับเคลื่อนหลักหนึ่ง การพัฒนาอาชีพครัวเรือน ด้วยการส่งเสริมการขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพชุมชนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ในพื้นที่ เป้าหมาย จำนวน 23,589 หมู่บ้าน ต้องทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยการสร้างอาชีพจึงเป็นที่มาของ “สัมมาชีพชุมชน” ซึ่งกำหนดแผนการสร้างสัมมาชีพชุมชนบนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีเป้าหมาย คือ ประชาชนได้รับการพัฒนาอาชีพและมีรายได้ ซึ่งจังหวัดขอนแก่น มีชุมชนเป้าหมาย 26  อำเภอ จำนวน 528  หมู่บ้าน และอำเภอหนองเรือ มีหมู่บ้านเป้าหมาย จำนวน 29  หมู่บ้าน มีโดยค้นหาความต้องการที่แท้จริงของชุมชน โดยใช้องค์ความรู้จากปราชญ์ชุมชนที่มีอยู่ในพื้นที่ ให้ความรู้ในสิ่งที่ขาวบ้านอยากทำ ฝึกปฏิบัติจริงให้สามารถนำไปเป็นอาชีพได้ โดยมีพี่เลี้ยงที่เป็นเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน หน่วยงานภาคีและ ปราชญ์ชุมชนคอยดูแลแนะนำจนประสบผลสำเร็จ  ดังคำที่ว่า  “ทำด้วยใจ แล้วเราเดินไปด้วยกัน”  เพื่อเป็นการเสริมสร้างความรู้  ความเข้าใจในการดำเนินงานขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพชุมชนแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องในทุกภาคส่วนได้เข้าใจมากขึ้น จึงเป็นที่มาของการจัดการองค์ความรู้ในเรื่อง เทคนิคการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน

วัตถุประสงค์ ->

                     ในการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน มีกระบวนการและขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้

                   1  ขั้นเตรียมการ

                   1.1นักวิชาการจัดเตรียมความพร้อมข้อมูลปราชญ์ชาวบ้านในการฝึกอบรมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน โดยการสำรวจข้อมูลปราชญ์ชาวบ้านและจัดทำทะเบียนข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

1.2ประสานการคัดเลือกปราชญ์ชาวบ้านหรือผู้ประสบความสำเร็จหรือเชี่ยวชาญในอาชีพ ที่พร้อมเข้ารับ การอบรมเป็นวิทยากรผู้ถ่ายทอดสัมมาชีพ จำนวน  1คน จากเวทีประชาคม เข้าอบรมการพัฒนาทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับปราชญ์ชุมชน (วิทยากรสัมมาชีพชุมชน)

                   1.3การประสานวิทยากรสัมมาชีพชุมชนกลับไปสร้างทีม โดยคัดเลือกปราชญ์ชุมชนเข้าร่วมเพิ่มเติมอีกหมู่บ้านละ 4  คน   รวมเป็น 5 คน  (ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน)

1.4การศึกษาแนวทางการสร้างสัมมาชีพชุมชนจากเอกสารแนวทางสร้างสัมมาชีพชุมชน

ของกรมการพัฒนาชุมชนและเตรียมประสานพื้นที่ดำเนินการ ประสานผู้นำชุมชนเตรียมพื้นที่ในการดำเนินการสร้างสัมมาชีพชุมชน

          2  ขั้นตอนดำเนินการ
                              2.1ร่วมกับวิทยากรสัมมาชีพชุมชน ปรึกษาหารือเพื่อวางแผน ออกแบบ วิธีการจัดประชุมฯ และจัดทาเอกสาร เตรียมสื่อที่จำเป็นและเกี่ยวข้องกับการดาเนินกิจกรรม

                             2.2  ดำเนินการจัดประชุมเตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับจังหวัด และประสานการเตรียมการในระดับหมู่บ้าน

                             2.3  ดำเนินงานโครงการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน โดยมีขั้นตอนการประสานและสนับสนุนทีมวิทยากร และจัดทำเป็นปฏิทินสนับสนุนการจัดฝึกอบรมสัมมาชีพชุมชนให้หมู่บ้านตามโครงการ สังเคราะห์ข้อมูลอาชีพ รวมถึง ทักษะพื้นฐาน (ทุนเดิม)

          2.4  สนับสนุนทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ดำเนินการส่งเสริมให้ครัวเรือนนำอาชีพที่ได้ฝึกปฏิบัติไปประกอบอาชีพหรือพัฒนาอาชีพ ให้ก่อเกิดเป็นอาชีพและมีรายได้หรือลดรายจ่ายได้อย่างต่อเนื่อง

                   2.5 การสนับสนุนขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบตามแนวทางของกรมการพัฒนาชุมชน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

    ในการเพิ่มศักยภาพและสนับสนุนการทำงานของสัมมาชีพชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ต้องอาศัยองค์ประกอบในเรื่องต่อไปนี้

1 ความรู้แนวคิดของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ความรู้ในงานพัฒนาชุมชน

เทคนิคการทำงาน กระบวนการพัฒนาชุมชน การบริหารจัดการชุมชน ศูนย์เรียนรู้ชุมชนสมบูรณ์แบบ การพัฒนาความรู้ด้านอาชีพ ความรู้ด้านนวัตกรรมใหม่ๆองค์ความรู้ที่จำเป็นในการทำงาน

    2 วัสดุ – อุปกรณ์ เครื่องมือในการทำงานเพื่อส่งเสริมให้หมู่บ้านเป้าหมายพัฒนาตนเองสู่การเป็น

ศูนย์เรียนรู้ เช่น แนวทาง เอกสาร/คู่มือในการปฏิบัติงาน

3การแสวงหางบประมาณ แบบบูรณการโครงการ/กิจกรรมฯ

4การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหมู่บ้านเป้าหมายสม่ำเสมอต่อเนื่อง เพื่อติดตามผลการ

ดำเนินงานตามแผนของทีมงาน รับทราบปัญหา อุปสรรคในการทำงาน และเป็นการปรับปรุงวิธีการทำงานตามบริบทของพื้นที่

5 ประเมินผลการปฏิบัติงานของทีมงาน และสรุปผลการดำเนินงาน และปรับปรุงแก้ไข

          4.  ปัจจัยที่ส่งผลให้ประสบผลสำเร็จ

                   1. ความหมั่นศึกษาหาความรู้ และความเอาใจใส่ในทุกองค์ประกอบ ที่จำเป็นในการขับเคลื่อนโครงการนำมาซึ่งผลสำเร็จของโครงการ

                   2.  การให้ความสำคัญกับทุกกระบวนงานตั้งแต่เริ่มต้น-สิ้นสุด เป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จของโครงการ

                   3.  การนำข้อมูลที่มีในชุมชนมาเป็นฐานในการวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาของคนในชุมชน โดยคนในชุมชนเป็นแกนนำ เป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาของชุมชน

                   4.  การน้อมนำหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไปประยุกต์ใช้ในทุกระดับ เพื่อให้เกิดความสมดุล มั่งคั่ง และยั่งยืน

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดขอนแก่น
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา