เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน

โดย : นายเศรษฐวัฒน์ อุทรส ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-06-09-14:13:34

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ตามแผนงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็ง กรมการพัฒนาชุมชนได้รับมอบหมายจากกระทรวงมหาดไทย เป็นหน่วยงานหลักในการนำนโยบายไปบูรณาการสู่แนวทางปฏิบัติ  โดยเน้นการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในการประกอบอาชีพ เป็นการเสริมโอกาสให้กับประชาชนในระดับล่างมีอาชีพที่มั่นคง มีรายได้ที่พอเพียง สร้างอาชีพที่มีอยู่ในชุมชนให้ผู้ที่มีความรู้ความชำนาญที่ประกอบอาชีพอยู่ในชุมชนจนประสบความสำเร็จ หรือที่เราเรียกว่าปราชญ์ชาวบ้านเป็นผู้ให้คำแนะนำ อบรม สั่งสอน ให้กับเกษตรกรที่มีความประสงค์ที่ต้องการจะประกอบอาชีพตามปราชญ์ชุมชน ซึ่งเรียกว่าสัมมาชีพชุมชนบนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่มีเป้าหมาย คือประชาชนได้รับการพัฒนาอาชีพและมีรายได้ ซึ่งกรมการพัฒนาชุมชนได้กำหนดเอาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน  ๒๓,๕๘๙ หมู่บ้าน รวม ๔๗๑,๗๘๐ ครัวเรือน หรือคิดเป็น ๒๐ เปอร์เซ็นต์ ของจำนวนหมู่บ้านทั้งประเทศ โดยให้ปราชญ์ชุมชนเป็นผู้สอนชาวบ้านในสิ่งที่เขาอยากทำ ฝึกปฏิบัติจริงจนสามารถนำไปประกอบเป็นอาชีพได้  เพื่อให้การนำนโยบายสู่การปฏิบัติบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ประชาชนมีอาชีพและมีรายได้อย่างแท้จริง  เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนทุกระดับ รวมทั้งปราชญ์ชาวบ้าน จึงต้องเข้ารับการอบรมชี้แจงทำความเข้าใจทั้งกระบวนการ เพื่อเพิ่มทักษะด้านการถ่ายทอดความรู้และจัดกระบวนการสัมมาชีพชุมชน  ให้สามารถกลับไปส่งเสริมและให้คำแนะนำ ช่วยเหลือในระดับหมู่บ้านได้อย่างมีคุณภาพ

วัตถุประสงค์ ->

อำเภอชุมแพ  มีหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงที่ได้รับการสนับสนุนจากกรมการพัฒนาชุมชน  ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย รวม ๑๑  ตำบล/ ๒๒ หมู่บ้านประกอบด้วย

                             1 บ้านสุขสมบูรณ์  หมู่ที่  13  ตำบลหนองไผ่

                             2. บ้านหนองบัว  หมู่ที่  5  ตำบลชุมแพ

                             3. บ้านเชิญ  หมู่ที่  6  ตำบลชุมแพ

                             4. บ้านหนองผือ  หมู่ที่  7  ตำบลนาเพียง

                             5. บ้านหนองศาลา  หมู่ที่  3  ตำบลหนองเสาเล้า

                             6. บ้านสุขสมบูรณ์  หมู่ที่  5  ตำบลหนองเสาเล้า

                             7. บ้านนาคำน้อย  หมู่ที่  ๓  ตำบลวังหินลาด

                             8. บ้านหนองบัว  หมู่ที่  3  ตำบลโนนสะอาด

-๒-

 

                             9. บ้านสนามบิน  หมู่ที่  7  ตำบลโนนสะอาด

                             10. บ้านโนนทองหลาง  หมู่ที่  4  ตำบลไชยสอ

                             11. บ้านหนองเขียด  หมู่ที่  1  ตำบลหนองเขียด

                             12. บ้านหนองหนามแท่ง  หมู่ที่  ๘  ตำบลหนองเขียด

                             13. บ้านโนนทองหลาง  หมู่ที่  2  ตำบลนาหนองทุ่ม

                             14. บ้านดอน  หมู่ที่  ๑  ตำบลโนนอุดม

                             15. บ้านหอย  หมู่ที่  2  ตำบลโนนอุดม

                             16. บ้านบัวสิมมา  หมู่ที่  5  ตำบลโนนอุดม

                             17. บ้านโนนอุดม  หมู่ที่  6  ตำบลโนนอุดม

                             18. บ้านโนนอุดม  หมู่ที่  7  ตำบลโนนอุดม

                             19. บ้านหินตั้ง  หมู่ที่  9  ตำบลโนนอุดม

                             20. บ้านหอย  หมู่ที่  11  ตำบลโนนอุดม

                             21. บ้านนาสีนวน  หมู่ที่  1  ตำบลขัวเรียง

                             22. บ้านโคกม่วง  หมู่ที่  7  ตำบลขัวเรียง

พิจารณาคัดเลือกปราชญ์ผู้ที่มีความรู้ความชำนาญ

ในสาขาแต่ละอาชีพ  เมื่อได้รับฝึกการอบรมแล้วสามารถกลับมาถ่ายทอดสู่ชุมชนได้ โดยคัดเลือกปราชญ์จากหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง บ้านละ ๑ คน รวม ๒๒ คน เข้ารับการฝึกอบรมทักษะ เทคนิค และวิธีการถ่ายทอดความรู้ที่ตนเองมีไปสู่ชุมชน ที่ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนจังหวัดอุดรธานี เป็นเวลา ๔ วัน

                   จากนั้นต้องไปสร้างทีมวิทยากรในชุมชนอีก ๔ คน รวมทีมวิทยากรซึ่งประกอบด้วยปราชญ์ชาวบ้าน ๕ คน เพื่อแบ่งหน้าที่รับผิดชอบครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน อีกคนละ ๔ ครัวเรือน ทั้งหมด ๒๐  ครัวเรือน ซึ่งในการสร้างทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนนั้น  ปราชญ์ที่ได้รับการคัดเลือกจะต้องผ่านเวทีประชาคมในการคัดเลือกปราชญ์ของหมู่บ้าน และปราชญ์สัมมาชีพชุมชนที่ได้รับการคัดเลือกใหม่อีก ๔  คน จะต้องผ่านการฝึกอบรมจากทีมวิทยากรของอำเภอซึ่งมีวิทยากรสัมมาชีพชุมชนที่ผ่านการฝึกอบรมจากศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนจังหวัดอุดรธานีรวมอยู่ด้วย เป็นเวลา ๓ วัน  ซึ่งภายใน ๓ วัน  สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอชุมแพ ได้มอบหมายภารกิจให้ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนแต่ละหมู่บ้านวิเคราะห์และคัดเลือกครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนเป้าหมายให้ได้ครบทั้ง  ๒๐ ครัวเรือน โดยให้ยึดผู้มีรายได้น้อยจากการสำรวจข้อมูล จปฐ. เป็นอันดับต้น ๆ  เพื่อจะนำไปกำหนดการฝึกอบรมครัวเรือนเป้าหมายโดยทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านให้เป็นไปตามไตรมาตรที่กำหนดไว้ รวม ๕ วัน 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดขอนแก่น
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา