เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน ม.๑๐ ต.แดงใหญ่ อ.เมือง จ.ขอนแก่น

โดย : นางสาวรสสุวรรณ์ คำอาษา ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-06-30-09:15:07

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ ๒๒๗/๑๔ ชุมชนทุ่งเศรษฐี ซอย ๕๐ ถนนประชาสโมสร ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ปัจจุบันประชาชนประสบปัญหาการประกอบอาชีพภาคการเกษตร ราคาผลผลิตตกต่ำ โรคพืช การไม่มีอาชีพหรือรายได้เสริมหลังฤดูการผลิต และยังมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มอาชีพค่อนข้างน้อย ประกอบกับมีปราชญ์ชุมชนด้านอาชีพที่เชี่ยวชาญและประสบผลสำเร็จในการประกอบอาชีพด้านต่าง ๆ อยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชน แต่มีส่วนน้อยที่สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นนำไปทำตามให้สำเร็จได้

ดังนั้น การดำเนินการในปี ๒๕๖๐ จึงมุ่งเน้นการยกระดับรายได้ที่ต้องทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นโดยการสร้างอาชีพ จึงเป็นที่มาของ “สัมมาชีพชุมชน” โดยให้ชาวบ้านสอนชาวบ้านในสิ่งที่เขาอยากทำ ฝึกปฏิบัติจริงให้สามารถไปเป็นอาชีพได้

วัตถุประสงค์ ->

1)       ชี้แจงกับวิทยากรสัมมาชีพชุมชนถึงรายละเอียด ความสำคัญ ความเป็นมากระบวนการสร้างทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน และชี้เป้าครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพ

2)       มอบหมายภารกิจให้ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน  ศึกษาขั้นตอน กระบวนการสำรวจครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพ

3)       จัดทำแนวทางการขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพชุมชน ในกระบวนการที่ต้องดำเนินการในพื้นที่เป้าหมาย ในสองกิจกรรมคือ โครงการเตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน และโครงการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน เพื่อมอบทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน นำไปเป็นแนวทางปฏิบัติ

Ø  แนวทางที่ต้องดำเนินการโครงการเตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน กลุ่มเป้าหมาย ๕ คน ระยะเวลาดำเนินการ ๓ วัน ประกอบด้วย

วันที่ ๑ ประชุมชี้แจง ความเป็นมา ความสำคัญ กระบวนการสร้างสัมมาชีพชุมชน ปราชญ์สัมมาชีพชุมชนเล่าเรื่องราวรายละเอียดที่ได้ไปอบรมหลักสูตรโครงการพัฒนาผู้นำสัมมาชีพ และความสำคัญของการประกอบอาชีพจนได้รับการคัดเลือกเป็นปราชญ์ระดับหมู่บ้าน เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้ทีมวิทยากรสัมมาชีพระดับหมู่บ้าน

วันที่ ๒ มอบหมายทีมวิทยากรลงพื้นที่ เยี่ยมครัวเรือนสัมมาชีพเป้าหมาย สร้างแรงบันดาลใจ เชิญชวนร่วมโครงการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน ทีมวิทยากรสัมมาชีพรายงานผลด้วยภาพถ่ายทาง line ทุกเหตุการณ์และสรุปผลเป็นวันรายงานผลพัฒนากรผู้รับผิดชอบหมู่บ้านเป้าหมาย

วันที่ ๓ ทีมวิทยากรสัมมาชีพระดับหมู่บ้าน ร่วมกันทบทวนและวิเคราะห์ ความเป็นไปได้ของอาชีพที่จะนำเสนอเป็นอาชีพทางเลือกของครัวเรือนสัมมาชีพ ทีมวิทยากรสัมมาชีพรายงานผลด้วยภาพถ่ายทาง line ทุกเหตุการณ์และสรุปผลเป็นวันรายงานผลพัฒนากรผู้รับผิดชอบหมู่บ้านเป้าหมาย

Ø  แนวทางที่ต้องดำเนินการโครงการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน กลุ่มเป้าหมายทีมวิทยากร ๕ คนครัวเรือนสัมมาชีพ ๒๐ คนระยะเวลาดำเนินการ ๕ วัน

วันที่ ๑  ประชุมชี้แจง ความเป็นมา ความสำคัญ กระบวนการสร้างสัมมาชีพชุมชน ปราชญ์สัมมาชีพชุมชนเล่าเรื่องราวรายละเอียดที่ได้ไปอบรมหลักสูตรโครงการพัฒนาผู้นำสัมมาชีพ และความสำคัญของการประกอบอาชีพจนได้รับการคัดเลือกเป็นปราชญ์ระดับหมู่บ้าน เพื่อชี้ให้เห็นภาพความสำคัญของการทำอาชีพว่าให้ประโยชน์อย่างไร เพื่อกระตุ้นให้เกิดความสนใจในการเรียนรู้ สร้างแรงบันดาลใจให้ครัวเรือนสัมมาชีพเกิดความเชื่อมั่นในกิจกรรมที่ร่วมดำเนินการ

วันที่ ๒ มอบใบงานให้ทีมวิทยากรระดับหมู่บ้าน(ใบงานที่ ๑ การวิเคราะห์อาชีพ  แรงบันดาล / เหตุผล ที่ทำอาชีพนี้ เล่าเรื่องราวความสำคัญ หรือความเป็นมาของอาชีพ ประโยชน์หรือดีอย่างไร(ต่อตัวเอง/ครอบครัว/ชุมชนอย่างไร) ผลผลิตของอาชีพนี้มีอะไรบ้าง ผลิตแล้วขายที่ไหนบ้าง รายได้ที่เกิดขึ้นจากอาชีพที่ดำเนินการ  ขายได้ราคาเท่าไร ต่อชิ้น และขายได้กี่บาทต่อวัน/ต่อเดือน/ต่อปี ปัจจัยแห่งความสำเร็จ (ในวิธีการทำอาชีพนี้)  สิ่งที่อยากเล่าหรืออยากรู้ ฯลฯ) ทีมวิทยากรสัมมาชีพรายงานผลด้วยภาพถ่ายทาง line ทุกเหตุการณ์และสรุปผลเป็นวันรายงานผลพัฒนากรผู้รับผิดชอบหมู่บ้านเป้าหมาย

วันที่ ๓ มอบใบงานให้ทีมวิทยากรระดับหมู่บ้าน (ใบงานที่ ๒ สาระความรู้ที่ต้องเรียนรู้รายละเอียดขั้นตอนการผลิต วัตถุดิบที่ใช้การทำอาชีพ มีอะไรบ้าง วิธีการคัดเลือกวัตถุดิบที่ใช้ จะต้องคัดเลือกอย่างไร อุปกรณ์ที่ใช้มีอะไรบ้าง ขั้นตอนหรือวิธีการผลิตทำอย่างไร เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนที่๑ จนถึงขั้นตอนสุดท้ายได้ผลผลิตออกมา การดูแลรักษาต้องทำอย่างไรบ้างเทคนิควิธีการที่ทำให้ได้ผลผลิตมากๆ ต้องทำอย่างไร ข้อพึงระวังการทำอาชีพนี้มีอะไรบ้างข้อเสนอแนะการทำอาชีพนี้ อื่นๆ ฯลฯ ทีมวิทยากรสัมมาชีพรายงานผลด้วยภาพถ่ายทาง line ทุกเหตุการณ์และสรุปผลเป็นวันรายงานผลพัฒนากรผู้รับผิดชอบหมู่บ้านเป้าหมาย

วันที่ ๔ มอบหมายทีมวิทยากร นำครัวเรือนสัมมาชีพทั้ง 20 คน เดินทางไปศึกษาดูงานเพิ่มพูนความรู้และสร้างแรงจูงใจด้านอาชีพ ณ หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงหรือศูนย์เรียนรู้ชุมชนหรือบ้านปราชญ์ชุมชนที่กำหนด ทีมวิทยากรสัมมาชีพรายงานผลด้วยภาพถ่ายทาง line ทุกเหตุการณ์และสรุปผลเป็นวันรายงานผลพัฒนากรผู้รับผิดชอบหมู่บ้านเป้าหมาย

วันที่ ๕ มอบหมายทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านดูแลการฝึกปฏิบัติอาชีพ
ณ บ้านครัวเรือนที่ต้องการฝึกอาชีพ คนละ 4 ครัวเรือน ทีมวิทยากรสัมมาชีพรายงานผลด้วยภาพถ่ายทาง line ทุกเหตุการณ์และสรุปผลเป็นวันรายงานผลพัฒนากรผู้รับผิดชอบหมู่บ้านเป้าหมาย

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

๑)  เจ้าหน้าที่เข้าไปมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน

๒)     การคัดเลือกปราชญ์สัมมาชีพที่มีองค์ความรู้ และมีความพร้อมร่วมกระบวนการสร้างสัมมาชีพชุมชน

๓)    การติดตามสนับสนุนให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิดทุกกระบวนการ

๔)    การใช้ระบบ กลุ่มline สนับสนุนการรายงานผล

๕)    ทีมวิทยากรสัมมาชีพมีความรับผิดชอบ และสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ได้อย่างละเอียดชัดเจน

๖)    ครัวเรือนสัมมาชีพมีความต้องการพัฒนาอาชีพตามความต้องการของตนเอง และมีส่วนร่วมในกิจกรรมสัมมาชีพทุกขั้นตอน

อุปกรณ์ ->

1)    การคัดเลือกปราชญ์สัมมาชีพชุมชน จะต้องคัดเลือกปราชญ์ด้านการประกอบอาชีพ ที่เป็นอาชีพที่คนส่วนใหญ่สนใจอยากเรียนรู้ และเป็นอาชีพที่ทำรายได้แก่ครัวเรือน

2)    การคัดเลือกครัวเรือนสัมมาชีพจะต้องมีความสนใจใฝ่รู้ มีความอดทน มีความรับผิดชอบและมีส่วนร่วมทุกกิจกรรม

3)    เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน จะต้องชัดเจน เข้าใจขั้นตอน/กระบวนการสร้างสัมมาชีพชุมชน

กระบวนการ/ขั้นตอน->

๑)  ควรเพิ่มงบประมาณสนับสนุนครัวเรือนสัมมาชีพ
          ๒)  กระบวนการเตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพควรใช้ระยะเวลาไม่เกิน ๒ วัน

1)    กระบวนการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน ควรใช้ระยะเวลาไม่เกิน ๓ วัน

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดขอนแก่น
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา