เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

เทคนิคการถ่ายทอดอาชีพปลูกกุยช่ายขาว

โดย : นางลำไพ บัวโนนแดง ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-06-30-09:32:34

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 8 หมู่ที่ 4 บ้่านนาเพียง ตำบลสำราญ อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ได้รับทราบโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน จาก นายสุรัตน์  สุดโพธิ์แสน ซึ่งเป็นตัวแทนปราญช์ชุมชนที่เข้ารับการฝึกอบรมจากกศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชน อุดรธานี ได้มาทำความเข้าใจในเรื่องการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชนในหมู่บ้าน ทำให้มีความสนใจ อยากจะเข้าร่วมเป็นทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน เพื่อขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพชุมชนในหมู่บ้าน ให้ครัวเรือนที่สนใจ ได้มาประกอบอาชีพที่เกิดจากความต้องการของหมู่บ้าน เป็นอาชีพที่ไม่เบียดเบียนตนเอง ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เบียดเบียนสิ่งแวดล้อม  มีรายได้มากกว่ารายได้  ซึ่งตนได้ประกอบอาชีพการปลูกกุยช่ายขาวเพื่อจำหน่าย ซึ่งเป็นอาชีพที่ทำรายได้ให้กับครัวเรือน  มีตลาดจำหน่ายตลอดปี

วัตถุประสงค์ ->

- จัดทีมวิทยากรสัมมาชีพ ชุมชนระดับหมู่บ้าน พร้อมมอบหมายภารกิจ หน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน กำกับและ ติดตามครัวเรือนเป้าหมาย ที่ผ่านการอบรมอาชีพ ซึ่ง เรียกว่า “ครัวเรือน สัมมาชีพชุมชน” โดย 1 หมู่บ้านให้แบ่งสัดส่วนของ ทีมวิทยากรสัมมาชีพ ชุมชน 1 คน ต่อ ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน 4 ครัวเรือน

 - ทบทวนและจัดทำ แผนปฏิบัติการฝึกอบรม อาชีพและส่งเสริม สนับสนุน กำกับและ ติดตามครัวเรือนเป้าหมาย ที่ผ่านการอบรมอาชีพ ซึ่ง เรียกว่า “ครัวเรือน สัมมาชีพชุมชน

- ทีมวิทยากร สัมมาชีพชุมชน ระดับหมู่บ้านร่วมกัน วิเคราะห์ข้อมูลความ ต้องการอาชีพจาก แบบความต้องการ ฝึกอาชีพของคนใน ชุมชนที่ได้สำรวจไว้ แล้ว โดยจัดกลุ่ม ความต้องการอาชีพ แล้วจึงวิเคราะห์ให้ เชื่อมโยงกับตลาด สร้างผลผลิต สร้าง ผลิตภัณฑ์เข้าสู่ ระบบ OTOP และ กำหนดการดำเนินงานของ บริษัทประชำรัฐรัก สามัคคี ขอนแก่น จำกัด

 – จัดเตรียมพื้นที่ ฝึกอบรม พื้นที่ดูงาน วัสดุ/อุปกรณ์ การสร้างสัมมาชีพ ชุมชน

1. เตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการสาธิตอาชีพปลูกกุยช่ายขาว ให้พร้อม

2. จดบันทึกขั้นตอนการปลูกกุยช่ายขาวอย่างละเอียด ในกระดาษกิฟชาร์ท เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เห็นชัดเจน

3. นำเสนอด้วยการบรรยาย ขั้นตอนการปลูกกุยช่ายอย่างละเอียด

4. สาธิตการปลูกในแปลงปลูก ทุกขั้นตอน

    - การเตรียมดิน  การคัดเลือกต้นพันธุ์  วิธีการปลูก  การบำรุงรักษา  การป้องกันโรคที่เกิดขึ้น  การเก็บเกี่ยวผลผลิต

5.  การเก็บรักษาผลิตภัณฑ์กุยช่ายขาว การเพิ่มมูลค่าของกุยช่ายขาว เพื่อรอการจำหน่าย

6. ตลาดที่จำหน่าย / ราคาที่จำหน่าย

 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. เกิดจากประสบการณ์ทำจริง

2. กุยช่ายขาวเป็นที่ต้องการของตลาด ทำให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความสนใจ เพราะเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ที่ยั่งยืนให้กับครอบครัว

3. การปลูกกุยช่าย ต้นพันธุ์มีอายุ 4 ปี ทำให้ไม่ต้องลงทุนทุกปี ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจึงมีความสนใจ

4. มีการติดตามครัวเรือน ให้กำลังใจ และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอยู่เสมอ

อุปกรณ์ ->

1. ถ้าผู้เข้าร่วมฝึกอบรมมีจำนวนมาก ทำให้การรับรู้ข้อข้อมูลได้ไม่ทัวถึง

2. ผู้เข้าอบรมต้องเป็นผํู้ที่มีความสนใจในอาชีพนี้

กระบวนการ/ขั้นตอน->

งบประมาณในการสนับสนุนปัจจัยในการประกอบอาชีพต่อครัวเรือนสัมมาชีพน้อย ทำให้ครัวเรือนที่จะเริ่มปลูกใหม่ไม่สามารถทำได้

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดขอนแก่น
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา