เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน

โดย : นางทองสุข พิมพา ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-06-30-10:28:28

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองขอนแก่น

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

            รัฐบาลได้ประกาศใช้โครงการ “สานพลังประชารัฐ” เป็นยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ และกรมการพัฒนาชุมชนมีเป้าหมายในการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ครัวเรือนสัมมาชีพบนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐบาลตามยุทธศาสตร์สร้างความเป็นธรรมลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ซึ่งเป็นนโยบายที่สำคัญที่มุ่งหวังแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับปากท้องของประชาชน ตามแผนงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็ง  ทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยการสร้าง “สัมมาชีพชุมชน” ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือประชาชนได้รับการพัฒนาอาชีพและมีรายได้ จำนวน ๒๓,๕๘๙ หมู่บ้าน ๔๗๑,๗๘๐ ครัวเรือน ด้วยการพัฒนาทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับปราชญ์ชุมชน ได้นำกลับไปสร้างทีมงานในการจัดฝึกอบรมอาชีพให้แก่ครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพในหมู่บ้าน จนก่อให้เกิดทักษะสามารถปฏิบัติได้จริงก่อให้เกิดรายได้ นำไปสู่การรวมตัวจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพที่มีความเข้มแข็ง  สามารถต่อยอดงานจนเป็นผลิตภัณฑ์  OTOP  เชื่อมโยงการพัฒนากับบริษัทประชารรัฐรักสามัคคี (วิสาหกิจเพื่อสังคม) ซึ่งมีการจัดตั้งขึ้นมาทุกจังหวัดรวม 76  จังหวัด   กรมการพัฒนาชุมชนได้กำหนดวาระกรมการพัฒนาชุมชนเรื่องการสร้างสัมมาชีพชุมชน เพื่อสร้างเศรษฐกิจชุมชนเข้มแข็งประชาชนมีความสุขและมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยคนในชุมชนต้องได้รับการพัฒนาอาชีพ และอาชีพต้องเป็นอาชีพที่ไม่เบียดเบียนตนเอง ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เบียดเบียนสิ่งแวดล้อม และมีรายได้มากกว่ารายจ่าย จากสภาวะการเปลี่ยนแปลงของโลกที่มีปัญหาสลับซับซ้อนมากขึ้น ราคาผลผลิตตกต่ำ โรคพืช การไม่มีอาชีพหรือรายได้เสริมหลังฤดูการผลิต รายได้ของประเทศจากการค้าขายระหว่าประเทศลดลง  ประชาชนมีรายได้ลดลง ค่าครองชีพสูงขึ้น  ประกอบกับมีปราชญ์ชุมชนด้านอาชีพที่เชี่ยวชาญและประสบผลสำเร็จในการประกอบอาชีพด้านต่าง ๆ อยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชน แต่มีส่วนน้อยที่สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นนำไปทำตามให้สำเร็จได้ การดำเนินงานขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชนจังหวัดขอนแก่น 528 หมู่บ้าน ๑๐,๕๖๐ ครัวเรือน โดยทีมปราชญ์ชุมชน ๕๒๘ คนนั้น ถือเป็นผู้นำสำคัญที่มีบทบาทหน้าที่ในการพัฒนากลไกขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชน    เพื่อให้ครัวเรือนเป้าหมายสามารถทำงานได้ตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการ โดยยึดตามหลักยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน ได้แก่ การสร้างพลังชุมชน การสร้างกระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชน การสร้างระบบบริหารจัดการชุมชน กำหนดทิศทางการพัฒนาชุมชนเพื่อแก้ไขปัญหาชุมชน   ทำให้ประชนมีอาชีพและรายได้ และจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพที่เข้มแข็งต่อไป ดังนั้น การสร้างเครือข่ายปราชญ์ชุมชน OTOP และ  SE ออนไลน์เพื่อการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตจึงเป็นทางเลือกในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพโดยยึดตามหลักยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน ได้แก่ การสร้างพลังชุมชน การสร้างกระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชน การสร้างระบบบริหารจัดการชุมชน กำหนดทิศทางการพัฒนาชุมชนเพื่อแก้ไขปัญหาชุมชน   ทำให้ประชนมีอาชีพและรายได้ เศรษฐกิจครัวเรือนมีความมั่นคง ประชาชนใช้ชีวิตอยู่ในชุมชนอย่างมีความสุข

เป้าหมาย เศรษฐกิจชุมชนเข้มแข็งประชาชนมีความสุขและมีรายได้เพิ่มขึ้นการดำเนินการในปี ๒๕๖๐ จึงมุ่งเน้นการยกระดับรายได้ที่ต้องทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นโดยการสร้างอาชีพ จึงเป็นที่มาของ “สัมมาชีพชุมชน” โดยให้ชาวบ้านสอนชาวบ้านในสิ่งที่เขาอยากทำ ฝึกปฏิบัติจริงให้สามารถไปเป็นอาชีพได้ประชาชนที่ผ่านการอบรมนาไปปฏิบัติจนเป็นวิถีชีวิต
ครูฝึกส่งเสริมให้หมู่บ้านมีการรวมกลุ่มเสนอโครงการ/กิจกรรม
ที่สื่อถึงการนาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้จนเป็นวิถีชีวิต

วัตถุประสงค์ ->

      โดยมีเหตุผลที่ทำคือ เจ้าหน้าที่และภาคีการพัฒนาขาดความเข้าใจในการบูรณาการการทำสัมมาชีพชุมชน OTOP
และเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ

 1.สร้างทีม

1.1แต่งตั้งคณะทำงาน

1.2 มอบหมายภารกิจ

2.การสร้างองค์ความรู้

2.1 จัดระบบข้อมูล

2.2 จัดเวทีสร้างความเข้าใจ

2.3 รวบรวม วิเคราะห์

3.การสร้างเครือข่าย

3.1 เชื่อมโยงเครือข่าย

3.2 จัดทำระบบสื่อสาร

3.3 เว็บไซต์, ไลน์, Fb.

3.4 ประชาสัมพันธ์

4.ผลสัมฤทธิ์ของงาน/ประชาสัมพันธ์

4.1 ปราชญ์ชุมชน

4.2 เครือข่าย OTOP

4.3 บริษัทประชารัฐรักสามัคคี จำกัด

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

 ตัวชี้วัดความสำเร็จ

  •  เชิงปริมาณ
  •  มีเครือข่ายปราชญ์ชุมชนออนไลน์      มีทีมปราชญ์สัมมาชีพชุมชนออนไลน์ 
  •  เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ มีฐานข้อมูลอาชีพ/กลุ่มอาชีพ และองค์ความรู้ในเว็บไซต์สัมมาชีพชุมชน
  • ปราชญ์ชุมชน มีการสื่อสารผ่านทางอินเตอร์เน็ต ไม่น้อยกว่า ๒ ช่องทาง

  2 เชิงคุณภาพ

  •  เกิดผลผลิตที่ก่อให้เกิดรายได้ มีผลิตภัณฑ์แปรรูป สร้างมูลค่า ส่งเสริมภูมิปัญญา หรือนวัตกรรมใหม่ ๆ เช่น  ผลิตภัณฑ์ OTOP  สินค้าเกษตรปลอดภัย เกษตรอินทรีย์ การท่องเที่ยวชุมชน  สามารถวัดผลสำเร็จการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชนเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืนได้ภายใน 1  ปี 
  •  มีเครือข่ายปราชญ์ชุมชนออนไลน์ และแลกเปลี่ยนเพื่อต่อยอดความรู้ในการพัฒนาอาชีพ ช่วยเหลือ แก้ไขปัญหาการประกอบสัมมาชีพ การตลาด ให้กลุ่มสัมมาชีพได้อย่างเหมาะสมตามภูมิสังคม 
  • ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนมีความพร้อมก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ทางเศรษฐกิจสังคม สามารถปรับตัวได้ทันท่วงที และรับรู้ข่าวสารจากทีมปราชญ์ชุมชนได้ตลอดเวลา

อุปกรณ์ ->

  • กลไกการทำงานจาก 5 ภาคส่วนทุกระดับมีความต่อเนื่องเชื่อมโยงกันอย่างไร
  • บุคลากรภายในองค์กร เครือข่ายภาคีสัมมาชีพชุมชน OTOP และ SE มีการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่อย่างไร 
  • กลุ่มเป้าหมายมีการสร้างนวัตกรรมและสนับสนุน ผ่านระบบการสื่อสารทางอินเตอร์เน็ต และมีเว็บไซต์สัมมาชีพชุมชน, OTOP สร้างกลุ่ม Line, Facebook อยู่ในระดับใด
  •  มีการสร้างความร่วมมือผ่านบริษัทประชารัฐรักสามัคคีจำกัด เพื่อการจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์เชื่อมโยงการการตลาดให้แพร่หลาย

กระบวนการ/ขั้นตอน->

·         1 ปราชญ์ชุมชนจะต้องออกแบบการเรียนรู้และสามารถถ่ายทอดความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านระบบการสื่อสารทางอินเตอร์เน็ต และมีเว็บไซต์สัมมาชีพชุมชน สร้างกลุ่ม Line, Facebook

·         2 มีการบันทึกครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนตัวอย่าง หรือนวัตกรรมขึ้นในฐานข้อมูลปฏิบัติการ

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดขอนแก่น
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา