เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน

โดย : นางภัทรณรินทร์ นิลวดีพุฒิพัชร ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-06-01-18:32:07

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การส่งเสริมการขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพชุมชน โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามแผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็งของรัฐบาล ซึ่งตอบสนองนโยบายรัฐบาลเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐ    โดยกำหนดพื้นที่เป้าหมายในการดำเนินงานของอำเภอชุมแพจำนวน 22 หมู่บ้าน  ของพื้นที่หมู่บ้านเป้าหมายที่ผ่านการให้การศึกษาด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การสำรวจข้อมูลและจัดเวทีประชาคมทำแผนชุมชนในปี 2559 ตามแผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคการเกษตรและชนบท   ซึ่งได้กำหนดกระบวนการขับเคลื่อนที่เริ่มต้นด้วยการพัฒนาทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับปราชญ์ชุมชนเพื่อให้กลับไปสร้างทีม และจัดฝึกอบรมอาชีพให้กับครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพในหมู่บ้าน โดยใช้พื้นที่ในบ้านปราชญ์ชุมชน เพื่อมุ่งหมายให้ครัวเรือนที่เข้ารับการฝึกอาชีพมีความรู้ และปฏิบัติอาชีพได้จริง สามารถพัฒนาเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน และต่อยอดสู่การรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพที่มีความเข้มแข็งต่อไป
การดำเนินการในปี 2560มุ่งเน้นการยกระดับเศรษฐกิจฐานราก “รายได้” ที่ต้องทำให้ชุมชน และประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยการสร้างอาชีพจึงเป็นที่มาของ “สัมมาชีพชุมชน” ซึ่งกำหนดแผนการสร้างสัมมาชีพชุมชนบนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีเป้าหมาย คือประชาชนได้รับการพัฒนาอาชีพและมีรายได้ 22หมู่บ้าน รวม 440ครัวเรือนคิดเป็นร้อยละ20 ของหมู่บ้านในอำเภอชุมแพโดยใช้วิธีให้ชาวบ้านสอนชาวบ้านในสิ่งที่เขาสนใจที่จะทำ    ฝึกปฏิบัติจริงให้สามารถนำไปเป็นอาชีพได้ ซึ่งในหมู่บ้านหรือชุมชนมีคนเก่งและชำนาญในแต่ละอาชีพที่แตกต่างกันโดยสืบทอดภูมิปัญญาจากบรรพบุรุษ เช่น ด้านจักสานไม้ไผ่  เกษตรผสมผสาน ทำนา ทำไร่ และการแปรรูปอาหาร   มีการคัดเลือกและจัดเวทีฝึกทักษะการสอนการนำเสนอให้กับคนเก่งเหล่านี้ยกให้เป็น “วิทยากรสัมมาชีพชุมชน”หลังจากนั้นกลับไปสร้างทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านเพิ่มเติมอีกหมู่บ้านละ4 คน    ในหมู่บ้านคณะกรรมการหมู่บ้านจะต้องคัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย โดยพิจารณาจากครัวเรือนที่ตกเกณฑ์ จปฐ.เป็นอันดับแรก และผู้ที่สนใจต้องการมีรายได้และต้องการฝึกอาชีพ  หมู่บ้านละ 20 คน รวมเป็น440คนหรือครัวเรือน เมื่อผ่านการฝึกปฏิบัติแล้วประชาชนสามารถสร้างอาชีพบนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สามารถสร้างรายได้เลี้ยงตนเองและครอบครัวได้ เมื่อมีความก้าวหน้าสามารถพัฒนาเป็นกลุ่มได้ มีการแสวงหาแหล่งทุนมาสนับสนุน ซึ่งได้แก่ การระดมหุ้นในกลุ่ม กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต  กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เพื่อเป็นการต่อยอดอาชีพสร้างผลผลิต สร้างผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)  เพิ่มช่องทางการการตลาด ได้แก่ ทางอินเตอร์เน็ต เว็บไซต์สัมมาชีพ ไลน์Facebook เป็นต้น

ดังนั้น การดำเนินกิจกรรมสร้างสัมมาชีพชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ภายใต้การบูรณาการความร่วมมือของประชารัฐโดยใช้พื้นที่เป้าหมายตามพื้นที่ในความรับผิดชอบของยุทธศาสตร์ที่1 การส่งเสริมการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคการเกษตรและชนบท จำนวน 22หมู่บ้าน เป็นพื้นที่ดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนให้ครัวเรือนในหมู่บ้านเป้าหมาย ของอำเภอชุมแพ  ดังกล่าวมีโอกาสในการเรียนรู้และพัฒนาอาชีพให้เกิดสัมมาชีพชุมชนเพื่อสร้างรายได้ที่ส่งผลให้เศรษฐกิจฐานรากเติบโตไปได้อย่างมีคุณภาพต่อไปบทบาทของพัฒนากรในการขับเคลื่อนภารกิจ ที่ได้รับมอบหมายให้กำกับดูแลหมู่บ้านเป้าหมายตามโครงการสัมมาชีพชุมชนในตำบลที่รับผิดชอบ ทั้งสิ้น 9หมู่บ้านใน ๒ ตำบล ดำเนินการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแนวทางที่กรมการพัฒนาชุมชนกำหนด โดยมีเป้าหมายให้ครัวเรือนสัมมาชีพได้มีโอกาสในการเรียนรู้และพัฒนาอาชีพ เพื่อสร้างรายได้ของครัวเรือนให้เพิ่มขึ้น

วัตถุประสงค์ ->

 (1) เตรียมความพร้อมข้อมูลปราชญ์ชาวบ้านในการฝึกอบรมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน โดยการสำรวจข้อมูลปราชญ์ชาวบ้านและจัดทำทะเบียนข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน จัดส่งข้อมูลให้สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดขอนแก่น
 (๒) คัดเลือกปราชญ์ชาวบ้านหรือผู้ประสบความสำเร็จหรือเชี่ยวชาญในอาชีพ ที่พร้อมเข้ารับ การอบรมเป็นวิทยากรผู้ถ่ายทอดสัมมาชีพ จำนวน 1 คน จากเวทีประชาคม เข้าอบรมการพัฒนาทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับปราชญ์ชุมชน (วิทยากรสัมมาชีพชุมชน) ณ ศูนย์พัฒนาชุมชนอุดรธานี
(๓) วิทยากรสัมมาชีพชุมชนกลับไปสร้างทีมในหมู่บ้าน โดยการคัดเลือกปราชญ์ชุมชนหมู่บ้านละ ๔คน รวมเป็น 5 คน เพื่อสร้างทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน
(๔) ศึกษาแนวทางการสร้างสัมมาชีพชุมชนจากเอกสารแนวทางสร้างสัมมาชีพชุมชน ของกรมการพัฒนาชุมชนและเตรียมประสานพื้นที่ดำเนินการ โดยประสานผู้นำชุมชนเตรียมพื้นที่ในการดำเนินการสร้างสัมมาชีพชุมชน



๔.2 ขั้นตอนดำเนินการ
๑.พัฒนากรร่วมกับ “วิทยากรสัมมาชีพ” วางแผน ออกแบบ วิธีการจัดประชุมฯ และจัดทำเอกสาร เตรียมสื่อเกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจกรรม
2.ดำเนินการจัดประชุมเตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านระยะเวลา3 วันโดยวันที่ 1 สร้างความรู้ความเข้าใจการสร้างสัมมาชีพชุมชนและสร้างทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน โดย “วิทยากรสัมมาชีพครูใหญ่” ถ่ายทอดความรู้ เทคนิค ของการเป็นวิทยากรผู้นำสัมมาชีพ และจัดทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน พร้อมมอบหมายภารกิจหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน กำกับและติดตามครัวเรือนเป้าหมายที่ผ่านการอบรมอาชีพ ซึ่งเรียกว่า “ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน” โดย 1 หมู่บ้านให้แบ่งสัดส่วนของทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน 1 คน ต่อ ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน 4 ครัวเรือน ( 1 / 4 )
วันที่ 2 เตรียมความพร้อมครัวเรือนเป้าหมายที่จะเข้ารับการอบรมอาชีพ ตามแนวทางสัมมาชีพชุมชน โดย ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านไปพบปะสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ผู้แทนครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพที่จะเข้ารับการอบรม20 คน ตามสัดส่วน 1 คน ต่อ 4 ครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพ เพื่อให้ความรู้เรื่องสัมมาชีพชุมชน ความเป็นมาของโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน และกระบวนการสร้างสัมมาชีพชุมชนที่เกี่ยวข้อง ทบทวนความต้องการของครัวเรือนเป้าหมาย ที่มีความสนใจหรือต้องการฝึกอาชีพ หรือเปลี่ยนแปลงอาชีพหรือไม่ และกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มการติดตามครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน
วันที่ 3 ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูล ความต้องการอาชีพจากแบบความต้องการฝึกอาชีพของคนในชุมชนที่ได้สำรวจไว้แล้ว โดยจัดกลุ่มความต้องการอาชีพ โดยพิจารณาศักยภาพของชุมชนว่าเป็นอาชีพที่น่าจะสำเร็จได้ สามารถสร้างรายได้จริง ซึ่งต้องเชื่อมโยงกับการตลาดสอดคล้องกับความรู้ ที่ปราชญ์ชุมชนในหมู่บ้านจะถ่ายทอด หรือจากการศึกษาดูงานบ้านปราชญ์ชุมชนในอำเภอเดียวกัน หรือมีแหล่งเรียนรู้ที่สะดวกต่อการเรียนรู้ดำเนินงานโครงการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
1. นำแผนปฏิบัติการมาประสานและสนับสนุนทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน และจัดทำเป็นปฏิทินสนับสนุนการจัดฝึกอบรมสัมมาชีพชุมชนให้หมู่บ้านตามโครงการ
2.เตรียมความพร้อมก่อนดำเนินการ สังเคราะห์ข้อมูลอาชีพ รวมถึง ทักษะพื้นฐานเดิม ของผู้แทนครัวเรือนเป้าหมายที่จะเข้ารับการฝึกอบรมอาชีพ เตรียมจัดหาวัสดุฝึกอาชีพให้กับครัวเรือนเป้าหมาย
3.ร่วมกับภาคีการพัฒนาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้นำชุมชน สนับสนุนทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน จำนวน 5 คน ดำเนินการฝึกอบรมพัฒนาความรู้ เสริมสร้างทักษะการพัฒนาอาชีพตามความต้องการของครัวเรือน ตามแผนปฏิบัติการที่กำหนด ระยะเวลาในการฝึกอบรมสัมมาชีพชุมชน 5 วัน ดังนี้
-วันที่ 1-3 ดำเนินการฝึกอบรมความรู้ทางวิชาการ/ทฤษฎีที่ต้องรู้เกี่ยวกับอาชีพ และสาธิตฝึกปฏิบัติเบื้องต้นตามความเหมาะสมของแต่ละประเภทอาชีพให้กับผู้แทนครัวเรือน ดำเนินการในหมู่บ้าน
-วันที่ 4 การศึกษาดูงานเพิ่มพูนความรู้ด้านอาชีพ ณ ศูนย์เรียนรู้ชุมชนที่เข้มแข็ง
-วันที่ 5 ดำเนินการฝึกปฏิบัติอาชีพ โดยมีทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนติดตามเป็นพี่เลี้ยงในการฝึกปฏิบัติ และสนับสนุนวัสดุการฝึกปฏิบัติอาชีพ
 (4) สนับสนุนทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ดำเนินการส่งเสริมให้ครัวเรือนนำอาชีพที่ได้ฝึกปฏิบัติไปประกอบอาชีพหรือพัฒนาอาชีพ ให้ก่อเกิดเป็นอาชีพและมีรายได้หรือลดรายจ่ายได้อย่างต่อเนื่อง และรายงานผลการประกอบอาชีพตามแบบฟอร์มการติดตามครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน
 ถอดองค์ความรู้ปราชญ์ชุมชน และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เว็บไซต์สัมมาชีพ
๔.๓ ติดตาม และสรุปประเมินผลการดำเนินงานเทคนิค/ข้อพึงระวังในการทำงาน
 (๑) ความพร้อมของพัฒนากร ต้องศึกษาข้อมูลการดำเนินงานแนวทางสัมมาชีพชุมชนให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจน เพื่อจะได้นำไปดำเนินการในระดับพื้นที่ให้เกิดประสิทธิภาพเป็นไปตามวัตถุประสงค์รวมทั้งกำหนดแผนการดำเนินกิจกรรม/โครงการให้ชัดเจน
(๒) คัดเลือกปราชญ์ชุมชน ซึ่งจะต้องเป็นปราชญ์มีองค์ความรู้ที่เหมาะสมกับชุมชน และคนในชุมชนสนใจ สามารถต่อยอดให้เกิดการพัฒนาเป็นอาชีพได้
(๓) คัดเลือกครัวเรือนเป้าหมาย จำนวน 20 คน ต้องสมัครใจและตั้งใจฝึกอาชีพ เพื่อก่อให้เกิดการสร้างกลุ่มอาชีพให้เกิดรายได้อย่างแท้จริง
(๔) ให้การสนับสนุนกิจกรรมผ่านกระบวนการถ่ายทอด การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และศึกษาผ่านระบบเครือข่ายออนไลน์ต่างๆ เพื่อศึกษาขั้นตอนกระบวนการในการประกอบอาชีพประเภทเดียวกัน หรือมีความใกล้เคียงกัน เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในหมู่บ้านชุมชน
(5) ติดตามสนับสนุน และเยี่ยมเยียนให้กำลังใจแก่ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนและครัวเรือนเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง ยกย่องการขับเคลื่อนกิจกรรมที่น่าสนใจ และประชาสัมพันธ์กิจกรรมเพื่อสร้างกระแสการขับเคลื่อนผ่านสื่อสังคมออนไลน์เว็บไซต์สัมมาชีพ หรือการประชุมระดับตำบล อำเภอเป็นต้น
(6) สร้างความมั่นใจแก่ทีมวิทยากร โดยการให้เกียรติยกย่องให้เป็นผู้รู้ มีความสามารถเป็นบุคคลสำคัญในการขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพชีพชุมชน เป็นแกนหลักในการสร้างอาชีพ และทำให้หมู่บ้านมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยกระบวนการ “ชาวบ้านสอนชาวบ้าน” และความสำเร็จอยู่ที่หมู่บ้านพัฒนากร
 (7) การส่งเสริมอาชีพ ต้องเป็นอาชีพที่สามารถทำรายได้และอยู่รอดได้จริงในชุมชน และเป็นอาชีพที่สามารถแข่งขันได้ทั้งตลาดภายในชุมชน และภายนอกชุมชน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดขอนแก่น
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา