เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

เทคนิคการทำน้ำหมักสมุนไพร

โดย : นายมีชัย สุนทอง และเบอร์โทรศัพท์ 081-5744125 ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-05-31-16:35:50

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 121 บ้านหนองแวง หมู่ที่ 7 ตำบลหนองแวง อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การใช้สมุนไพรไทยมาสกัดเป็นสารอินทรีย์ชีวภาพเพื่อใช้ในการบำรุงดินป้องกัน และกำจัดแมลงศัตรูพืช เป็นวิธีการหนึ่งที่สอนให้เกษตรให้ลดการพึ่งพาการใช้สารเคมี ซึ่งวิธีการดังกล่าวนอกจากจะช่วยในเรื่องของการลดต้นทุนการผลิตแล้ว ยังเป็นการคืนความสมดุลให้ระบบนิเวศน์อีกทางหนึ่งด้วย

การทำน้ำหมักสมุนไพร 7 รส คือ การเลือกเอาสมุนไพรรสต่างๆมาทำน้ำหมักจุลินทรีย์ชีวภาพ เพื่อประโยชน์ทางการเกษตร ใช้ได้กับนาข้าว และพืชผักทุกชนิด ตัวยาสมุนไพรที่ใช้ในการเกษตรสามารถแบ่งออกตามรสของสมุนไพรได้ประมาณ 7 รส คือ รสจืด รสขม รสฝาด รสเบื่อเมา รสเปรี้ยว รสหอมระเหย และรสเผ็ดร้อน สมุนไพรทั้ง 7 รสมีประโยชน์ต่อภาคการเกษตร ดังนี้

1.น้ำหมักสมุนไพรรสจืด

วัตถุดิบ ได้แก่ ใบกล้วย ผักบุ้ง รางจืด รวงข้าว ผักตบชวา และพืชสมุนไพรที่มีรสจืดทุกชนิด

สรรพคุณ จะเป็นปุ๋ยบำรุงดิน ให้ดินมีความร่วนซุย โปร่ง ทำให้ดินไม่แข็ง ใช้ในการบำรุงดิน และบำบัดน้ำเสียและขยะที่ส่งกลิ่นเหม็น รวมทั้งใช้ในการล้างสารพิษ

2.น้ำหมักสมุนไพรรสขม

วัตถุดิบ ได้แก่ ฟ้าทะลายโจร ใบสะเดา บอระเพ็ด ใบขี้เหล็ก หญ้าใต้ใบ เสลดพังพอน และพืชสมุนไพรที่มีรสขมทุกชนิด

สรรพคุณ สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ป้องกันแมลง เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับพืช

3.น้ำหมักสมุนไพรรสฝาด

วัตถุดิบ ได้แก่ ปลีกล้วย เปลือกมังคุด เปลือกฝรั่ง มะยมหวาน เปลือกแค ใบฝรั่ง ใบทับทิม เปลือกลูกเนียง และพืชสมุนไพรที่มีรสฝาดทุกชนิด

สรรพคุณ ฆ่าเชื้อราในโรคพืช แก้เชื้อราในโรคพืชทุกชนิด

4.น้ำหมักสมุนไพรรสเบื่อเมา

วัตถุดิบ ได้แก่ หัวกลอย ใบเมล็ดสบู่ดำ ใบน้อยหน่า หางไหล ขอบชะนางแดง-ขาว สลัดได แสยก หนอนตายหยาก พญาไร้ใบ เมล็ดมะกล่ำ และพืชสมุนไพรที่มีรสเบื่อเมาทุกชนิด

สรรพคุณ การกำจัดหนอน เพลี้ย และ แมลง ในพืชผักทุกชนิด

5.น้ำหมักสมุนไพรรสเปรี้ยว

วัตถุดิบ ได้แก่ มะกรูด มะนาว มะขาม กระเจี๊ยบ เปลือกส้ม และพืชสมุนไพรที่มีรสเปรี้ยวทุกชนิด

สรรพคุณ ไล่แมลงโดยเฉพาะ

 

 

6.น้ำหมักสมุนไพรรสหอมระเหย

วัตถุดิบ ได้แก่ ตะไคร้หอม ใบกะเพรา ใบเตย สาบเสือ โหระพา กระเพรา ผักชี กะทกรก และพืชสมุนไพรที่มีรสหอมระเหยทุกชนิด

สรรพคุณ จะเป็นน้ำหมักที่เปลี่ยนกลิ่นของต้นพืช เพื่อป้องกันไม่ให้แมลงไปกัดกินทำลาย

7.น้ำหมักสมุนไพรรสเผ็ดร้อน

วัตถุดิบ ได้แก่ พริก ขิง ข่า ตะไคร้ และพืชสมุนไพรที่มีรสเผ็ดร้อน

วัตถุประสงค์ ->

สูตรที่ 1 สำหรับพืชกินใบ

 วัสดุประกอบด้วย

1) พืชสด และ 2) กากน้ำตาล อัตราส่วน 3 : 1

วิธีทำ

 ใช้พืชที่มีลักษณะสด ใหม่ สมบูรณ์ อวบน้ำ โตเร็ว ไม่มีโรค (เน่า) ทุกส่วนๆ ละไม่มากนัก จากพืชหลายๆ ชนิด ทั้งพืชที่กินได้และวัชพืช

นำมาสับให้เป็นชิ้นเล็กๆ หรือบดละเอียดให้ได้ปริมาณ 3 ก.ก. แล้วบรรจุเศษพืชที่ได้ลงในภาชนะ และเติมกากน้ำตาลลงไป 1 ลิตร คนหรือเขย่าให้เข้ากัน

ให้เศษพืชจมอยู่ในกากน้ำตาลตลอดเวลา ปิดฝาภาชนะ เก็บไว้ในที่มืด อุณหภูมิห้องนาน 7 วัน สามารถนำไปใช้ได้

 

การปฏิบัติระหว่างการหมัก เขย่าภาชนะที่หมักพร้อมกับเปิดฝา วันละ 2 ครั้ง เช้า - เย็น เมื่อครบ 7 วัน ให้ดมกลิ่น ถ้าหอมหวานแสดงว่า "ดี"

สามารถนำไปได้ ถ้าบูดเปรี้ยวแสดงว่า "ไม่ดี" ให้แก้ไขด้วยการเติมกากน้ำตาล หรือของที่ใส่ครั้งแรกแล้วหมักต่ออีก 3 วัน ถ้ามีกลิ่นหอมหวานก็แสดงว่า "ดี" ถ้ามีกลิ่นบูดเปรี้ยวอีกให้เติมน้ำตาลอีกแล้วหมักต่อไปจนกว่าจะมีกลิ่นหอมหวาน เมื่อได้น้ำหมักที่ดีแล้วให้เก็บไว้ในที่มืดภายใต้อุณหภูมิห้อง

เก็บได้นาน 6 เดือน - 1 ปี ระหว่างเก็บหากมีกลิ่นบูดเปรี้ยวให้เติมกากน้ำตาลลงไป

 อัตราและวิธีการใช้น้ำหมักชีวภาพ

1) พืชผักสวนครัว พืชไร่ ไม้ผลยืนต้น ให้ทางใบ อัตราส่วน 15-20 ซี.ซี./น้ำ 20 ลิตร ทุกๆ 5-7 วัน ควบคู่กับให้ทางราก 30-50 ซี.ซี./น้ำ 20 ลิตร ทุกๆ 15-20 วัน 
2) เตรียมดินแปลกปลูก หรือหลุมปลูกไม้ผล อัตราส่วน 30-50 ซี.ซี./น้ำ 20 ลิตร ผสมกับปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก 
3) ใช้แทนสารเร่งปุ๋ยหมัก อัตราส่วน 75-100 ซี.ซี./น้ำ 20 ลิตร พรมลงบนวัสดุทำปุ๋ยหมัก 
4) กำจัดน้ำเสียโดย อัตราส่วน 75-100 ซี.ซี./น้ำ 20 ลิตร ราดให้ทั่วบริเวณน้ำเสียหรือในคอกปศุสัตว์ 
5) เพิ่มเปอร์เซ็นต์ความงอกของเมล็ดพันธุ์ อัตราส่วน 15-20 ซี.ซี./น้ำ 20 ลิตร แช่เมล็ดพันธุ์พอท่วมก่อนเพราะเป็นเวลา 12 ชั่วโมง

 การต่อเชื้อน้ำหมักชีวภาพ ใช้หัวเชื้อน้ำหมักชีวภาพ 1 ส่วน กากน้ำตาล 1 ส่วน น้ำสะอาด 10 ส่วน ผสมให้เข้ากันดี ปิดฝาภาชนะเก็บไว้ในที่มืด ภายใต้อุณหภูมิห้อง นาน 3 วัน ตรวจสอบกลิ่นตามครั้งแรก

 เคล็ดลับ เรื่องน้ำหมักชีวภาพ หลังการหมัก 3 วันแรก เปิดฝาออกดูถ้ามีแก๊สพุ่งออกมาแสดงว่า มีส่วนผสมดีพยายามเปิดฝาระบายแก๊สบ่อยๆ ถ้าไม่เปิดภาชนะที่หมักอาจระเบิดได้ กรณีถ้าไม่มีกากน้ำตาลสามารถใช้น้ำตาลทรายแดงได้ โดยเพิ่มปริมาณน้ำตาลแดงเป็น 1 ส่วน : เศษพืช 1 ส่วน การใช้น้ำหมักชีวภาพทางราก ควรใช้ควบคู่ไปกับปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักเสมอ โดยการใส่ปุ๋ยคอกปุ๋ยหมัก 6 เดือน/ครั้ง

สูตร 1 เหมาะสำหรับพืชกินใบ ตัวอย่างพืชสดสูตร 1 ผักบุ้ง กวางตุ้ง ผักขม ผักเสี้ยน หน่อไม้ฝรั่ง ยอดชะอม ยอดกระถิน ยอดมันเทศยอดมะม่วง ยอดมะยม ผักตำลึงและผล เถาขี้กาและผล เงาะป่าและผล ใบยอและผล ฯลฯ


สูตรที่ 2 สำหรับพืชผักกินดอกผล

 วัสดุประกอบด้วย

1) ผลไม้สุก (ฟักทองแก่, มะละกอทั้งเนื้อและเมล็ด กล้วยน้ำว้า บวบเหลี่ยม มะเขือเทศ) 2) พืชสด (ช่วงใบแก่อ้วนเอาทั้งปลายยอดและปลายราก) และ 3) กากน้ำตาล อัตราส่วน 2 : 1 : 1

วิธีทำและการปฏิบัติ

กระทำเช่นเดียวกับสูตรที่ 1 แต่ให้ได้ตามอัตราส่วนที่กำหนด

อัตราและวิธีการใช้

1) สูตร 2 เหมาะสำหรับพืชผักที่ใช้กินดอกผล เช่น กะหล่ำดอก แตงโม แตงกวา แตงเทศ แคนตาลูป ถั่วฝักยาว ถั่วแปบ ถั่วพี ถั่วเหลือง มะรุม น้ำเต้า กุ๋ยช่าย บวบต่างๆ มะเขือต่างๆ ฟักทอง ฟักเขียว พริกต่างๆ 
2) ใช้อัตราส่วน 0.5 - 20 ซี.ซี./น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทางใบทุก 5 - 7 วันต่อครั้ง 
3) ใช้อัตราส่วน 30 - 50 ซี.ซี./น้ำ 20 ลิตร ราดทางดินสลับการฉีดทางใบ 5 - 7 วันต่อครั้ง จะทำให้ดินร่วนซุย 
4) สูตร 2 นี้ ใช้จนถึงระยะออกดอกติดผลก็ได้

 สูตร 2 เหมาะสำหรับพืชผักกินดอก กินผล ตัวอย่างผลไม้สุก สูตร 2 สับปะรด แตงโม กล้วย ละมุด มะเขือเทศ บวบ ขนุน มะม่วง ฝรั่ง มะละกอดิบและสุก มะระดิบและสุก มะเฟือง มะกรูดผ่าซีก ฯลฯ

 

 


สูตรที่ 3 สำหรับพืชผัก ผลไม้ พืชไร่ นาข้าว

วัสดุ

ประกอบด้วย 1) พืชสด (สูตร 1) 2) พืชสดและผลไม้สุก (สูตร 2) 3) ปลาเป็นๆ หอยเชอรี่ ไข่หอยเชอรี่ กระดูกป่น 4) ตัวเสริม (ขี้เด็กทารก ขี้ไก่ค้างคอน ขี้นกปากห่าง ขี้เป็ดกินหอย ยาคูลท์ โยเกิร์ต กระทิงแดง ระลำเอียด) และ 5) กากน้ำตาล ผสมในอัตราส่วน 1 : 1 : 1 : เล็กน้อย : พอท่วม

วิธีทำ

เตรียมวัสดุในการทำนำหมักสูตร 1 และ สูตร 2 ตามอัตราส่วนที่กำหนด นำปลาสด (ทั้งตัว) หอยเชอรี่ ไข่หอยเชอรี่ มาบด โขลก สับให้ละเอียด เพื่อง่ายในการย่อยสลาย บรรจุเศษพืช เศษปลา เศษหอยที่บด โขลก สับละเอียดแล้วลงภาชนะ (ควรเป็นโอ่งหรือภาชนะพลาสติกไม่แนะนำให้ใช้โลหะ) แล้วเติมกากน้ำตาลลงไป คลุกเคล้าพอคลุกคลิก เติมนำมะพร้าวอ่อน คลุกเคล้าลงไปอีกเพื่อให้มีน้ำมากขึ้นพอท่วมเศษวัสดุ คนหรือเขย่าให้เข้ากัน ให้เศษพืชจม อยู่ในกากน้ำตาลตลอดเวลา ปิดฝาภาชนะเก็บไว้ที่มืดอุณหภูมิห้องนาน 7 วัน ก็สามารถนำไปใช้ได้

การปฏิบัติต่อปุ๋ยน้ำชีวภาพระหว่างการหมัก ปฏิบัติตามสูตร 2 จนถึงขั้นตอนสุดท้าย


สูตรที่ 4 สำหรับไม้ผล

วัสดุ/อัตราส่วน ประกอบด้วย

1) พืชสด 5 ส่วน 2) ผลไม้ผล 1 ส่วน 3) ผลไม้สุก 1 ส่วน 4) ปลาน้ำจืด 1 ส่วน 5) ไข่หอยเชอรี่ 1 ส่วน และ 6) เหง้ากล้วย 1 ส่วน

วิธีทำ

 เติมกากน้ำตาลพอท่วม เติมขี้ไก่ค้างคอน 2 ส่วน เติมน้ำมะพร้าวอ่อน/รำละเอียด/อุจจาระเด็กทารกในปริมาณเล็กน้อย โดยห้ามนำไปฉีดผัก เพราะจะทำให้ผักกระด้าง

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

ข้อควรระวังในการใช้ น้ำหมักชีวภาพ
           1. หากใช้น้ำหมักชีวภาพกับพืช ต้องใช้ปริมาณเจือจาง เพราะหากความเข้มข้นสูงเกินไป อาจทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต และตายได้
           2. ระหว่างหมัก จะเกิดก๊าซต่าง ๆ ในภาชนะ ดังนั้นต้องหมั่นเปิดฝาออก เพื่อระบายแก๊ส แล้วปิดฝากลับให้สนิททันที
           3. หากใช้น้ำประปาในการหมัก ต้องต้มให้สุก เพื่อไล่คลอรีนออกไปก่อน เพราะคลอรีนอาจเป็นอันตรายต่อจุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมัก
           4. พืชบางชนิด เช่น เปลือกส้ม ไม่เหมาะในการทำน้ำหมักชีวภาพ เพราะน้ำมันที่เคลือบผิวเปลือกส้มเป็นพิษต่อจุลินทรีย์

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดขอนแก่น
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา