เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

การปลูกหอมแดง

โดย : นางทองม้วน วิรักษา ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-05-31-16:32:44

ที่อยู่ : 178 บ้านหนองหญ้าข้าวนก หมู่ที่ 3 ตำบลหนองแวง อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การปลูกพืชกินเองก็เป็นวิถีทางหนึ่งที่สามารถปฏิบัติได้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง นอกจากจะได้เรียนรู้การปลูกผัก จากการปฏิบัติจริงแล้ว ยังได้บริโภคผักที่ปลอดสารพิษ สารเคมี และช่วยประหยัดเงิน ได้อีก ประโยชน์ของต้นหอมนิยมนำไปประกอบอาหาร เพื่อเพิ่มความหอม รสชาติ และสีสันที่น่ากินมากขึ้น หรือไม่ก็นิยมใช้เป็นผักกินสดเคียงกับอาหารต่าง ๆ เมื่อกินต้นหอมเข้าไปในร่างกายก็จะได้รับสารเบต้าแคโรทีน สารฟลาโวนอยด์ แคลเซียม และฟอสฟอรัส ซึ่งช่วยในการต้านมะเร็ง ลดคอลเลสเตอรอล ควบคุมความดัน และป้องกันหลอกเลือดหัวใจอุดตัน นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติเป็นยา โดยการนำต้นหอมไปบุบพอกตรงที่ถูกแมลงกัดต่อย ระงับปวดได้ และถ้าเอาไปสูดดม ช่วยแก้อาการคัดจมูกได้เป็นอย่างดี สำหรับสรรพคุณทางด้านสมุนไพร เป็นยารักษาโรคใช้ลดไข้และรักษาแผล ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดและยับยั้งการเกิดเส้นเลือดอุดตัน บรรเทาอาการหวัด โดยใส่ในน้ำเดือด แล้วสูดกลิ่นจากไอน้ำ นอกจากนี้ยังแก้ผดผื่นคัน และถอนพิษแมลงกัดต่อยได้อีกด้วย

วัตถุประสงค์ ->

การเตรียมปลูกและวิธีปลูกหอมแดง

หอมแดงเป็นพืชที่ช่วยดินร่วน ต้องการความชื้นในดินค่อนข้างสูง โดยเฉพาะในช่วงของการเจริญเติบโตและจะต้องให้ดินแห้งในช่วงระยะเวลาที่ใกล้จะเก็บเกี่ยว ต้องการแสงแดดเต็มที่ตลอดวัน อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตอยู่ที่ประมาณ 12.7-23.8 องศาเซลเซียส ซึ่งสามารถปลูกได้ตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงมีนาคม

ในการเตรียมแปลงปลูกนั้นสามารถเตรียมแปลงได้เช่นเดียวกับการปลูกกระเทียม เพราะเป็นพืชที่มีระบบรากตื้น ดังนั้นในการเตรียมแปลงให้ใช้วิธีเดียวกันได้ โดยการยกขนาดของแปลงให้มีขนาดกว้าง 1-1.5 เมตร ระยะห่างระหว่างต้นที่นิยมใช้ในการปลูกอยู่ที่ประมาณ 15-20 เซนติเมตร

การปลูกโดยทั่วไปจะใช้หัวเล็กๆ เป็นหัวพันธุ์ ซึ่งจะใช้จำนวนประมาณ 100-200 กิโลกรัม / ไร่ การปลูกโดยการนำหัวพันธุ์มาตัดแต่งให้สะอาดโดยการตัดรากเสียบ้าง และตัดปลายหัวออกเล็กน้อยก็จะช่วยให้การงอกดีขึ้น และควรจุ่มหัวพันธุ์ลงในสารละลายฆ่าเชื้อรา เช่น Maneb หรือ Zineb ที่ผสมอย่างเจือจางในอัตรา 10-20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร แล้วนำไปผึ่งให้แห่งก้อนนำไปปลูก ทั้งนี้เพื่อป้องกันและทำลายเชื้อราที่อาจะติดมากับหัวพันธุ์

วิธีปลูกหอมแดงนั้นทำได้โดยการนำหัวพันธุ์ดำลงในแปลงปลูก ควรทำในขณะที่แปลงปลูกมีความชื้น ซึ่งจำทำให้ดำหัวได้ง่าย โดยดำลงไปในดินประมาณครึ่งหัวและเว้นระยะห่างระหว่างต้นตามที่กำหนดเอาไว้ (15-20 เซนติเมตร) การกดหัวนั้นต้องระวังอย่าให้หัวช้ำโดยให้ดำเบาๆ หลังจากนั้นควรคลุมด้วยหญ้าแห้งหรือฟางแห้ง เพื่อช่วยรักษาความชื้นและควบคุมวัชพืช ต้นหอมจะงอกขึ้นมาในระยะเวลาประมาณ 7-10 วันหลังจากปลูก ถ้ามีหัวใดไม่งอกควรทำการปลูกซ่อมลงในพื้นที่จุดเดิมโดยเอาหัวเก่าทิ้งไป

วิธีการดูแลรักษาหอมแดง

การให้น้ำนั้นต้องให้หลังจากการปลูกอย่างสม่ำเสมอโดยเฉพาะในช่วงของการเจริญเติบโต อย่าปล่อยให้ผิวหน้าดินแห้งได้ โดยเฉพาะในเขตที่มีดินทราย ควรให้น้ำบ่อยๆ และงดการให้น้ำเมื่อหอมแดงเริ่มแก่

การให้ปุ๋ยนั้นให้ยึดหลัก N:P:K = 1:1 – 2:1 เป็นอัตราที่แนะนำให้ใช้สำหรับหอมแดง โดยใช้ปุ๋ยสูตร 5-10-5, 10-20-10 หรือ 15-15-15 ก็ได้ หากดินเป็นดินทรายควรให้โปรแตสเซียมเพิ่มเป็นพิเศษในอัตรา 50-100 กิโลกรัม / ไร่ การใส่ปุ๋ยให้แบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรกให้เป็นปุ๋ยรองพื้นประมาณครึ่งหนึ่งก่อน และอีกครั้งให้ใส่ปุ๋ยตอนต้นหอมมีอายุได้ 35-40 วัน โดยให้ใส่แบบโรยข้างแล้วพรวนดินกลบ และควรให้ยูเรียหรือแอมโมเนียมซัลเฟตในอัตรา 20-25 กิโลกรัม / ไร่ เมื่อหอมอายุได้ประมาณ 14 วัน หลังจากปลูก ซึ่งจะช่วยทำให้หอมโตเร็ว

          ส่วนการพรวนดินนั้นให้พรวนดินเพื่อกำจัดวัชพืชแต่ต้องระวังไม่ให้กระทบกับรากเพราะเนื่องจากเป็นพืชที่มีระบบรากตื้น ซึ่งถ้าให้ดีควรใช้มือถอนวัชพืชแทนและควรทำในระยะเริ่มแรกของการเจริญเติบโต หากใช้ยากำจัดวัชพืชก็ควรใช้ Lasso ในอัตรา 0.36-0.46 กิโลกรัม / ไร่ โดยผสมน้ำแล้วฉีดพ่นก่อนที่หอมจะงอก

นอกจากการดูแลต่างๆ ในข้างต้นแล้วก็ยังจะต้องมีการคลุมดินด้วย เพราะการคลุมดินนั้นจะช่วยในการควบคุมความชื้นในดินให้มีอยู่ตลอดเวลาและช่วยควบคุมการลุกลามของวัชพืชได้ด้วย ซึ่งจะช่วยให้ประหยัดแรงงาน ประหยัดน้ำและเวลาไปได้เป็นอย่างมาก โดยการใช้ฟางหรือหญ้าแห้งคลุมเอาไว้

การเก็บเกี่ยวหอมแดง

หอมแดงนั้นสามารถเริ่มเก็บเกี่ยวได้เมื่อมีอายุ 70-110 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์และฤดูกาลในการปลูกด้วย หากปลูกในฤดูฝนซึ่งเป็นนอกฤดูการปลูก จะสามารถเก็บเกี่ยวหอมแดงได้เมื่อมีอายุได้ 45 วัน ซึ่งในการเก็บเกี่ยวนั้นก็ยังสามารถใช้การสังเกตได้ด้วย โดยให้สังเกตว่าสีของใบเขียวจางลงและเหลืองหรือไม่ ถ้าเป็นเช่นนั้นก็หมายความว่าหอมนั้นแก่พอที่จะทำการเก็บเกี่ยวได้แล้ว โดยจะสามารถเก็บเกี่ยวได้ประมาณ 1,100 กิโลกรัม / ไร่ และในการจัดการหลังเก็บเกี่ยวนั้นให้ทำเช่นเดียวกับการปลูกหอมหัวใหญ่หรือกระเทียม

 

หากต้องการเก็บหอมไว้ใช้ในการเพาะพันธุ์ ก็จะต้องเลือกหัวที่มีความแข็งแรง ไม่มีโรคและแมลง ซึ่งควรเก็บเกี่ยวตอนแก่และจัดแยกส่วนเก็บไว้ทำพันธุ์ออกมาต่างหากจะส่วนที่นำไปขาย หลังจากนั้นให้นำไปผึ่งให้แห้ง แล้วจึงฉีดพ่นยาป้องกันเชื้อราในอัตราที่เจือจางแล้วนำไปผึ่งให้แห้งอีกครั้งและเก็บไว้ในที่เย็นและแห้ง

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดขอนแก่น
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา