เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

เทคนิคการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน

โดย : นายวิศักดิ์ จำปาหวาย ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-07-01-18:05:04

ที่อยู่ : 249 หมู่ 10 ตำบลโนนสะอาด

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

"เศรษฐกิจพอเพียง" เป็นแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่

พระราชทานมานานกว่า 30 ปี ซึ่งเป็นแนวคิดที่ตั้งอยู่บนรากฐานของวัฒนธรรมไทย เป็นแนวทางการพัฒนาขั้นพื้นฐานที่ตั้งอยู่บนทางสายกลาง และความไม่ประมาทซึ่งคำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล การสร้างภูมิคุ้มกันในตัวเอง ตลอดจนการใช้ความรู้และคุณธรรมเพื่อเป็นพื้นฐานในการดำเนินชิวิต ซึ่งต้องมี "สติ ปัญญา และความเพียร" เป็นที่ตั้ง ซึ่งจะนำไปสู่ความสุขในชีวิติที่แท้จริง ดังพระราชดำรัสที่ว่า

"...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับ ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความ

พอมีพอกินพอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควร และปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญ และฐานะทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป..." (18 กรกฎาคม 2517)

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้แนวทางการดำรงอยู่ และการปฏิบัติของ

ประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน ถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศ ให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์  ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีภูมิคุ้มกันในตัวเอง ที่มีต่อผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งจากภายนอกและภายใน ซึ่งจะต้องอาศัย ความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวัง ในการนำวิชาต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน ขณะเดียวกันยังต้องเสริมสร้างพื้นฐานทางด้านจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่รัฐ นักทฤษฏี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีจิตสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ มีปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอก

                   ผมเองมีสนใจการจักสานมาแต่เดิม เนื่องจากพ่อเป็นช่างจักสาน จึงมีใจรักและอยากสืบสานอาชีพนี้

วัตถุประสงค์ ->

๑. ตัดไม้ไผ่แก่มาผ่าซีกและผ่าแบ่งเป็นเสี้ยวเล็ก ๆ ขนาดประมาณ ๑ ซม. และอีกส่วนหนึ่งผ่าประมาณ ๑ นิ้ว เพื่อใช้ทำขอบปากตะกร้าและมือจับ

๒. นำแต่ละชิ้นที่ผ่าไว้ ลอกใช้แต่ส่วนเปลือก โดยใช้มีดคม ๆ เหลาหรือขูดเนื้อไม้ออกและเหลือแต่ส่วนเปลือกบาง ๆ และเหนียว

๓. เริ่มต้นสานตะกร้า โดยเริ่มที่ก้นก่อน โดยใช้ส่วนที่แข็งกว่าและหนากว่าสานที่ก้น ความยาวของไม้ตามขนาดของตะกร้า เส้นที่แข็งกว่าสานขึ้นตามแนวตั้ง ความห่างเท่า ๆ กัน ส่วนเส้นไม้ไผ่ที่บาง นิ่ม สานตามขวางชั้นมาเรื่อย ๆ แน่น มีลักษณะเป็นวงกลมแต่ปากตะกร้าจะกว้างกว่าก้นตะกร้า พอได้ขนาดตามต้องการใช้ไม้ไผ่ขนาด ๑ นิ้ว ทำให้เป็นวงกลมและวางไว้ที่ขอบปากตะกร้า ใช้ไม่ไผ่ส่วนที่ตั้งขึ้น พัน หรือ บิดลงไปด้านล่าง สานลงไปประมาณ ๑ นิ้ว จนแน่นไม่หลุด ตัดเศษที่เหลือทิ้ง ตกแต่งให้สวยงาม

๔. ใส่หูหรือที่หิ้ว ซึ่งทำจากไม้ไผ่และโค้งงอได้ ใช้เชือกหรือหวายพันให้แน่น หรือใช้เชือกที่เป็นสีพันที่มือจับจนมิด นำไปใช้งานหรือขายได้

๕. หากต้องการเก็บไว้ใช้งานได้นาน ทาเล็กเกอร์เคลือบไม้ไผ่ทั้งด้านในและด้านนอก แล้วนำไปตากแดดให้แห้ง

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ขยัน มานะ อดทน

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดขอนแก่น
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา