เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

เทคนิคการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน

โดย : นายสุรัตน์ จันทร์ศรี ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-07-01-18:06:48

ที่อยู่ : 57 หมู่ 8 ตำบลโนนสะอาด

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

"เศรษฐกิจพอเพียง" เป็นแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่

พระราชทานมานานกว่า 30 ปี ซึ่งเป็นแนวคิดที่ตั้งอยู่บนรากฐานของวัฒนธรรมไทย เป็นแนวทางการพัฒนาขั้นพื้นฐานที่ตั้งอยู่บนทางสายกลาง และความไม่ประมาทซึ่งคำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล การสร้างภูมิคุ้มกันในตัวเอง ตลอดจนการใช้ความรู้และคุณธรรมเพื่อเป็นพื้นฐานในการดำเนินชิวิต ซึ่งต้องมี "สติ ปัญญา และความเพียร" เป็นที่ตั้ง ซึ่งจะนำไปสู่ความสุขในชีวิติที่แท้จริง ดังพระราชดำรัสที่ว่า

"...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับ ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความ

พอมีพอกินพอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควร และปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญ และฐานะทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป..." (18 กรกฎาคม 2517)

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้แนวทางการดำรงอยู่ และการปฏิบัติของ

ประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน ถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศ ให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์  ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีภูมิคุ้มกันในตัวเอง ที่มีต่อผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งจากภายนอกและภายใน ซึ่งจะต้องอาศัย ความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวัง ในการนำวิชาต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน ขณะเดียวกันยังต้องเสริมสร้างพื้นฐานทางด้านจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่รัฐ นักทฤษฏี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีจิตสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ มีปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอก

                   ผมเองมีบรรพบุรุษเป็นเกษตรกร จึงมีใจรักในการทำการเกษตร ซึ่งพ่อแม่ให้มา และได้สืบต่ออาชีพนี้มาจนถึงปัจจุบัน

วัตถุประสงค์ ->

1.เตรียมพื้นที่ปลูก ด้วยการวัดความเป็นกรดหรือด่างของดิน ซึ่งดอกขจรจะชอบดินที่เป็นกรดเล็กน้อย จากนั้นไถกลบดิน 2 ครั้ง และตากแดทิ้งไว้ ประมาณ 1 อาทิตย์ เพื่อฆ่าเชื้อโรค แล้วค่อยหว่านปูนขาวปรับสภาพดินด้วยก็ได้

2. จำเป็นต้องเลือกชนิดพันธุ์ดอกขจรที่จะปลูกให้เหมาะสม ซึ่งมีด้วยกัน 2 ชนิด คือ ขจรพันธุ์พื้นเมืองและขจรพันธุ์ดอก ซึ่งดอกขจรพันธุ์ได้มาจากการปรับปรุงสายพันธุ์ของดอกขจรพันธุ์พื้นเมืองทำให้ได้ขจรที่มีดอกที่ใหญ่และดกมากขึ้น

3.ขุดหลุมระยะห่างกัน 2 คูณ 2 เมตร เพราะฉนั้นใน 1 ไร่ จะปลูกดอกขจรได้จำนวน 400 ต้น รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกหลุมละครึ่งกิโลกรัม พรวนดินผสมกันกับปุ๋ยให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน เสร็จแล้วนำต้นดอกขจรมาลงหลุมแล้วนำฟางมาคลุมไว้ เพื่อรักษาความชื้นให้กับต้นขจรและป้องกันหญ้าขึ้นได้อีกด้วย

4. การให้น้ำดอกขจร ถึงแม้ขจรจะไม่ชอบน้ำแต่ก็ไม่สามารถขาดน้ำได้เลย ควรรดน้ำวันละครั้งเพื่อให้ดอกมีที่โตและไม่เหี่ยวเฉา

5. ควรใส่ปุ๋ยให้เหมาะสมกับต้นดอกขจร ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 สลับกับปุ๋ยสูตร 25-7-7 โดยใส่สลับกันทุก 15 วัน

6. ควรป้องกันศัตรูของดอกขจร โดยเฉพาะ เพลี้ยไฟ ด้วยวิธีการป้องกันที่เหมาะสม

7. ควรทำค้างดอกขจรที่เหมาะสม ดอกขจรจะได้รับแสงแดดและออกดอกที่ดี

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ขยัน มานะ อดทน

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดขอนแก่น
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา