เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

เทคนิคของพัฒนาการอำเภอในการบริหารงาน

โดย : นายสุพจน์ ปัญญาแก้ว ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-05-27-13:56:26

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอภูเวียง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

กรมการพัฒนาชุมชน  ได้กำหนดพื้นที่เป้าหมายในการดำเนินงาน “การสร้างสัมมาชีพชุมชน” ทั่วประเทศ  จำนวน  ๒๓,๕๘๙  หมู่บ้าน  โดยจังหวัดขอนแก่น ได้รับงบประมาณในการดำเนินงานตามโครงการดังกล่าว  จำนวน ๕๒๘  หมู่บ้าน และอำเภอภูเวียง  ได้รับงบประมาณดำเนินการ  จำนวน  ๒๗  หมู่บ้าน ซึ่งจะเห็นได้มีหมู่บ้านเป้าหมายกระจายและกระจุกไปอยู่ในพื้นที่ของบางตำบล และมีบางตำบลที่เป็นตำบลขนาดใหญ่ได้รับงบประมาณดำเนินการครบทุกหมู่บ้าน มีบางตำบลไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณลงในพื้นที่ที่พัฒนากรคนนั้นรับผิดชอบเลย       ในการบริหารงานของสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอนั้น ได้มีการมอบหมายและแบ่งงานให้เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน (พัฒนากร)รับผิดชอบพื้นที่ โดยมีคำสั่งแต่งตั้งให้พัฒนากรรับผิดชอบประจำตำบล  ซึ่งหากปล่อยให้เป็นหน้าที่ของพัฒนากรผู้รับผิดชอบตำบลเป็นผู้รับผิดชอบแล้วก็อาจจะเกิดความล้าช้า  ขาดคุณภาพและประสิทธิภาพในการดำเนินงาน  อีกทั้งพัฒนากรที่ไม่มีหมู่บ้านเป้าหมายก็จะขาดโอกาสในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองในการทำงานกับชุมชน  ซึ่งเป็นกระบวนการทำงานที่มีเป้าหมายสำคัญในการบรรลุวิสัยทัศน์ของกรมการพัฒนาชุมชน

วัตถุประสงค์ ->

๑.     สร้างความเข้าใจ

พัฒนาการอำเภอ จะต้องสร้างความเข้าใจกับทีมงานพัฒนากรถึงปัญหาข้อจำกัดเหตุผลความจำเป็นใน

การที่จะต้องขับเคลื่อนการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีคุณภาพ/ประสิทธิภาพ ตามห้วงระยะเวลาที่กำหนด สร้างการรับรู้เกี่ยวกับแนวทางการขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพให้กับบุคลากรของหน่วยงานและภาคีกลุ่ม/องค์กรที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจน เพื่อเป็นกำลังเสริมและแรงหนุนในการขับเคลื่อน

               สิ่งที่ต้องพึงระวังในขั้นตอนนี้  คือ “การยอมรับ” ของพัฒนากร  พัฒนาการอำเภอจะต้องให้ความมั่นใจในการขับเคลื่อนงานฯ บทบาทภาระหน้าที่ของพัฒนากร มีความโปร่งใส ชัดเจนในกระบวนงานและการบริหารงบประมาณ สามารถมองและชี้ภาพแห่งอนาคตของการขับเคลื่อนฯที่จะเกิดขึ้นในชุมชน และอธิบายให้กับพัฒนากรได้เข้าใจในแนวทางเดียวกัน

๒.     มอบหมายพื้นที่

พัฒนาการอำเภอ มีความจำเป็นที่จะต้องปรับการทำงานของพัฒนากรใหม่ นอกจากรับผิดชอบงานตาม

ภารกิจของตนเองในสำนักงานแล้ว จะต้องแบ่งงานและมอบหมายงานในพื้นที่ ๒ ลักษณะ คือ  งานในพื้นที่ตำบลรับผิดชอบ  และงานหมู่บ้านสัมมาชีพชุมชนรับผิดชอบเพื่อกระจายหมู่บ้านเป้าหมายสัมมาชีพชุมชนที่กระจุกอยู่ในบางตำบลให้พัฒนากรคนอื่นที่ไม่มีหมู่บ้านเป้าหมาย  หรือมีน้อยได้เข้าไปช่วยเหลือกันอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง และเรียนรู้งานสัมมาชีพชุมชน ถือเป็นโอกาสในการพัฒนาบุคลากร และสร้างความสมัครสมานสามัคคีช่วยเหลือเกื้อกูลกันในการทำงาน

           สิ่งที่ต้องพึงระวังในขั้นตอนนี้  คือ “ความเสียสละทุ่มเท” พัฒนากรอำเภอจะต้องสร้างขวัญกำลังใจในการทำงาน  ต้องใช้ผลการทำงานสัมมาชีพชุมชนเป็นส่วนหนึ่งในการชื่นชมให้กำลังใจ และพิจารณาความดีความชอบ ไม่ใช่ว่าให้ไปทำงานในพื้นที่ตำบลอื่นโดยไม่มีผลตอบแทน

๓.     พช.ต้องไม่หนีจากประชาชน

พัฒนาการอำเภอ  จะต้องติดตามให้คำแนะนำเป็นที่ปรึกษาให้กับพัฒนากร รวมทั้งปราชญ์สัมมาชีพ

ทีมสนับสนุนการขับเคลื่อนฯ และครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนอย่างต่อเนื่องในทุกกระบวนงาน โดยเฉพาะพัฒนากรนั้นจะต้องกำกับดูแลให้เข้าปฏิบัติงานในพื้นที่เป้าหมาย ร่วมกับภาคีการทำงาน ทำให้เห็นภาพพัฒนากรที่ทำงานในพื้นที่จริงๆ เข้าไปมีส่วนร่วมในทุกกระบวนงานในหมู่บ้านที่รับผิดชอบ ซึ่งจะทำให้ชาวบ้านมีความไว้วางใจ เชื่อมั่นและศรัทธา

            สิ่งที่ต้องพึงระวังในขั้นตอนนี้ คือ “การสร้างจิตวิญญาณของการเป็นพัฒนากร” ในขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดของการทำงานสัมมาชีพชุมชน พัฒนากรที่ขาดจิตวิญญาณ ขาดอุดมการณ์แทนที่จะใช้โอกาสนี้ในการพัฒนาตนเอง ก็อาจใช้ในการแสวงหาประโยชน์จากการทำงาน  จำเป็นที่จะต้องสร้าง/เสริมแรงกระตุ้นและเร่งเร้าการทำงานโดยอาศัยกลไกลของการทำงานสัมมาชีพฯ คือ ปราชญ์สัมมาชีพชุมชน ไว้คอยเป็นเงาในการทำงานของพัฒนากร ต้องสร้างเครือข่ายปราชญ์ฯในระดับอำเภอ  สร้างเวทีให้ปราชญ์/เครือข่ายปราชญ์ฯและเจ้าหน้าที่ได้มีโอกาสพบและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการทำงานอยู่ตลอดเวลา

๔.      ประเมินผลการทำงาน

เป็นขั้นตอนที่จะต้องเสริมสร้างให้เกิดความภาคภูมิใจร่วมกันในการทำงานระหว่างภาคราชการและ

ประชาชนโดยมีเป้าหมายให้เกิดความยั่งยืน/ต่อเนื่องและขยายผลในการทำงานสร้างสัมมาชีพในชุมชน สู่ครัวเรือนเป้าหมายและครัวเรือนข้างเคียง  การประเมินผลการทำงานตามตัวชี้วัดที่กำหนดว่าบรรลุเป้าหมายนั้น จะไม่สามารถทำให้งานสัมมาชีพชุมชนมีความยั่งยืนได้อย่างแท้จริง 

                 สิ่งที่ต้องพึงระวังในขั้นตอนนี้ คือ “การสร้างกระแสสัมมาชีพชุมชนสู่วิถีชุมชน”  จะต้องเปิดโอกาสให้บุคคลนอกกลุ่มเป้าหมายได้เข้ามามีส่วนร่วมและขยายผลสู่ทุกครัวเรือนให้เกิดการเรียนรู้ในชุมชนอย่างทั่วถึงจนกลายเป็นกระแสของชุมชน โครงการ/กิจกรรมของชุมชนที่เกิดจากการติดตามประเมินผลในขั้นตอนนี้ จะต้องมีภาคีหน่วยงานที่สามารถรองรับช่วยเหลือสนับสนุนให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรม

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

๑. วิสัยทัศน์ของพัฒนาการอำเภอ ในการคิดวิเคราะห์ถึงศักยภาพ ขีดความสามาร แนวโน้มความเป็นไปได้ของพื้นที่ ผู้นำและบุคลากรภาคีการทำงานที่เกี่ยวข้อง

                 ๒. การกำหนดเป้าหมายร่วมกันในการทำงานที่ชัดเจน มีแผนการทำงานที่ทุกคน(พัฒนากร) มีความเข้าใจและปฏิบัติได้จริง

                ๓. มีบุคลากรที่เป็นทีมงาน(พัฒนากร) ที่มีศักยภาพ มีความรับผิดชอบและอุดมการณ์ เป็นผู้บริหารจัดการงานสัมมาชีพในชุมชนที่ตนเองรับผิดชอบ สามารถขับเคลื่อนงานสัมมาชีพในพื้นที่รับผิดชอบไปในทิศทางเดียวกันตามเป้าหมายและแผนปฏิบัติการที่กำหนด

                 ปัจจัยแห่งความสำเร็จทั้งสามประการ  จะต้องประสานสอดรับซึ่งกันและกัน หากปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งมีปัญหาจะทำให้เกิดสภาวะการขบเกลี่ยว จะต้อง “คิด พูด ทำ” ไปในแนวทางเดี่ยวกัน

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดขอนแก่น
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา