เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

การส่งเสริมหมู่บ้านสัมมาชีพชุมชนโดยใช้หลักการมีส่วนร่วม

โดย : นางพวงเพ็ญ เจริญรัฐมงคล ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-05-23-17:01:22

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอสีชมพู

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

กรมการพัฒนาชุมชน ได้กำหนดวาระกรมการพัฒนาชุมชน ปี 2560 (CDD Agemda 2017) ปัจจัยขับเคลื่อนหลักที่หนึ่ง การพัฒนาอาชีพครัวเรือน ด้วยการส่งเสริมการขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่เป้าหมาย เพื่อให้ครัวเรือนเป้าหมายได้รับการฝึกอาชีพและสามารถนำความรู้ไปประกอบอาชีพ สร้างรายได้ให้กับครัวเรือนและต่อยอดในการจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพที่เข้มแข็ง

วัตถุประสงค์ ->

วิธีการหรือกระบวนการ ที่ส่งผลให้งานนั้น ๆ ประสบผลสำเร็จ

                   การส่งเสริม/การพัฒนาหมู่บ้านปากห้วยฝาง ให้เป็นหมู่บ้านสัมมาชีพชุมชนโดยใช้หลักการมีส่วนร่วม โดยพัฒนากรผู้ประสานงานตำบล จะต้องยึดหลักการทำงาน  5 ช. และ 3 ก. ดังนี้

                   ช. 1 ชี้เป้าหมาย บ้านปากห้วยฝาง  หมู่ที่ 3 ตำบลวังเพิ่ม อำเภอสีชมพู  จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ปี 2558

                   ช. 2 ชี้แจง การสร้างสัมมาชีพบนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเยงที่มีเป้าหมาย คือประชาชนได้รับการพัฒนาอาชีพและมีรายได้ ให้ชาวบ้านสอนชาวบ้านในสิ่งที่เขายากทำ ฝึกปฏิบัติจริงให้สามารถนำไปเป็นอาชีพได้ เพราะข้อเท็จจริงในพื้นที่หมู่บ้านจะมีคนเก่งในแต่ละอาชีพอยู่แล้ว ซึ่งหมู่บ้านจะต้องคัดเลือกปราชญ์ชาวบ้านหรือคนเก่งเหล่านี้ ยกให้เป็น “วิทยากรสัมมาชีพชุมชน” หลังจากนั้นกลับไปสร้างทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านเพิ่มเติมอีกจำนวน 4 คน แล้วเปิดรับลูกศิษย์ที่สนใจอยากฝึกอาชีพในแต่ละประเภทอาชีพ จำนวน 20 ครัวเรือน เมื่อผ่านการฝึกปฏิบัติแล้วขั้นพื้นฐานที่สุดก็จะสามารถสร้างอาชีพบนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสร้างรายได้เลี้ยงตนเองและครอบครัวได้

                   ช.3 ชัดเจน จะต้องเข้าใจกระบวนการสร้างสัมมนาชีพชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

                   ช. 4 ช่วยสนับสนุน วิชาการและกระบวนการสร้างสัมมาชีพชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมีโครงการที่ต้องดำเนินการต่อเนื่องสัมพันธ์กันใน 3 ลักษณะ คือ โครงการ จำนวน 5 โครงการ โครงการสนับสนุน 3 โครงการ และโครงการยกระดับต่อยอด จำนวน 7 โครงการ

                   ช. 5 ชมเชย ให้กำลังใจแก่ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านและครัวเรือนเป้าหมาย ยกย่องชมเชยและให้ครอบครัวที่ประสพผลสำเร็จเข้ามาบรรยายเคล็ดลับแห่งความสำเร็จ

                   ก. 1 กระบวนการชุมชน 5 ร่วม ได้แก่  ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตัดสินใจ  ร่วมรับประโยชน์ โดยให้ชาวบ้านปากห้วยฝาง ร่วมวางแผนที่เหมาะสมและสอดคล้องกับวิถีชีวิตโดยยึดแผนชุมชนเป็นแนวทาง ร่วมตัดสินใจ ดำเนินกิจกรรมตามแผนที่วางไว้ และทำกิจกรรมร่วมกัน ซึ่งได้แก่ การส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงหนูนาหรือหนูพุก ร่วมรับประโยชน์ร่วมกัน คือ อาชีพเลี้ยงหนูนาหรือหนูพุก เป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือน ครัวเรือนเป้าหมาย จำนวน 20 ครัวเรือน ทุกคนมีความสุข อยู่อย่างพอเพียง ไม่เป็นหนี้นอกระบบ และยังต่อยอดขยายผลครัวเรือนภายในหมู่บ้านในการจัดตั้งกลุ่มอาชีพการเลี้ยงหนูนาหรือหนูพุกที่เข้มแข็ง

                   ก. 2 กระตุ้น ส่งเสริมและสนับสนุนให้ทีมวิทยากรสัมมาชีพระดับหมู่บ้านและครัวเรือนเป้าหมาย ร่วมกันคิดวิเคราะห์-สังเคราะห์ปัญหาของชุมชน โดยใช้ข้อมูล จปฐ. กชช.2ค และข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและสภาพปัญหาปัจจุบัน หาปัญหา สาเหตุ และแนวทางแก้ไขปัญหา ตลอดทั้งพาไปศึกษาดูงานอาชีพที่ประสบผลสำเร็จนอกพื้นที่ และนำมาเปรียบเทียบกับหมู่บ้านของตน

                   ก. 3  เกาะติดพื้นที่ พัฒนากรผู้ประสานงานตำบล จะต้องทำงานร่วมกันทีมวิทยากรสัมมาชีพและครัวเรือนเป้าหมายภายในหมู่บ้าน เพื่อให้คำปรึกษาและสนับสนุนการดำเนินงานสัมมาชีพอย่างสม่ำเสมอ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. การพัฒนาเกิดจากความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง

                   2. ประชาชนยึดหลักประชาธิปไตย

                   3. เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายอย่างเต็มใจ

                   4. ประชาชนเกิดการเปลี่ยนแปลงทัศนคติเดิม ๆ มาเป็นการพัฒนาแนวใหม่

                   5. เจ้าหน้าที่ภาครัฐและต้องทำงานเคียงคู่กับชุมชน

อุปกรณ์ ->

1. การบริหารจัดการในหมู่บ้านต้องยึดหลักความยุติธรรมและความโปร่งใส

2. ความไม่เข้าใจแบ่งพรรคแบ่งพวกก่อให้เกิดความแตกแยกทำให้ประสพผลสำเร็จ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดขอนแก่น
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา