เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

สัมมาชีพชุมชนสู่หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์

โดย : นางทัศนีย์ หีบแก้ว ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-05-20-23:46:29

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่  ๑๒ (พ.ศ. 2560 – 2564 ) ได้กำหนด

ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมลดความเหลื่อมล้ำด้านสังคม และการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญ ที่มุ่งหวังแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับปากท้องของประชาชนในระดับล่างที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ โดยมีแผนงานที่สำคัญคือ แผนงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็ง ซึ่งได้มอบให้กระทรวงมหาดไทยที่มีกรมการพัฒนาชุมชนเป็นหน่วยงานหลัก บูรณาการไปสู่การปฏิบัติ  ปี 2560 กรมการพัฒนาชุมชนจึงมุ่งเน้นที่การยกระดับเศรษฐกิจฐานราก นั่นคือ รายได้ ที่ต้องทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยการสร้างอาชีพ จึงเป็นที่มาของ สัมมาชีพชุมชน ซึ่งหมายถึง  ชุมชนที่มีการประกอบอาชีพโดยชอบ มีรายได้มากว่ารายจ่าย โดยลดการเบียดเบียนตนเอง ผู้อื่น และสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ต้องสอดคล้องกับวิถีของชุมชนเพื่อความมุ่งหมายในการสร้างระบบเศรษฐกิจชุมชน

          หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ เกิดขึ้นในห้วงเวลาที่ประเทศชาติกำลังเผชิญปัญหาวิกฤตทางเศรษฐกิจ และประชาชนทุกระดับประสบปัญหาความยกจน รัฐบาลจึงได้ประกาศสงครามกับความยากจน โดยได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาว่าจะจัดให้มีโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ เพื่อให้แต่ละชุมชนได้ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการพัฒนาสินค้า ผลิตภัณฑ์และบริการ ที่มีคุณภาพ มีจุดเด่น และมูลค่าเพิ่ม โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์จึงเป็นโครงการในการเพิ่มอาชีพ และรายได้ให้กับชุมชนในระดับรากหญ้า

          โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ และโครงการสัมมาชีพชุมชน  มีเป้าหมายอันเดียวกันคือ  ส่งเสริมให้มีการประกอบอาชีพ มีรายได้มากว่ารายจ่าย  โดยใช้ภูมิปัญญา จุดเด่น และทรัพยากรที่มีในชุมชน

วัตถุประสงค์ ->

กระบวนการ  หมู่บ้านสัมมาชีพชุมชนอำเภอภูเวียง  มีจำนวน  27 หมู่บ้าน คัดเลือกจากหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง แต่ละหมู่บ้านค่อนข้างมีศักยภาพทั้งด้านบุคลากร  ทรัพยากร ภูมิปัญญา มีการคัดเลือกผู้นำปราชญ์ไปอบรมเป็นวิทยากรสัมมาชีพ กลับมาเลือกทีมปราชญ์ชุมชน จากนั้นทีมปราชญ์ไปคัดเลือกครัวเรือนเป้าหมาย อีก 20 ครัวเรือนเพื่อเข้ารับการฝึกอบรม ส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน  ตลอดระยะ  5 วันตามหลักสูตร พัฒนากรในฐานะพี่เลี้ยง จะต้องสังเกตความสนใจ ความมุ่งมั่งของปราชญ์และครัวเรือนเป้าหมาย เมื่อมีการค้นหาจุดแข็ง จุดอ่อนของชุมชน ศักยภาพและข้อจำกัด จะเห็นภาพร่างของหมู่บ้านว่ามีอะไรเป็นต้นทุนพอที่จะต่อยอดให้เกิดความยั่งยืนได้ 

วิธีการ   วิธีการการในการกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ตัวเองของชุมชนคือ

          1.การเรียนรู้ตัวเอง  ใช้เทคนิคการเล่าเรื่อง  โดยให้ผู้เฒ่าในหมู่บ้านมาเล่าสภาพความเป็นอยู่ของชุมชนในอดีต สิ่งที่มีในอดีต วิถีชีวิต  ประเพณีวัฒนธรรมในอดีต เป็นการย้อนอดีตเล่าไปเรื่อยๆจนมาถึง ณ ปัจจุบัน  โดยมีการแลกเปลี่ยนจากครัวเรือนสัมมาชีพบ้าง

          2. ให้ที่ประชุมได้ช่วยกันรำลึกชุมชนจากคำบอกเล่าของผู้เฒ่า ประกอบไปด้วย  สิ่งที่มีในอดีต  สิ่งที่มีในปัจจุบัน อะไรบ้างที่ขาดหายไป 

          3. ช่วยกันวางแผนว่าอนาคตอยากให้ชุมชนเป็นอย่างไร ถ้าจะเป็นแบบฝันได้จะต้องทำอะไรบ้าง ก็ต้องกำหนดแผนปฏิบัติการร่วมกัน

          4. ในเรื่องอาชีพ  จากทรัพยากรในชุมชนที่มี ภูมิปัญญา ผนวกกับความต้องการ ความรักในอาชีพชุมชนจะตั้งกลุ่มอาชีพขึ้นมาเพื่อสานต่อสัมมาชีพชุมชน

          เทคนิค   กลุ่มอาชีพที่ตั้งขึ้น  ควรมีการพัฒนาต่อยอดให้เป็นกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP เพื่อให้เป็นกลุ่มอาชีพที่สร้างรายได้อย่างแท้จริง แนวทางการพัฒนากลุ่มอาชีพสู่การเป็นสินค้า หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) คือ

1.      ส่งเสริม สนับสนุนให้มาลงทะเบียนเป็นสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ของอำเภอ

2.      ประสาน ส่งเสริม สนับสนุน  ให้มีการขอมาตรฐานเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์ เช่น มาตรฐาน

ผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.)

3.      ให้เข้ารับการพัฒนาผลิตภัณฑ์เมื่อมีโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด

หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

          4.กลุ่มอาชีพที่เกิดขึ้นควรมีการพัฒนาต่อยอด หรือเพิ่มมูลค่าของสินค้า  เช่น  กลุ่มแปรรูปกล้วย ควรจะมีผลิตภัณฑ์หลากหลายชนิด ต้องสามารถผลิตได้ทั้งเป็นกล้วยฉาบ  กล้วยกวน ขนมกล้วย กล้วยตาก และควรมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง อาจจะมีรูปร่างเป็นลักษณะเฉพาะของกลุ่ม เป็นต้น

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ณ ปัจจุบัน ยังไม่สามารถบอกได้ว่ามีความสำเร็จแล้วหรือไม่  แต่เป็นการก้าวไปสู่การแก้ไขปัญหาปากท้องของประชาชนจากทรัพยากร ภูมิปัญญาท้องถิ่น  โดยคนในชุมชนเองซึ่งคาดหวังว่าจะมีการพึ่งพาตนเองของชุมชนอย่างแท้จริงและยั่งยืน  การเดินมาถึงจุดที่คิดว่าน่าจะบรรลุตามยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมลดความเหลื่อมล้ำด้านสังคม และการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญ ที่มุ่งหวังแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับปากท้องของประชาชนในระดับล่างที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่  ๑๒ (พ.ศ. 2560 – 2564 ) มีปัจจัยมาจาก

1.      กระบวนการสัมมาชีพชุมชน  มีแนวทางพัฒนาอย่างเป็นขั้นเป็นตอน  มีกลุ่มเป้าหมายชัดเจน ไม่

ต้องมากมายแต่มีคุณภาพ  แล้วค่อยขยายต่อไปเรื่อยๆโดยการเรียนรู้ซึ่งกันและกันของคนในชุมชน

2.      ในกระบวนการทำงานมีงบประมาณมาสนับสนุนการดำเนินงาน ให้สามารถเห็นเป็นรูปธรรมได้

ว่า  สิ่งที่ชุมชนคิดสามารถนำสู่การปฏิบัติได้จริง

3.      กลุ่มอาชีพที่เกิดขึ้น พัฒนาต่อยอดมาเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP และมีงบประมาณมาต่อยอดให้มี

มาตรฐาน คุณภาพ  สามารถก้าวสู่สากล ซึ่งน่าจะเป็นการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับกลุ่มอาชีพได้อย่างแท้จริง

 

อุปกรณ์ ->

1.อยู่กับชาวบ้านจะต้องเรียนรู้จากชาวบ้าน  ทั้งด้านทรัพยากร (คน เงิน วัสดุ แนวทางบริหารจัดการชุมชน) เพื่อจะได้วางแผนการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

          2.วางแผนการทำงานร่วมกัน  อย่าเอาแนวคิดของเราไปใส่ แต่เป็นกระบวนการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน นำแนวคิดพัฒนากรไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน แล้วให้ชาวบ้านเป็นคนเลือกว่าเขาจะเดินไปสู่จุดหมายด้วยวิธีการใด ใครจะเป็นคนนำพา

          3. การทำงานกับชุมชนจะต้องทำจากสิ่งที่เขารู้และมี ชุมชนจะได้มีกำลังใจในการทำงานและรู้สึกว่าไม่ยากเกินกว่าที่จะทำด้วยตัวของชุมชนเอง

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดขอนแก่น
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา