เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การพัฒนาอาชีพครัวเรือนตามแนวทางสัมมาชีพ

โดย : นางสาวศิริพร สันติวิสุทธิ์ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-06-22-10:36:42

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดกาญจนบุรี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ ได้กำหนดยุทธศาสตร์การสร้างความเป็น

ธรรมลดความเหลื่อมล้ำในสังคม เป็น ๑ ใน ๑๐ ยุทธศาสตร์การพัฒนาตามแผนฯ และรัฐบาลได้กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน จำนวน ๑๑ ด้าน ซึ่งมีนโยบายการลดความเหลื่อมล้ำของสังคม และการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐ เป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญ ที่มุ่งหวังแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับปากท้องของประชาชนในระดัดบล่างที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ โดยมีแผนงานที่สำคัญคือ แผนงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก และชุมชนเข้มแข็ง ซึ่งได้มอบให้กระทรวงมหาดไทย ที่มีกรมการพัฒนาชุมชนเป็นหน่วยงานหลักบูรณาการไปสู่การปฏิบัติ

          ปัจจุบันนี้สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพของประชาชนภาคการเกษตรในชุมชนมีภาวะความเสี่ยงของอาชีพภาคเกษตรกรรม ที่เกิดจากการประกอบอาชีพแบบดั้งเดิม เช่น ปลูกพืชเชิงเดี่ยว โรคพืช ราคาผลผลิตตกต่ำ การไม่มีอาชีพหรือรายได้เสริม หลังฤดูการผลิต และยังมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มอาชีพค่อนข้างน้อย  ส่วนกลุ่มอาชีพที่มีอยู่ยังไม่ได้รับการส่งเสริม และพัฒนาอย่างเพียงพอ ส่งผลให้ประชาชนต้องเคลื่อนย้ายไปประกอบอาชีพในเมือง และมีส่วนราชการที่มีสถานที่หรือศูนย์ฝึกอบรมซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนเป็นศูนย์ฝึกอาชีพ แหล่งเรียนรู้การประกอบอาชีพได้ แต่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เท่าที่ควร ประกอบกับมีปราชญ์ชุมชนด้านอาชีพที่เชี่ยวชาญและประสบผลสำเร็จในการประกอบอาชีพด้านต่างๆ อยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชน        แต่มีส่วนน้อยที่สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นนำไปทำตามให้สำเร็จได้

          ดังนั้นด้วยเหตุปัจจัยดังกล่าวข้างต้น ดำเนินการในปี ๒๕๖๐  นี้ จึงมุ่งเน้นที่การยกระดับเศรษฐกิจฐานราก นั่น คือ “รายได้” ที่ต้องทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยการสร้างอาชีพ จึงเป็นที่มาของ “สัมมาชีพชุมชน” ซึ่งกำหนดแผนการสร้างสัมมาชีพชุมชนบนหลักปรัชญาของเศษฐกิจพอเพียงที่มีเป้าหมาย คือ       ประชาชนได้รับการพัฒนาอาชีพและมีรายได้ โดยให้ชาวบ้านสอนชาวบ้านในสิ่งที่เขาอยากทำ ฝึกปฏิบัติจริงให้สามารถนำไปเป็นอาชีพได้

วัตถุประสงค์ ->

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ ได้กำหนดยุทธศาสตร์การสร้างความเป็น

ธรรมลดความเหลื่อมล้ำในสังคม เป็น ๑ ใน ๑๐ ยุทธศาสตร์การพัฒนาตามแผนฯ และรัฐบาลได้กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน จำนวน ๑๑ ด้าน ซึ่งมีนโยบายการลดความเหลื่อมล้ำของสังคม และการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐ เป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญ ที่มุ่งหวังแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับปากท้องของประชาชนในระดัดบล่างที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ โดยมีแผนงานที่สำคัญคือ แผนงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก และชุมชนเข้มแข็ง ซึ่งได้มอบให้กระทรวงมหาดไทย ที่มีกรมการพัฒนาชุมชนเป็นหน่วยงานหลักบูรณาการไปสู่การปฏิบัติ

          ปัจจุบันนี้สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพของประชาชนภาคการเกษตรในชุมชนมีภาวะความเสี่ยงของอาชีพภาคเกษตรกรรม ที่เกิดจากการประกอบอาชีพแบบดั้งเดิม เช่น ปลูกพืชเชิงเดี่ยว โรคพืช ราคาผลผลิตตกต่ำ การไม่มีอาชีพหรือรายได้เสริม หลังฤดูการผลิต และยังมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มอาชีพค่อนข้างน้อย  ส่วนกลุ่มอาชีพที่มีอยู่ยังไม่ได้รับการส่งเสริม และพัฒนาอย่างเพียงพอ ส่งผลให้ประชาชนต้องเคลื่อนย้ายไปประกอบอาชีพในเมือง และมีส่วนราชการที่มีสถานที่หรือศูนย์ฝึกอบรมซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนเป็นศูนย์ฝึกอาชีพ แหล่งเรียนรู้การประกอบอาชีพได้ แต่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เท่าที่ควร ประกอบกับมีปราชญ์ชุมชนด้านอาชีพที่เชี่ยวชาญและประสบผลสำเร็จในการประกอบอาชีพด้านต่างๆ อยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชน        แต่มีส่วนน้อยที่สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นนำไปทำตามให้สำเร็จได้

          ดังนั้นด้วยเหตุปัจจัยดังกล่าวข้างต้น ดำเนินการในปี ๒๕๖๐  นี้ จึงมุ่งเน้นที่การยกระดับเศรษฐกิจฐานราก นั่น คือ “รายได้” ที่ต้องทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยการสร้างอาชีพ จึงเป็นที่มาของ “สัมมาชีพชุมชน” ซึ่งกำหนดแผนการสร้างสัมมาชีพชุมชนบนหลักปรัชญาของเศษฐกิจพอเพียงที่มีเป้าหมาย คือ       ประชาชนได้รับการพัฒนาอาชีพและมีรายได้ โดยให้ชาวบ้านสอนชาวบ้านในสิ่งที่เขาอยากทำ ฝึกปฏิบัติจริงให้สามารถนำไปเป็นอาชีพได้

๑)      ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน สนับสนุน ติดตามสนับสนุน และกำกับให้ ๒๐

3) ครัวเรือนสามารถนำความรู้จากการฝึกอบรมไปประกอบอาชีพ ให้ก่อเกิดอาชีพ และมีรายได้ หรือลดรายจ่ายได้อย่างต่อเนื่อง  และสนับสนุนให้ชุมชนจัดระบบบริหารการจัดการเงินทุนประกอบอาชีพ เพื่อให้ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนรวมกลุ่ม สามารถประกอบอาชีพได้อย่างต่อเนื่องตามแนวทางสัมมาชีพชุมชน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

๑)      ผู้นำชุมชนให้ความสำคัญกับโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน

๒)      ครัวเรือนเป้าหมายสมัครใจในการเข้าร่วมโครงการ

๓)      ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนมีความเข้มแข็ง อดทน และเสียสละ

๔)      มีงบประมาณสนับสนุน

อุปกรณ์ ->

๑)      ในการคัดเลือกครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน ควรคัดเลือกครัวเรือนที่มีรายได้น้อยเป็นลำดับแรก  และ

สมัครใจต้องการที่จะฝึกอาชีพ และพัฒนาตนเองจริงๆ

๒)      ในการอบรมให้ความรู้ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน ควรชี้แจงวัตถุประสงค์ของการจัดทำโครงการให้

ชาวบ้านได้เข้าใจอย่างชัดเจน และเห็นความสำคัญว่าทำไมต้องทำ ทำแล้วจะเกิดผลอย่างไรในระดับครัวเรือน หมู่บ้าน ไปจนถึงระดับประเทศ

๓)      ในการวิเคราะห์ความต้องการด้านอาชีพของครัวเรือนเป้าหมายควรพิจารณาศักยภาพชุมชน และ

เชื่อมโยงกับทิศทางการตลาดในปัจจุบัน รวมถึงนโยบายของจังหวัดนั้น ๆ  เพื่อเป็นการหาช่องทางการตลาดไปในคราวเดียวกัน

๔)      ช่องทางการจำหน่ายเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการสร้างสัมมาชีพชุมชน การประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์

ที่ได้จากการพัฒนาอาชีพครัวเรือนสัมมาชีพ ควรพึ่งพาโซเชียลมาช่วยในการประชาสัมพันธ์ เช่น line facebook ซึ่งเป็นช่องทางที่ไม่มีค่าใช้จ่าย และสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้หลากหลาย

๕)      การส่งเสริมให้ครัวเรือนสัมมาชีพมีการจัดทำบัญชีครัวเรือน เพื่อเป็นการรู้ตนเอง และเห็นถึง

ค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนว่าใช้จ่ายอะไรไปบ้าง และสามารถลดค่าใช้จ่ายส่วนไหนได้บ้าง เช่นการปลูกผักกินเองบางอย่าง ก็สามารถลดรายจ่ายในครัวเรือนได้อย่างต่อเนื่อง

กระบวนการ/ขั้นตอน->

๑)      ในการจัดทำโครงการฯ ใช้ระยะเวลาหลายวัน  ครัวเรือนเป้าหมายบางครัวเรือนไม่สามารถเข้า

ร่วมโครงการฯ ได้ครบตามกำหนดเวลา  เพราะต้องไปประกอบอาชีพหลัก

๒)      ครัวเรือนเป้าหมายบางครัวเรือนไม่ให้ความสำคัญในการจัดทำโครงการฯ ของหน่วยงานราชการ

 แต่สมัครใจที่จะเข้าร่วมโครงการฯ เพียงเพราะอยากได้รับการสนับสนุนสิ่งของ หรืองบประมาณ และไม่เชื่อว่าจะทำให้เกิดรายได้ได้จริงๆ

๓)      สัมมาชีพเห็นผลช้า ต้องรอคอย ใช้ความอดทนสูง แต่การรับจ้างรายวันได้เงินทันที

๔)      ปัญหาช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์  ผลิตได้ แต่ไม่มีที่ขาย ซึ่งช่องทางการจำหน่ายของภาค

ราชการที่สนับสนุน มีน้อย และครัวเรือนสัมมาชีพ หรือกลุ่มสัมมาชีพชุมชน ก็ไม่ขวนขวายในการหาช่องทางการตลาดเอง ทำให้ผลิตแล้วขายไม่ได้ และเลิกล้มในที่สุด

๕)      การรวมกลุ่มมีปัญหาการไม่เท่าเทียมกันเรื่องผลประโยชน์ จึงมักทำคนเดียวดีกว่า

๖)      ครัวเรือนสัมมาชีพไม่กล้าปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต

๗)      การเชื่อมโยงผลิตภัณฑ์จากกลุ่มสัมมาชีพที่เกิดขึ้น กับการลงทะเบียนOTOP    หรือร้านค้า

ประชารัฐ อาจมีข้อกังวลในเรื่องคุณภาพของสินค้า

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดกาญจนบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา