เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การทำเตาอั้งโล่

โดย : นายเสนาะ ทับมนเทียน ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-06-16-10:55:54

ที่อยู่ : 11/2 หมู่ 1 ตำบลห้วยกระเจา อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เตาอั้งโล่เป็นเตาดินเผา รูปร่างคล้ายถัง ปากกลมผายออกเล็กน้อย ก้นสอบ ผนังเตาหนาประมาณ ๒ นิ้ว ด้านหน้าเจาะเป็นช่องสี่เหลี่ยมเสมอ พื้นเตาเป็นช่องให้อากาศเข้าหรือใช้พัดโบกให้ลมเข้าไปเร่งให้ไฟลุกแรงขึ้น ช่องปากเตานี้ มีฝาสำหรับปิดกันไม่ให้ขี้เถ้าปลิวออกมานอกเตา ปากเตาทำเป็นจมูกเตาสำหรับก้นหม้อ ๓ ปุ่มสูงขึ้นจากปากเตาเล็กน้อย เพื่อยกก้นภาชนะให้พ้นปากเตา เป็นการระบายอากาศ ช่วยให้ไฟลุกได้ดี ช่องระบายอากาศนี้มีฝาปิดทำด้วยดินเผาเช่นเดียวกัน ภายในเตาระหว่างปากเตากับก้นเตามีรังผึ้งหรือตะกรับ ทำด้วยดินเผาเป็นแผ่นกลม เจาะรูเรียงกันเป็นวงอย่างรังผึ้งเพื่อให้ขี้เถ้าร่วงลงไปก้นเตา และเป็นช่องให้อากาศถ่ายเทด้วย เตาอั้งโล่มีทั้งเล็กและใหญ่ตามขนาดของหม้อหรือภาชนะหุงต้ม เตาชนิดนี้ใช้ได้สะดวกกว่าเตาไฟแบบต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้ว เพราะเคลื่อนย้ายได้สะดวก และไม่เปลืองเนื้อที่ ตั้งบนพื้นเรือนได้เพราะมีก้นเตาป้องกันไฟไหม้พื้น จึงนิยมใช้กันทั่วไป โดยเฉพาะในชนบทที่ยังใช้ฟืนและถ่านเป็นเชื้อเพลิงหุงต้มอาหาร

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ

๑. ดินเหนียวตามธรรมชาติ  ๒. แกลบดำ/ขี้เถ้าขาว,ดำ ๓. น้ำ ๔. ถังสังกะสี ๕. พลาสติก/ผ้ายาง ๖. ฟืน ๗. สีน้ำมัน 

อุปกรณ์

๑.กรรไกร ๒. ฉาก ๓. มีดโค้ง ๔. เหล็กฉากเจาะประตูบน ๕. รางเหล็ก ๖. กล้องเจาะลิ้น

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

การทำเตาอั้งโล่เป็นงานฝีมือ(Hand Made)ใช้เทคนิคความชำนาญเฉพาะลอกเลียนแบบไม่ได้ทุกขั้นตอนมีเทคนิคสำคัญเหมือนกันหมดเช่น การผสมดิน(โม้ดิน)การปั้นดิน(เตา)การตัดแต่งรูปทรงให้สวยงาม

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การทำเตาอั้งโล่เป็นงานฝีมือ(Hand Made)ใช้เทคนิคความชำนาญเฉพาะลอกเลียนแบบไม่ได้ทุกขั้นตอนมีเทคนิคสำคัญเหมือนกันหมดเช่น การผสมดิน(โม้ดิน)การปั้นดิน(เตา)การตัดแต่งรูปทรงให้สวยงาม

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดกาญจนบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา