เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคการจักสานตะกร้าจากไม้ไผ่รวก

โดย : นายชะลอ เจิมสุวรรณ ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-06-15-21:28:58

ที่อยู่ : 232/4 หมู่ 6 ตำบลสระลงเรือ อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เครื่องจักสานไม้ไผ่ เป็นหัตถกรรมพื้นบ้านที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับชีวิตมนุษย์มาช้านาน จัดเป็นงาน    หัตถกรรมที่เก่าแก่ที่สุดประเภทหนึ่ง เพื่อสนองประโยชน์ใช้สอยการดำรงชีวิตของมนุษย์ เครื่องจักสานไม้ไผ่ก่อกำเนิดขึ้นมาจากชีวิตความเป็นอยู่ระดับพื้นบ้านในสังคม ชนบทภาค เกษตรกรรม จะใช้ช่วงเวลาว่างหลังจากการทำไร่ทำนา เลือกใช้ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น มาผลิตงานหัตถกรรม ด้วยใจรัก เพื่อความสุข ความเพลิดเพลินตลอดจนสนองประโยชน์ใช้สอยต่อตนเองและครอบครัว และวิวัฒนา การเรื่อยมาจากคนรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่งต่อกันไป เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ได้ดีที่สุด มีการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ให้สวยงาม น่าใช้ในการอุปโภคบริโภค หรือใช้สอยในพิธีกรรมทางศาสนาและวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีของแต่ละท้องถิ่นในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ เป็นมรดกสืบทอดอันยาวนานจนกลายเป็นงานหัตถกรรมพื้นบ้านทีมีความงามบริสุทธิ์แบบธรรมชาติ สะท้อนถึงความเป็นอิสระและการแสดงออก ของความคิดที่เฉลียวฉลาด ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านโดยแท้     เพื่อเป็นเอกลักษณ์สำคัญของชนเผ่ามีการสืบทอดภูมิปัญญาสู่ชนรุ่นหลัง

 

วัตถุประสงค์ ->

วิถีชีวิตชาวไทยทรงดำมีความเชื่อเรื่อง “ผี” และเรื่อง “ขวัญ” โดยเชื่อว่าสิ่งต่างๆในโลกอยู่ภายใต้อำนาจของผีและสิ่งเหนือธรรมชาติ ดังนั้น ชีวิตความเป็นอยู่และพิธีกรรมต่างๆจึงมีความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องอย่างใกล้ ชิดกับผีประเภทต่างๆการนับถือผีของไทยโซ่งมีทั้งผีดีและผีร้าย ที่สามารถบันดาลให้ชีวิต และครอบครัวเป็นไปตามความพอใจของผี จากการนับถือผีและความเชื่อเรื่องขวัญ จึงได้ก่อให้เกิดพิธีกรรมและจารีตประเพณีต่างๆในวิถีชีวิตของชาวไทยทรงดำซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของชนเผ่าที่เด่นๆเช่น“พิธีเสนเรือน” “พิธีหน่องก๊อ” “พิธีป้าดตงข้าวใหม่”

          ไทยโซ่งจะมีการลำดับชั้นทางสังคมโดยใช้วงศ์ตระกูลหรือครอบครัวเป็นเกณฑ์ แบ่งออกเป็น ๒ ชนชั้น ได้แก่”ชนชั้นผู้ท้าว”หมายถึงผู้สืบเชื้อสายมาจากเจ้า “ชนชั้นผู้น้อย”คือคนที่เกิดในตระกูลสามัญชน วิถีชีวิตส่วนใหญ่จะเป็นสังคมเกษตรกรรมทำนา ทำไร่

อุปกรณ์

1.      ไม้ไผ่รวกจักเป็นเส้นตอก 2. ลวด 3. ตะปู 4. ไม้ไผ่รวกเป็นลำ

กระบวนการ/ขั้นตอน

             การสาน เป็นขั้นตอนที่ยาก และต้องใช้ความละเอียดมากที่สุด เริ่มจากการก่อฐานด้านล่างด้วยเส้นตอกสองชนิด คือ ตอกยืน (ตอก-ตั้ง) ซึ่งจะมีลักษณะคอดตรงกลางต่างจากตอกทั่ว ๆ ไป และตอกนอน (ตอกสาน) ที่มีขนาดกว้างเท่ากันเท่ากันทั้งเส้นตากปกติ เหตุที่ตอกยืนมีลักษณะพิเศษ เนื่องมาจากเมื่อสานเสร็จจะได้ตะกร้าที่มีฐานเล็ก และค่อย ๆ บานขึ้นบริเวณปาก

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

- ความสามารถ /ความมีมานะ ช่างสานไม้ไผ่ จะต้องมีความตั้งใจ มีมานะอดทน มีความชำนาญเป็นพิเศษ และสามรถพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานไม้ไผ่ เพื่อสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้าได้

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดกาญจนบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา