เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การปลูกพืชแบบน้ำหยด

โดย : นายอเนก อยู่เอี่ยม ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-06-15-21:22:59

ที่อยู่ : 48/4 หมู่ 2 ตำบลสระลงเรือ อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

นายอเนก อยู่เอี่ยม เป็นลูกหลานชาวนาชาวไร่โดยกำเนิดประกอบอาชีพเกษตรกรรมมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน โดยนายอเนก มีแปลงเกษตรเป็นศูนย์กลางและพัฒนาสภาพพื้นที่ทำการเกษตร ให้มีความพร้อมในการกอบการเกษตรแบบผสมผสาน โดยได้รับการสนับสนุนจากภาคราชการที่เกี่ยวข้อง เข้ารับการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาแนวความคิด ทักษะด้านการเกษตรอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกในหมู่บ้านให้เข้าไปมีบทบาทในกลุ่มพัฒนาต่างๆ เช่น จัดตั้งโรงเรียนชาวนา  จัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรบ้านไผ่สี ตำบลสระลงเรือ บทบาทหน้าที่ที่ได้รับ ได้แก่  อาสาสมัครเกษตรประจำหมู่บ้าน,  หมอดินอาสา,   อาสาสมัคร สปก., อาสาสมัครปฏิรูปที่ดิน, อาสาสมัครฝนหลวง ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนตำบลสระลงเรือ พื้นที่การเกษตรส่วนใหญ่ของครัวเรือนมีสภาพเป็นที่ดอนเป็นส่วนใหญ่    จึงได้ทำไร่มันสำปะหลัง,ไร่อ้อย การทำไร่เดิมการปลูกพืชตามปกติได้ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่น้อย เนื่องจากมีพื้นที่ทำไร่เป็นพื้นที่แห้งแล้งไม่มีคลองชลประทานผ่าน แต่ได้แบ่งที่ดินบ้างส่วนขุดสระเพื่อให้เก็บกักน้ำไว้ใช้ จึงมีแนวคิดที่จะเพิ่มผลผลิตให้ได้มากกว่าเดิม โดยมุ่งทำการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น  ประกอบกับเคยมีโอกาสศึกษาดูงานที่เกี่ยวกับการปลูกพืชแบบใช้น้ำน้อย ระบบน้ำหยด หลังจากกลับมาจากศึกษาดูงาน ก็ได้นำวิธีการปลูกพืชระบบน้ำหยดมาทดลองทำเอง  ในพื้นที่ประมาณ ๓- 6 ไร่ และได้ผลผลิตมากขึ้นเรื่อยๆ

วัตถุประสงค์ ->

          1. การเตรียมดิน 
                    - รองพื้นด้วยขี้ไก่แกลบ 30-40 กระสอบ/ไร่ ประมาณ 400 กก./ไร่ 
                    - หว่านปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ 15-15-15 จำนวน 25 กก./ไร่ จากนั้นทำการไถกลบด้วยผาล 3 

            และไถแปรด้วยผาล 7 

          2. การวางระบบน้ำหยด 

                    - วางสายน้ำหยด ระยะ 150 x 40 ซม.  
                    - อุปกรณ์ประกอบด้วย สายน้ำหยด, ท่อพีวีซี, หัวปลาไหล, วาล์วเปิด-ปิด, ปั๊มน้ำ และเครื่องสูบน้ำไฟฟ้า ซึ่งต้นทุนเกี่ยวกับการวางระบบน้ำหยดอยู่ที่ประมาณ 4,000 บาท/ไร่

                                สามารถเพิ่มผลผลิตเฉลี่ยร้อย 50 -60 ต่อไร่   ความคุ้มค่าจากการลงทุนสูงเพราะว่าผลผลิตที่เพิ่มขึ้นไม่ได้เพิ่มขึ้นมากกว่าสองเท่า อายุการใช้งานของระบบน้ำหยด ประมาณ 3-5 ปีถึงจะเปลี่ยนสายใหม่  ต้นทุนการผลิตรวมทั้งหมดต่อไร่ (ค่าปุ๋ย ยา ฮอร์โมน และอื่นๆ) ประมาณ 6,500 บาท/ไร่ 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

    " ทำการเกษตรปลอดภัย เรียนรู้พัฒนา และถ่ายทอดความรู้ให้เครือข่ายเกษตรกรในพื้นที่ ดำรงตนตามหลัก”

อุปกรณ์ ->

1. การผลิตการนำเทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลังด้วยวิธีการปลูกมันสำปะหลังระบบน้ำหยด การตรวจวิเคราะห์ธาตุอาหารในดินด้วยชุดทดสอบ การปรับปรุงบำรุงดินด้วยปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสด การจัดให้มีแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรให้เพียงพอ  และการลดต้นทุนการผลิตในระยะยาวด้วยการจัดการระบบน้ำในแปลงเกษตร และการหมุนเวียนปลูกพืชในพื้นที่ขนาดเล็กแต่เน้นความประณีตและเน้นการเพิ่มผลผลิต

       2. การตลาดเลือกเก็บเกี่ยวพืชในช่วงที่ราคาตลาดดีได้เพราะปลูกในระบบหมุนเวียน อีกทั้งมีการปลูกพืชหลากหลายชนิดในพื้นที่เกษตร เช่น พืชอาหาร พืชผัก พืชไร่ พืชสวน ทำให้เกษตรกรมีรายได้หมุนเวียนตลอดทั้งปี

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. ความสนใจเรียนรู้เพื่อเพิ่มทักษะการเกษตรที่หลากหลาย      

          2. การลงมือปฏิบัติหลังจากที่ไปรับการอบรมมาอย่างจริงจัง          

          3. การให้ความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทำให้ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง          

          4. การวางแผนการใช้พื้นที่ทำการเกษตรอย่างเหมาะสม (Zoning)           

          5. การวางแผนเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจอย่างเหมาะสมกับความต้องการของตลาด          

          6. การปลูกพืชผสมผสานทำให้มีผลผลิตและรายได้หมุนเวียนตลอดทั้งปี

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดกาญจนบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา