เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

การอนุรักษ์วัฒนธรรมมอญพื้นบ้าน : รำมอญ

โดย : นางสาวอรัญญา เจริญหงษ์ษา ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-06-13-21:26:54

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 309 หมู่ที่ 2 ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

รำมอญ เป็นนาฏศิลป์ที่เก่าแก่ของคนมอญ และคงเหลืออยู่สืบต่อมาจนกระทั่งทุกวันนี้ ลูกหลานมอญรุ่นหลังๆ นี้ ยังคงได้รับการถ่ายทอดศิลปะนี้ไว้ด้วยดีตลอดมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกาะเกร็ด พระประแดง และปทุมธานี ยังมีผู้ที่รำมอญได้จำนวนมาก ซึ่งรวมทั้งมี วงปี่พาทย์มอญ บรรเลงประกอบการรำ ก็ยังคงมีอยู่หลายวงเช่นกัน แต่ละวงล้วนมีฝีมือเยี่ยมทางบรรเลงเพลงมอญกันทั้งสิ้น จะมีรำมอญในโอกาสมีงานมงคล งานสมโภชต่างๆ ตลอดจนงานศพโดยเฉพาะในงานศพพระสงฆ์ ชาวบ้านจะนิยมรำถวายหน้าศพเพราะถือว่าได้บุญ ในงานศพผู้อาวุโส หรือผู้ที่เป็นที่เคารพนับถือ ชาวบ้านจะมารำด้วยความเคารพเช่นกัน

วัตถุประสงค์ ->

การแต่งกาย

          ผู้รำแต่งกายแบบสตรีมอญ เครื่องแต่งกายผ้านุ่งใช้ผ้าซิ่นยาว กรอมเท้า เสื้อแขนกระบอก พาดผ้าสไบไหล่เดียว หรือคล้องคอปล่อยชายให้ห้อยอยู่ ข้างหน้าทั้งสองชาย และจะใช้เครื่องแต่งกายสีอะไรก็ได้ แม้ในงานศพ เพราะคนมอญ ไม่ถือว่าในงานศพต้องแต่งสีดำ จึงแต่งสีอะไรก็ได้ รำมอญยังคงมีอยู่ในหมู่ชาวมอญและ คงจะสืบทอดศิลปะนี้ไปอีกนาน อันเป็นการแสดงถึงสัญลักษณ์ของศิลปวัฒนธรรมอันมีค่า โดยมีขั้นตอนคร่าวๆ ดังนี้

1. คัดเลือกเยาวชนที่มีความสนใจในการรำมอญ

2. ฝึกสอนเยาวชน โดยพิจารณาจากอายุเป็นหลัก เริ่มจากท่าแม่บท ที่มีความง่าย

3. ใช้เวลาฝึกสอน 3-6 เดือน

4. เมื่อผู้ฝึกสอนเห็นควรให้แสดง จึงนำออกแสดงในงานต่างๆ เพื่อสร้างความมั่นใจ กล้าแสดงออกให้กับเยาวชน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ความอดทนในการฝึก และความขยันในการซ้อม และรักในการอนุรักษ์วัฒนธรรมมอญโบราญ

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดกาญจนบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา