เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

เทคนิคการส่งเสริมสัมมาชีพในชุมชน

โดย : นางสาวเพชรรัชฏ์ จันทร์สวัสดิ์ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-06-13-20:46:51

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

 “มรรค ๘” ผู้ที่นับถือพุทธศาสนาย่อมเข้าใจว่าหมายถึง หนทางถึงความดับทุกข์ เป็นส่วนหนึ่งของอริยสัจ หรือการลงมือปฏิบัติเพื่อให้พ้นจากทุกข์ เป็นหลักธรรมสำคัญของพระพุทธศาสนา ประกอบด้วยกรอบการปฏิบัติ ๘ ประการด้วยกัน เรียกว่า “มรรคมีองค์แปด” หรือ “มรรคแปด” คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติและสัมมาสมาธิ 

             คำว่า “สัมมาอาชีวะ” หมายถึง “การประกอบอาชีพที่ถูกต้องตามกฎหมายเลี้ยงชีพโดยชอบธรรม ทำด้วยความสุจริต และถูกต้องตามหลักศีลธรรม” ฉะนั้น คำว่า “สัมมาชีพ” จึงยึดแนวความหมายของคำว่า “สัมมาอาชีวะ” ข้างต้น โดยมีความหมายว่า “การทำมาหากินโดยไม่ได้เอากำไรสูงสุดเป็นตัวตั้งหรือเป็นเป้าหมายสุดท้าย และต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมทางสังคม กล่าวคือ ความสุขของตนและคนทำงานรวมถึงประโยชน์ของผู้บริโภคและผู้รับบริการหลัก โดยไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อมและไม่มุ่งไปกระตุ้นตัณหา
อันเป็นเหตุแห่งทุกข์” ซึ่ง นพ.ประเวศ วะสี ได้ให้ความหมายที่สั้นกระชับว่าหมายถึง “อาชีพที่ไม่เบียดเบียนตนเอง ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เบียดเบียนสิ่งแวดล้อม และมีรายจ่ายน้อยกว่ารายได้” และหากนำมารวมกับคำว่า “ชุมชน” เป็น “สัมมาชีพชุมชน” จึงหมายถึง “ชุมชนที่มีการประกอบอาชีพโดยชอบ ซึ่งมีรายได้มากกว่ารายจ่าย โดยลดการเบียดเบียนตนเองผู้อื่นและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ต้องมีความสอดคล้องกับวิถีของชุมชนเพื่อความมุ่งหมายในการสร้างระบบเศรษฐกิจชุมชน”

             แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) ได้กำหนดยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมลดความเหลื่อมล้ำในสังคมเป็น 1 ใน 10 ยุทธศาสตร์การพัฒนาตามแผนฯ และรัฐบาลได้กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน จ้านวน 11 ด้าน ซึ่งมีนโยบายการลดความเหลื่อม ล้ำของสังคมและการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญที่มุ่งหวังแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับปากท้องของประชาชนในระดับล่างที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ โดยมีแผนงานที่สำคัญ คือ แผนงาน

 “มรรค ๘” ผู้ที่นับถือพุทธศาสนาย่อมเข้าใจว่าหมายถึง หนทางถึงความดับทุกข์ เป็นส่วนหนึ่งของอริยสัจ หรือการลงมือปฏิบัติเพื่อให้พ้นจากทุกข์ เป็นหลักธรรมสำคัญของพระพุทธศาสนา ประกอบด้วยกรอบการปฏิบัติ ๘ ประการด้วยกัน เรียกว่า “มรรคมีองค์แปด” หรือ “มรรคแปด” คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติและสัมมาสมาธิ 

             คำว่า “สัมมาอาชีวะ” หมายถึง “การประกอบอาชีพที่ถูกต้องตามกฎหมายเลี้ยงชีพโดยชอบธรรม ทำด้วยความสุจริต และถูกต้องตามหลักศีลธรรม” ฉะนั้น คำว่า “สัมมาชีพ” จึงยึดแนวความหมายของคำว่า “สัมมาอาชีวะ” ข้างต้น โดยมีความหมายว่า “การทำมาหากินโดยไม่ได้เอากำไรสูงสุดเป็นตัวตั้งหรือเป็นเป้าหมายสุดท้าย และต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมทางสังคม กล่าวคือ ความสุขของตนและคนทำงานรวมถึงประโยชน์ของผู้บริโภคและผู้รับบริการหลัก โดยไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อมและไม่มุ่งไปกระตุ้นตัณหา
อันเป็นเหตุแห่งทุกข์” ซึ่ง นพ.ประเวศ วะสี ได้ให้ความหมายที่สั้นกระชับว่าหมายถึง “อาชีพที่ไม่เบียดเบียนตนเอง ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เบียดเบียนสิ่งแวดล้อม และมีรายจ่ายน้อยกว่ารายได้” และหากนำมารวมกับคำว่า “ชุมชน” เป็น “สัมมาชีพชุมชน” จึงหมายถึง “ชุมชนที่มีการประกอบอาชีพโดยชอบ ซึ่งมีรายได้มากกว่ารายจ่าย โดยลดการเบียดเบียนตนเองผู้อื่นและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ต้องมีความสอดคล้องกับวิถีของชุมชนเพื่อความมุ่งหมายในการสร้างระบบเศรษฐกิจชุมชน”

             แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) ได้กำหนดยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมลดความเหลื่อมล้ำในสังคมเป็น 1 ใน 10 ยุทธศาสตร์การพัฒนาตามแผนฯ และรัฐบาลได้กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน จ้านวน 11 ด้าน ซึ่งมีนโยบายการลดความเหลื่อม ล้ำของสังคมและการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญที่มุ่งหวังแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับปากท้องของประชาชนในระดับล่างที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ โดยมีแผนงานที่สำคัญ คือ แผนงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็ง ซึ่งได้มอบให้กระทรวงมหาดไทยที่มีกรมการพัฒนาชุมชนเป็นหน่วยงานหลักบูรณาการไปสู่การปฏิบัติ

การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็ง ซึ่งได้มอบให้กระทรวงมหาดไทยที่มีกรมการพัฒนาชุมชนเป็นหน่วยงานหลักบูรณาการไปสู่การปฏิบัติ

วัตถุประสงค์ ->

1. เตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านๆ ละ 5 คน ระยะเวลา 3 วัน วัตถุประสงค์เพื่อสร้างทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านให้มีความพร้อม สามารถจัดการฝึกอบรมอาชีพ
ให้กับประชาชนในหมู่บ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ
          2. ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมอาชีพตามแนวทางสัมมาชีพชุมชนแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ผู้แทนครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงตามพื้นที่ยุทธศาสตร์ที่ 1 หมู่บ้านละ 20 คน โดยเน้นผู้แทนครัวเรือนยากจนตามเกณฑ์ จปฐ. เป็นกลุ่มเป้าหมายแรก

3. สนับสนุนการจัดตั้งและพัฒนากลุ่มอาชีพตามแนวทางสัมมาชีพชุมชน วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ครัวเรือนสัมมาชีพที่ผ่านการพัฒนามีการรวมกลุ่มจัดตั้งและพัฒนาเป็นกลุ่มอาชีพที่ก่อให้เกิดรายได้กลุ่มเป้าหมายครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ที่เลือกอาชีพเดียวกันหรือประเภทอาชีพเดียวกันและที่ผ่านการฝึกปฏิบัติอาชีพในระดับหมู่บ้านนำผลจากการฝึกปฏิบัติอาชีพไปประกอบอาชีพได้อย่างต่อเนื่อง

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

      1. การกำหนดเป้าหมายพื้นที่ในการดำเนินการที่ชัดเจนเหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ในการดำเนินงาน

               2. การจัดทำโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน จะต้องส่งผลต่อการสร้างงาน ทำให้ประชาชนมีอาชีพและมีรายได้เพิ่มขึ้นได้จริง
               3. จะต้องส่งเสริมอาชีพและผลักดันเข้าสู่การขึ้นทะเบียน หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ นำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ สร้างมาตรฐานผลิตภัณฑ์ และมีช่องทางการตลาด

               4. ใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Web site ,Facebook , Line) เพื่อการประชาสัมพันธ์กิจกรรมตามโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของอำเภอ และสร้างทัศนคติที่ดีในการทำงานเพื่อชุมชนโดยชุมชน ให้ชาวบ้านมีความรู้สึกว่าเขาเป็นเจ้าของ  และเพื่อเป็นการแนะนำผลิตภัณฑ์และรายละเอียดของข้อมูลผลิตภัณฑ์และการติดต่อซื้อขายโดยตรงกับพื้นที่

อุปกรณ์ ->

สำหรับการดำเนินการหมู่บ้านสัมมาชีพชุมชน จะต้องเน้นย้ำ 3 มี 2 ไม่

3 มี ดังนี้

1.มีสัมมาชีพ

   1.1 ครัวเรือนประสบผลสำเร็จในการประกอบสัมมาชีพสามารถเป็นแบบอย่างได้

   1.2 ครัวเรือนมีการจัดท้าบัญชีครัวเรือน

   1.3 ครัวเรือนมีการออม

2. มีความสัมพันธ์ที่ดี

    2.1 สมาชิกในครัวเรือนมีวิถีชีวิตประชาธิปไตยและทำกิจกรรมร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ

    2.2 สมาชิกในครัวเรือนไม่มีการใช้ความรุนแรง

    2.3 สมาชิกในครัวเรือนเป็นสมาชิกกลุ่ม องค์กร ในชุมชนอย่างน้อย 1 กลุ่ม/องค์กร

3. มีสภาพแวดล้อมเหมาะสม

    3.1 มีป้ายครัวเรือนและจัดระเบียบบ้านให้สะอาดถูกสุขลักษณะ

    3.2 มีการบริหารจัดการขยะอย่างเหมาะสมไม่เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม

    3.3 มีส่วนร่วมในกิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหรือสาธารณประโยชน์

 

2 ไม่ ดังนี้

          1. ไม่ติดยาเสพติด

              - สมาชิกในครัวเรือนไม่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด และอบายมุขอื่น ๆ

          2. ไม่มีหนี้นอกระบบ
               - สมาชิกในครัวเรือนไม่มีการกู้ยืมเงินนอกระบบ และไม่มีหนี สินล้นพ้นตัว

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ต้องเน้นย้ำให้ : ทีมสนับสนุนการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชน กลุ่มองค์กรเครือข่ายพัฒนาชุมชน 4 องค์กร ได้แก่ ศูนย์ประสานงานองค์การชุมชนระดับอำเภอ (ศอช.อ.)/ศูนย์ประสานงานองค์การชุมชนระดับตำบล (ศอช.ต.) คณะกรรมการพัฒนาสตรีอำเภอ (กพสอ.)/คณะกรรมการพัฒนาสตรีตำบล (กพสต.) คณะกรรมการชมรมอาสาพัฒนาชุมชนอำเภอ คณะกรรมการเครือข่ายกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตระดับอำเภอหรือผู้แทนคณะกรรมการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต เข้าไปมีส่วนร่วมอย่างจริงจังกับหมู่บ้านสัมมาชีพชุมชนอย่างแท้จริง

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดกาญจนบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา