เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

ปั้นเตาอั้งโล่

โดย : นายเสนาะ ทับมนเทียน ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-02-27-21:21:58

ที่อยู่ : 112 ม 1 ต.ห้วยกระเจา อ.ห้วยกระเจา

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

          เตาอั้งโล่ได้รับแบบอย่างมาจากประเทศจีนเข้ามาในประเทศ หมู่บ้านซ่อง ปั้นเตาอั้งโล่มาใช้ในครัวเรือนและพัฒนาต่อยอดเป็นอาชีพเลี้ยงครอบครัว เตาอั้งโล่เป็นเตาดินเผา รูปร่างคล้ายถัง ปากกลมผายออกเล็กน้อย ก้นสอบ ผนังเตาหนาประมาณ ๒ นิ้ว ด้านหน้าเจาะเป็นช่องสี่เหลี่ยมเสมอ พื้นเตาเป็นช่องให้อากาศเข้าหรือใช้พัดโบกให้ลมเข้าไปเร่งให้ไฟลุกแรงขึ้น ช่องปากเตานี้ มีฝาสำหรับปิดกันไม่ให้ขี้เถ้าปลิวออกมานอกเตา ปากเตาทำเป็นจมูกเตาสำหรับก้นหม้อ ๓ ปุ่มสูงขึ้นจากปากเตาเล็กน้อย เพื่อยกก้นภาชนะให้พ้นปากเตา เป็นการระบายอากาศ ช่วยให้ไฟลุกได้ดี ช่องระบายอากาศนี้มีฝาปิดทำด้วยดินเผาเช่นเดียวกัน ภายในเตาระหว่างปากเตากับก้นเตามีรังผึ้งหรือตะกรับ ทำด้วยดินเผาเป็นแผ่นกลม เจาะรูเรียงกันเป็นวงอย่างรังผึ้งเพื่อให้ขี้เถ้าร่วงลงไปก้นเตา และเป็นช่องให้อากาศถ่ายเทด้วย เตาอั้งโล่มีทั้งเล็กและใหญ่ตามขนาดของหม้อหรือภาชนะหุงต้ม เตาชนิดนี้ใช้ได้สะดวกกว่าเตาไฟแบบต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้ว เพราะเคลื่อนย้ายได้สะดวก และไม่เปลืองเนื้อที่ ตั้งบนพื้นเรือนได้เพราะมีก้นเตาป้องกันไฟไหม้พื้น จึงนิยมใช้กันทั่วไป โดยเฉพาะในชนบทที่ยังใช้ฟืนและถ่านเป็นเชื้อเพลิงหุงต้มอาหาร

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบประกอบด้วย ๑. ดินเหนียวตามธรรมชาติ  ๒. แกลบดำ/ขี้เถ้าขาว,ดำ ๓. น้ำ ๔. ถังสังกะสี 

                                  ๕. พลาสติก/ผ้ายาง ๖. ฟืน ๗. สีน้ำมัน 

          อุปกรณ์ประกอบด้วย ๑.กรรไกร ๒. ฉาก ๓. มีดโค้ง ๔. เหล็กฉากเจาะประตูบน ๕. รางเหล็ก ๖. กล้องเจาะลิ้นเตารังผึ้ง/ตะแกรงเตาอั้งโล่ ๗. ถังน้ำ ๘. จอบ ๙. พิมพ์เตา ๑๐. บุ๊งกี๋ ๑๑.ค้อน ๑๒ ไม้อัดดิน ๑๓. จานตัดลิ้นรังผึ้ง 

๑๔. เหล็กเสียบใต้ลิ้นเตา ๑๕. พลั่ว ๑๖. เครื่องปั๊มเบอร์(ตามขนาดของเตา)

              ขั้นตอนการเตรียมดิน (โม้ดิน)
          ๑. ขุดดินเหนียวที่ผึ่งแดดแห้ง ๒. นำดินเหนียวที่ผึ่งแห้ง ใส่ในบ่อหมักดิน (บ่อซีเมนต์ ) ใส่น้ำให้น้ำท่วมดิน ทิ้งไว้ ๑ คืน ๓. เมื่อดินละลายแล้วตักดิน ผสมแกลบขี้เถ้าดำ อัตราส่วน ดิน ๑ ส่วนต่อขี้เถ้าดำ ๒ ส่วนลงเครื่องปั่น(โม้ดิน)แล้วแต่เทคนิค ๔. นำดินที่ผสมขี้เถ้าดำออกมากองไว้คลุมด้วยพลาสติกกันไว้ไม่ให้ถูกลมซึ่งจะทำให้ดินแข็งปั้นยาก
           การปั้นเตา ๑. นำดินออกมาจากที่คลุมพลาสติกขนาดพอดีสำหรับการปั้นในแต่ละขนาดเตาแต่ละรุ่นโดยใช้แบบพิมพ์เตา ๒. นำดินมาใส่ในแบบพิมพ์เตาใช้มือปาดดินขึ้นรูปตามแบบพิมพ์เตา ๓. นำดินถอดออกจากแบบพิมพ์เตานำมาผึ่งลมจนหมาดพอดีอย่าให้ดินแห้งจะทำให้การตัดแต่งรูปทรงทำได้ยาก
          การปั้นลิ้นเตาอั้งโล่ /รังผึ้ง/ตะแกรงเตาอั้งโล่ ๑. นำดินออกมาจากกองที่คลุมพลาสติกขนาดพอดีสำหรับการปั้นลิ้นเตา ๒. นำดินมา ๑ ก้อน แล้วใช้มือกดให้แบนให้มีความหนาประมาณ ๑ นิ้ว ๓. ใช้จานตัดลิ้นตามขนาดต่าง ๆ กันตามแบบเสร็จแล้วนำไปผึ่งลมพอหมาด ๔. ใช้กล้องเจาะลิ้นเตาเจาะรูให้มีระยะห่างประมาณครึ่งนิ้ว
๕. นำมาตากแดดให้แห้ง เพื่อเตรียมเผา

การตัดแต่งรูปทรงเตา 
                   ๑. นำดินที่ขึ้นรูปมาตัดแต่งรูปทรงโดยใช้เครื่องมือเหล็กฉากตัดแต่งรูปทรงให้ได้ขนาดและรูปทรงสวยงามที่ต้องการซึ่งขั้นตอนการตัดแต่งรูปทรงจะต้องอาศัยประสบการณ์และความชำนาญของผู้ผลิต
                   ๒. นำดินที่ตัดแต่งรูปทรงเสร็จแล้วตากแดดให้แห้งสนิท
                   ๓. เมื่อเตาดินเผาตากแดดจนแห้งสนิทแล้วก่อนนำเข้าเตาเผาจะนำปากเตามาจุ่มสีแดง               (ดินสีแดงผสมน้ำ) เพื่อให้มีสีสันสวยงาม 
          ขั้นตอนการเผาเตา 
                   ๑. นำเตาดินเผา จัดเรียงเข้าเตาเผาโดยการเรียงซ้อนกันเป็นตั้งจนเต็มเตา
                   ๒. ใส่ฟืนข้างล่างเตาเผา จุดไฟเผาไปเรื่อย ๆอย่าให้ฟืนหมด ใช้เวลาประมาณ ๑ วัน
                   ๓. ปล่อยทิ้งไว้ให้เตาสุกให้ทั่วทั้งเตาสังเกตได้จากเตากลายเป็นสีแดงส้ม ถ้าเผาไม่สุกเตาจะมีสีดำ ทิ้งไว้ ๒ วันจึงนำเตาออกจากเตาเผา เตรียมประกอบใส่ถังเตา
          การทำถังเตา 
                   ๑. นำแผ่นสังกะสีมาตัดโดยใช้กรรไกรตัดแต่งตามแบบพิมพ์ถังเตา
                   ๒. ใช้หมุดเย็บด้านข้างถังเตา ๒ ข้างให้ยึดติดกันเป็นรูปทรงกรวย
                   ๓. ตัดแผ่นก้นเตา ตีเย็บขึ้นรูปเป็นถังเตา
          การประกอบถังเตา 
                   ๑. นำเตาเผามาประกอบใส่ถังเตาใส่ดินอัดรอบๆข้างให้เต็มตัดแต่งปากเตาให้สวยงาม
                   ๒. นำปูนซีเมนต์ผสมน้ำมาฉาบปิดขอบและก้นเตา
                   ๓. ใส่หูเตา สำหรับเป็นที่จับหรือยก
                   ๔. สำเร็จทุกขั้นตอน เตรียมพร้อมสำหรับจำหน่าย

 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

การทำเตาอั้งโล่เป็นงานฝีมือ(Hand Made)ใช้เทคนิคความชำนาญเฉพาะลอกเลียนแบบไม่ได้ทุกขั้นตอนมีเทคนิคสำคัญเหมือนกันหมดเช่น การผสมดิน(โม้ดิน)การปั้นดิน(เตา)การตัดแต่งรูปทรงให้สวยงาม

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดกาญจนบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา