เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

จักสานสุ่มไก่

โดย : นายสมชาย ศรีเอี่ยม ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-02-27-21:19:00

ที่อยู่ : 2 ม 16 ต.สระลงเรือ อ.ห้วยกระเจา

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

          ในหมู่บ้านมีชาวบ้านจำนวนมากมีการเลี้ยงไก่พื้นบ้านเพื่อใช้เป็นอาหาร และชื่นชอบนิยมกีฬาชนไก่ จึงมีการเลี้ยงไก่ชนเป็นจำนวนมาก และอุปกรณ์ที่จำเป็นในการเลี้ยงดูไก่ชน สิ่งจำเป็นที่จะต้องมี คือ สุ่มไก่  การสานสุ่มไก่นี้ได้สืบทอดกันมาเป็นเวลาช้านานมากสืบทอดมาตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษ จึงได้มีการสานสุ่มสืบต่อกันมาเรื่อย ๆ จนถึงปัจจุบัน การสานสุ่มไก่ จากไม้ไผ่ จึงเป็นอาชีพ อีกอาชีพหนึ่งที่สามารถหารายได้มาเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้

2. กระบวนการ/วิธีการขั้นตอน/เทคนิค/ข้อพึงระวัง ที่ใช้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาอาชีพ

วัตถุประสงค์ ->

เครื่องมือและอุปกรณ์             

๑.      เลื่อยคันธนูใช้เลื่อยตัดข้อปลายลำไผ่และเลื่อยตัดปากสุ่มเมื่อสานสุ่มไก่เสร็จแล้ว

๒.          มีดพร้าใช้ผ่าลำไผ่และเหลาจักดอกไผ่เพื่อแยกส่วนในและผิวของไผ่ซึ่งส่วนผิวที่ใช้งานจะมีความเหนียว

๓.     ค้อน ใช้ตอกตะขอข้อไผ่หลักหมุดยึดส่วนหัวสุ่มไก่เมื่อสานขึ้นรูป

๔.     ไม้ไผ่ที่ไม่อ่อนไม่แก่เกินไป อายุประมาณ  ๒  ปี                 

วิธีการจักสาน

          ๑. การจักตอกไผ่

               - ใช้เลื่อยคันธนูเลื่อยตัดข้อปล้องแรกของไผ่ทิ้งเพื่อให้ผ่าสำไผ่ได้สะดวก

               - ผ่าลำไผ่ออกมาเป็นเส้น ๆ

               - จักตอกเส้นไผ่เป็นตอกยืน ตอกยาว และตอกไผ่ตีน(ส่วนข้อไผ่ที่มีตาไผ่)  

ความกว้างของตอกแต่ละแบบโดยประมาณ คือตอกยืน ๑.๓ – ๑.๗  ซม. ตอกยาว ๐.๘ ซม. และตอกไผ่ตีน ๑.๖-๒.๐ ซม. ซึ่งไผ่หนึ่งลำเหลาจักตอกได้ตอกยืนใช้สานสุ่มไก่ได้ ๑ ใบ และตอกยาวสานสุ่มไก่ได้ ๒ ใบ

               - ส่วนที่เป็นข้อไผ่นำมาเหลาเป็นตะขอข้อไผ่หลักหมุดยึดหัวสุ่ม เพื่อไม่ให้สุ่มขยับเขยื่นในขณะสานขึ้นรูป

           ๒. การสานสุ่มไก่

               - เริ่มจากการสานตอกยาวและตอกยืนเป็นหัวสุ่มแบบลายขัด

               - ใช้ค้อนตอกตะขอข้อไผ่หลักหมุดยึดหัวสุ่มบนพื้นดินลานกว้าง เพื่อยึดสุ่มไก่ไว้ในการสานขึ้นรูป

               - ใช้ตอกยาวสานรอบ ๆ สุ่มไก่เพื่อขึ้นรูปแบบลายหนึ่ง (ยกหนึ่งข้ามหนึ่ง) โดยจุดเริ่มต้นของตอกยาวแต่ละเส้นเปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อย ๆ เพื่อให้สุ่มไก่ได้รูปทรงกลม

               - สานตีนสุ่มไก่ โดยใช้ตอกไผ่ตีนประมาณ ๕ เส้น

               - ใช้เลื่อยคันธนูเลื่อยตัดส่วนตอกยืนที่ยื่นยาวเลยตีนสุ่มไก่ทิ้งไป

 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ประโยชน์ของสุ่ม

                    ใช้ในการกักขังไก่หรือเป็นการจำกัดบริเวณของไก่โดยเฉพาะแม่ไก่ที่ฝักลูกออกมาใหม่ๆ              เพื่อไม่ให้ลูกไก่ตาย  และไก่ชนที่เลี้ยงเตรีมตัวออกชน

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดกาญจนบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา