เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

ช่างไม้บ้านทรงไทย

โดย : นายพนม ลับแล ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-02-27-21:14:13

ที่อยู่ : 315/1 ม 12 ต.สระลงเรือ อ.ห้วยกระเจา

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การก่อสร้างเรือนไทย ในสมัยก่อน มีการก่อสร้างเป็นขั้นเป็นตอน ซึ่งนิยมก่อสร้างโดยยึดแบบแผน หรือถ่ายทอดกันต่อเนื่องมาในปัจจุบัน ถึงแม้ปัจจุบันจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือดัดแปลงไปตามกาลสมัยรวมทั้งนำเทคโนโลยีสมัยเข้ามาช่วย

วัตถุประสงค์ ->

การก่อสร้างบ้านทรงไทยมีขั้นตอนแบ่งเป็นข้อได้ดังนี้

                        1. วางผังโดยใช้พรึงที่ประกอบแล้วเป็นวงรอบรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเป็นเครื่องกำหนดมุมฉากกว้างยาวของบ้านมาวางเป็นผัง

                        2. ปัก ”ฉะ นบ” โดยรอบตามจุด 4 มุมและตรงที่วางเสาแล้ววางหลุมโดยฉะมบ หรือเข็มหมุดเป็นจุดศูนย์กลางหลุมวัดผ่าศูนย์กลาง 30 ซม. (ในกรณีที่ใช้แระ แต่ถ้าใช้วัวกับกงพัดจะต้องกว้างกว่านี้)

                        3. ยกพรึงออก

                        4. ขุดหลุมกว้างประมาณ 30 ซม. หากขุดกว้างมากเกินไป เสาจะเอนมากทำให้ล้มได้ หลุมลึกประมาณ 75 ซม. ก้นหลุมวาดแระให้ได้ระดับ(เรือนไทยสมัยโบราณน้ำหนักบรรทุกไม่มาก แต่เรือนไทยโบราณมักจะทรุดเพราะทำฐานไม่พอรับน้ำหนัก)

                        5. ยกเสาลงหลุมตามลำดับเอก โท ฯลฯ

                        6. ใส่รอดเข้าที่ทุกเสา

                        7. ช่างไม้จะปืนขึ้นไปทุกเสาประจำเสา เสาละคนสอดไม้คาโคนหลุมที่ดิน เพื่อกันเสาเอนไปมาและไม่ให้เสาล้ม ยังไม่กลบหลุมเสา

                        8. ส่งเต้าขึ้นไปให้นำเต้าเข้าสอดตามรูเต้าทั้งเต้ารุมเต้าราย เมื่อสอดเต้าเข้าที่แล้วช่างไม้จะนั่งบนเต้า คนข้างล่างจะส่งขื่อขึ้นไป

                        9. วางขื่อสวมลงบนหัวเทียน แต่งโคนหลุมหรือผลักเสาให้ขื่อสวมหัวเทียนให้ได้

                        10. ที่ใดมีฝาประจันห้องยกเสาดั้งสอดใส่รูขื่อทะลุขึ้นไปให้ง่ามเสาดั้งนั่งบนหลังรอด

                        11. ส่งแปหัวเสาขึ้นทั้งสองข้าง ให้บ่าแปหัวเสาวางบนหัวขื่อที่เตรียมไว้วางแปหัวเสาให้เข้าที่

                        12. ติดตรึงโดยรอบโย้แต่งเสาติดตรึงพออยู่ไม่ให้แน่นใส่สลักตรึงสลักพออยู่จะให้พึงแน่นเมื่อใส่ฝาแล้ว

                        13. แต่งระดับน้าให้หลังรอด – พรึง –แปหัวเสาได้ระดับระยะนี้สำคัญมาก

                        14. ปูพื้นทั้งหลังวางพื้นทับบนรอดไม่ต้องตีตะปูวางทับเฉยๆ เพื่อเป็นนั่งร้านในการทำงานด้วย

                        15. นำแผงหน้าจั่วสองแผ่นวางให้ปลายล่างตีนจั่ว วางอยู่แน่นทับแปหัวเสาทั้งสองจั่วหัวท้าย

16. และที่ไม่มีฝาปิดประจันห้องติดตั้งดั้งลอย และใส่จันทันทั้งสองข้างโคนจันทันสวมติดกับแปหัวเสา ปลายจันทันติดยอดใบดั้งลอย

                        17. วางแปเข้าที่ทั้งสองข้าง ตีตะปูแปให้แน่นกับตัวจันทันและแผงหน้าจั่ว การตีแปติดกับจันทันและจั่วคงใช้ตะปูจีน

                        18. วางอก ไก่สวมลงไปกับเดือยใบดั้งบนเสาดั้ง เดือยแผงจั่วหัวท้ายและเดือยใบดั้งลอยวางที่บนขื่อ ตอกลิ่มเดือยใบดั้ง ส่วนเดือยแผงจั่วเป็นเดือยไม่ทะลุอกไก่ ระยะนี้จะเป็นระยะที่สำคัญที่สุด

                        19. ยก แผงฝาด้านยาวทั้งสองด้าน การยกฝาเข้าที่ต้องตอกเข้าถอยเข้าไปในเสาให้สุดตัว เฉพาะตัวที่จะบรรจุฝา (เพราะถ้ามีเต้าอยู่จะใส่แผงฝาไม่ได้ถนัด) เมื่อยกฝาเข้าที่ตั้งบนพรึงและอยู่ใต้แปหัวเสาได้แล้ว จึงตอกเต้ากลับออกมาเพื่อเตรียมยึดเชิงชายดังเดิม ทำเช่นนี้ทุกแผงฝา ยังไม่ต้องตอกตะปูจีนยึดฝากับเสาให้เต้ายึดอัดฝาไม้ไว้ก่อน ระยะนี้เวลาก่อสร้างจะเห็นประโยชน์ของเสาที่เอียงสอบเพราะจะรับแผงฝาไว้ได้ น้าหน้ำกฝาถ่ายลงให้เสาละเต้าจะช่วยอัดฝาไม่ให้ล้มหลุด ไม่ต้องตีตะปูก็จะตั้งอยู่ได้แต่ไม่แน่น

                        20. ติดฝาอุดหน้ากลองหัวท้ายและฝาประจันห้อง (วิธีเช่นฝาด้านยาว)

                        21. ติดเชิงชายด้านยาวแน่นกับเต้า

                        22. ติดเชิงชายด้านสกัด ตรึงเชิงชายให้ติดกับเต้าใส่สลักไม้อัดเชิงชายแน่นกับเต้าทุกตัว

                        23. ติดปั้นลมแน่นกับแปทุกตัว วางกลอนเจาะ (ถ้ามุงจาก) หรือวางกลอนขอสลับกลอนแบนที่มีรูใส่เดือยแล้วตีระแนง (หากมุงกระเบื้อง)

                        24. โย้แต่งตีนเสาให้เข้าที่ แต่งตามจนฝาแนบสนิททุกแผ่น

                        25. ตีตะปูจีนยึดฝากับเสาให้แน่น ตะปูแผ่นละ 4 ตัว (สี่มุมฝา) ตรึงสลักยึดพรึงเสาติดแน่น

                        26. วางจันทันแฝงฝาเฉลียง เชิงชาย แป ปั้นลม กลอนของเฉลียง

                        27. กลบดินเชิงเสากระทุ้งให้แน่น

                        28. มุงหลังคา จะเป็นกระเบื้อง แฝก หรือจากสุดแต่ต้องการตามความจำเป็น

                        29. จัดทำกระเบื้องหลบ, แฝกหลบหรือจากตามลักษณะของเครื่องมุง

                        30. วางกระเบื้องครอบหลังคา

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

เจ้าของบ้านจะต้องเอาใจใส่ด้วยและมีการพูดคุยกับ ผู้รับเหมาสร้างบ้านทรงไทย ถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นทุกอย่างรวมถึงการเปลี่ยนแบบหรือเปลี่ยนสเปค ซึ่งจะทำให้งบประมาณที่บานปลาย งบประมาณที่เพิ่มขึ้นจะมีการตกลงกันอย่างไรเจ้าของบ้านจะต้องตรวจดูการวาง ผัง การตรวจงานก่อสร้างสเปควัสดุก่อสร้าง ท่านจะต้องดูแลควบคุมใน จุดต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้นให้ละเอียด จนกว่าบ้านทรงไทยจะเสร็จเป็นรูปเป็นร่างที่ สมบูรณ์ เพราะว่าหลังจากที่ผู้รับเหมามอบบ้านทรงไทยให้แล้ว จะเป็นเรื่องไม่ง่ายมากนักที่จะมาแก้ไขให้ท่านในภายหลัง ควรมีการตกลงกันว่าจะให้มีการรับประกันอย่างไรด้วย จากนั้นจะเป็นเรื่องของการขออนุญาตการติดตั้ง น้ำประปา-ไฟฟ้าถาวร โทรศัพท์และ เลขที่บ้าน

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดกาญจนบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา