เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

ปลูกดีปลี

โดย : นายทองพาน อาจคงหาญ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-02-27-21:11:12

ที่อยู่ : 33 ม.10 ต.สระลงเรือ อ.ห้วยกระเจา

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

สมุนไพรดีปลี สมุนไพรเก่าแก่ที่มีความสำคัญชนิดหนึ่ง มีหลักฐานการจดบันทึกมานานมากกว่า 4,000 ปี มีแหล่งผลิตใหญ่อยู่ที่ประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซีย สำหรับในประเทศไทยบ้านเราทางภาคใต้และภาคเหนือนิยมใช้ผลดีปลีมาเป็นเครื่องเทศแทนพริกและพริกไทย โดยทั้งดีปลีและพริกไทยต่างก็มีสรรพคุณช่วยบำรุงธาตุไฟในการย่อยอาหารเหมือนๆ กัน แต่ดีปลีจะดีกว่าในเรื่องของลมเบ่งของมดลูก หรือลมที่ค้างในลำไส้ รวมไปถึงอาการกำเริบของเสมหะและลมปอด ส่วนพริกไทยนั้นจะดีกับลมที่ขับปัสสาวะ

วัตถุประสงค์ ->

วิธีปลูก
             1. ใช้ยอดแก่ปลูก 3-4 ยอดต่อค้าง เกษตรกรอาจไม่เพาะชำกล้า แต่ใช้วิธีปลูกทันที โดยตัดยอดดีปลีประมาณ 5 ข้อแล้วนำไปปลูกติดกับเสาค้างเลย 3-5 ค้างต่อเสา ฝังลงดินประมาณ 3 ข้อ นำยอดทั้งหมดผูกติดกับเสาค้างเพื่อให้รากยึดเกาะที่เกิดขึ้นใหม่เกาะติดกับเสาค้าง พรางแสงด้วยทางมะพร้าวประมาณ 2 สัปดาห์
             2. ค้างที่ใช้ปลูกดีปลีเป็นค้างไม้หรือค้างปูน เสาค้างไม้ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10-15 เซนติเมตร เป็นไม้เนื้อแข็ง มีอายุการใช้งาน 10-20 ต้นดีปลี สามารถยึดเกาะได้เป็นอย่างดี แต่ปัจจุบันเสาค้างไม้หายากและมีราคาสูงจึงใช้เสาคอนกรีตสี่เหลี่ยมขนาด 15x15 เซนติเมตร สูง 2.5 เมตร รากของดีปลีที่ใช้ยึดเกาะกับเสาค้างคอนกรีตไม่สามารถยึดเกาะได้ดีเท่าค้างไม้เพราะเมื่ออุณหภูมิสูงจะเก็บความร้อน
             3. สำหรับระยะปลูก ระหว่างต้น 1.5-2 เมตร ระหว่างแถว 2 เมตร โดยจะได้จำนวนต้นในการปลูก 400-600ต้น/ไร่
             การดูแลรักษา
             1. ใส่ปุ๋ย สำคัญมากเนื่องจากดีปลีเป็นพืชหลายปีและให้ผลผลิตตลอดปี ควรให้ปุ๋ยสม่ำเสมอ ที่ใช้ได้มีทั้งปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ หยอดที่โคนต้น 1 กำมือต่อต้น
             2. ให้น้ำสม่ำเสมอ ใช้ระบบการให้น้ำตามร่อง 1 ครั้ง/สัปดาห์ แต่ไม่ควรให้แฉะจนเกินไปเพราะจะทำให้เกิดโรคโคนเน่า
             3. กำจัดวัชพืช 2 ครั้ง/เดือน ในช่วงฝนโดยวิธีถางตามแนวร่อง

 

 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
          1. ดีปลีเป็นพืชอายุยืน หากมีการบำรุงรักษาที่ดีจะสามารถให้ผลผลิตได้นานถึง 40 ปี ดังนั้นควรเลือกพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์
          2. การป้องกันโรคเน่า โคนเน่าเป็นปัญหาสำคัญ ควรให้ความสำคัญเรื่องดินที่ระบายน้ำได้ดี และมีการจัดการที่ดี เช่น การพูนโคนและทำร่องน้ำให้มีความลาดเทเล็กน้อยเพื่อให้น้ำไหลผ่านสะดวก
          3. ควรใช้ค้างที่มีความแข็งแรง มีอายุการใช้งานนาน เพราะการเปลี่ยนค้างบ่อยทำให้สิ้นเปลืองและทำให้ดีปลีชะงักการเจริญเติบโต
          4. คุณภาพที่ตลาดต้องการ คือ ผลขนาดใหญ่, สีน้ำตาลแดง ไม่ดำคล้ำ แห้งสนิทไม่กรอบเกินไป ไม่มีเชื้อราหรือแมลงติดอยู่ และไม่มีสิ่งปนเปื้อน ดังนั้นการตากแห้งและเก็บรักษาจึงสำคัญมากทำให้ไม่เสียคุณภาพและขายได้ราคาสูง

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดกาญจนบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา