เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การปลูกมันสำปำหลัง

โดย : นายวิยะ มากสุริวงษ์ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-02-27-20:50:56

ที่อยู่ : 72 ม 8 ต.วังไผ่ อ.ห้วยกระเจา

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ปลูกมันสำปะหลังเป็นอาชีพ มีการพัฒนาการผลิตมาเรื่อยๆ ประกอบกับเป็นคนใจกล้า กล้าลองผิดลองถูก ปลูกไปด้วยทดลองไปด้วย ศึกษาหาความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ มาปรับใช้ในการผลิตมันสำปะหลังของตนเอง

วัตถุประสงค์ ->

วิธีการเพาะปลูกมันสำปะหลัง

1. การเตรียมดิน

หากดินที่ทำการเพาะปลูกมันติดต่อกันหลายปี ควรปรับปรุงดิน เพื่อรักษาระดับผลผลิตในระยะยาว ด้วยการใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักเปลือกมันชนิดเก่าค้างปี (จากโรงแป้งทั่วไป) ที่หาได้ในท้องถิ่น หรือ ปลูกพืชตระกูลถั่วต่าง ๆ หมุนเวียนบำรุงดิน ในกรณีที่พื้นที่ประเภทหญ้าคา ควรใช้ยาราวด์อัพหรือเครือเถาต่าง ๆ ควรใช้ยาสตาร์เรน ฉีดพ่นยาจำกัดเสียก่อนการไถ จากนั้นไถครั้งแรกโดยไถกลบวัชพืชก่อนปลูกด้วยผาน 3 (อย่าเผาทำลายวัชพืช) ให้ลึกประมาณ 20-30 ซม. แล้วทิ้งระยะไว้ประมาณ 20-30 วัน เพื่อหมักวัชพืชเป็นปุ๋ยในดินต่อไป ไถพรวนด้วยผาน 7 อีก 1-2 ครั้ง ตามความเหมาะสม และรีบปลูกโดยเร็ว ในขณะที่ดินยังมีความชื้นอยู่

2. การเตรียมท่อนพันธุ์

ใช้ท่อนพันธุ์มันที่สด อายุ 10-12 เดือน ตัดทิ้งไว้ไม่เกินประมาณ 15 วัน โดยติดให้มีความยาวประมาณ 20 ซม. มีตาไม่น้อยกว่า 5 ตา เพื่อป้องกันเชื้อราและแมลง ควรจุ่มท่อนพันธุ์ในยาแคปแทน 1.6 ขีด (160 กรัม) ผสมร่วมกับมาลาไธออน 20 ซีซี ในน้ำ 20 ลิตร ประมาณ 5 นาที ก่อนปลูก

3. การปลูก

ปลูกเป็นแถวแนวตรง เพื่อสะดวกในการบำรุงรักษาและกำจัดวัชพืช โดยใช้ระยะระหว่างแถว 1.20 เมตร ระยะระหว่างต้น 80 ซม. และปักท่อนพันธุ์ให้ตั้งตรงลึกในดินประมาณ 10 ซม.

4. การฉีดยาคุมเมล็ดวัชพืช

สำหรับการปลูกในฤดูฝนสภาพดินชื้น ควรฉีดยาคุมวัชพืชด้วยยาไดยูรอน (คาแม็กซ์) หลังจากการปลูกทันที ไม่ควรเกิน 3 วัน หรือก่อนต้นมันงอก หากฉีดหลังต้นมันงอก อาจทำให้ต้นมันเสียหายได้ ใช้ยาในอัตรา 6 ขีด (600 กรัม) ผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นได้ประมาณ 1 ไร่ครึ่ง

 

 

 

 

5. การกำจัดวัชพืชและการใส่ปุ๋ย

กำจัดวัชพืช ครั้งที่ 1 ประมาณ 30-45 วัน หลังการปลูก โดยใช้รถไถเล็กเดินตาม หรือ จานพรวนกำจัดวัชพืช ติดท้ายรถแทรกเตอร์ พร้อมทั้งใส่ปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 25-50 กก./ไร่ ห่างจากต้นมัน 1 คืบ (20 ซม.) จากนั้นใช้จอบกำจัดวัชพืชส่วนที่เหลือ พร้อมกับกลบปุ๋ยไปด้วย หรือใส่ปุ๋ยโดยการขุดหลุม ห่างจากโคนต้น 1 คืบ แล้วกลบดินตามก็ได้ ข้อสำคัญควรใส่ปุ๋ยขณะที่ดินมีความชื้นอยู่ กำจัดวัชพืช ครั้งที่ 2 ประมาณ 60-70 วัน หลังการปลูก โดยปฏิบัติเช่นเดียวกันกับครั้งแรก กำจัดวัชพืช ครั้งที่ 3 ตามความจำเป็น โดยใช้จอบถาก หรือฉีดพ่นด้วยยากรัมม๊อกโซน (ควรใช้ฝากครอบหัวฉีด เพื่อป้องกันไม่ให้ยาโดนตาและลำต้นมัน)

6. การเก็บเกี่ยว

ทำการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังในช่วงอายุที่เหมาะสม คือ ประมาณ 10-12 เดือน พร้อมทั้ง วางแผนการเตรียมท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง เพื่อการปลูกในคราวต่อไปส่วนของต้นมันสำปะหลังที่ไม่ใช้ เช่น ใบ กิ่ง ก้าน หรือ ลำต้น ควรสับทิ้งไว้ในแปลง เพื่อให้เป็นปุ๋ยพืชสดในดินต่อไป

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1 การสนใจ  ศึกษา  ค้นคว้าหาความรู้จากประสบการณ์  การฝึกอบรมศึกษาดูงานในพื้นที่จริง  การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้ที่สนใจและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ  ในการผลิตตลอดเวลา

 2 การใช้ความรู้ในการแก้ปัญหาและพัฒนาการทำการผลิตให้เกิดประสิทธิภาพ

3  การวางแผนการผลิตและการตลาด  โดยใช้การตลาดนำการผลิต  สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มจากสินค้าเกษตร

4 การผลิตที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม  ระบบนิเวทในแปลงมันสำปะหลัง

5 ต่อยอดความรู้โดยการเป็นวิทยากรถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนเรียนรู้แก่ผู้ที่สนใจ

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

                การเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังต้องเริ่มจากท่อนพันธุ์ที่ดี อายุ 10-12 เดือน มีแปลงขยายท่อนพันธุ์แยกต่างหาก ต้องดูแลรักษาต้นมันสำปะหลังให้แข็งแรงเช่นเดียวกับร่างกายของคนเรา ศัตรูต่างๆ ก็ไม่สามารถทำลายหรือทำลายได้น้อย โดยการปรับปรุงบำรุงดินด้วยปุ๋ยน้ำที่ได้จากการผลิตผงชูรส (360 ลิตร/ไร่ ราคา 300 บาท) ปุ๋ยคอก (650 กก./ไร่ ราคา 650 บาท) และขี้เถ้าแกลบ (8 ตัน/ไร่ ราคา 856 บาท) ใน 3 เดือนแรกกำจัดวัชพืชให้หมด หมั่นตรวจแปลงถ้าเกิดอะไรขึ้นก็จะแก้ไขได้ทันท่วงที หลังจากเก็บเกี่ยวมันออกจากแปลงแล้ว ทิ้งเหง้า กิ่ง คืนในแปลงและไถกลบเพิ่มอินทรียวัตถุในดินไปในตัวด้วย การเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังที่อายุ 18 เดือนขึ้นไป ผลผลิตอยู่ระหว่าง 8-12 ตัน/ไร่

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดกาญจนบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา