เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การเพาะเห็ดฟางทะลายปาล์ม

โดย : นายวันชัย ปิดนะ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-07-04-10:44:05

ที่อยู่ : 180 หมู่ที่ 2 ตำบลเขาเขน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

   จากการไปศึกษาดูงานการทำการเกษตรผสมผสานในหลายพื้นที่  แท้จริงแล้วการทำการเกษตรผสมผสาน ชาวบ้านได้ทำกันมาตั้งแต่อดีตแล้ว  โดยหลักก็คือการปลูกพืชหลายชนิดในพื้นที่ข้างบ้าน  หรือที่ชาวใต้เรียกกันว่า  สวนสมรม  และเลี้ยงสัตว์ไว้บริโภคหรือขาย  เช่น  ปลา  ไก่  เป็ด  หมู  วัว  แรงบันดาลใจที่ทำ  ตามรอยเท้าพ่อ  ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  เหตุผลที่ทำ  ปัจจุบันสภาพปัญหาด้านเศรษฐกิจของครัวเรือนส่วนใหญ่ก็คือ  รายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย  สาเหตุจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยว  การทำสวนปาล์มน้ำมัน  สวนยางพารา  หมายถึงว่ารายได้ของครอบครัวต้องพึ่งพาจากปาล์มน้ำมัน  และยางพารา  เมื่อราคาผลผลิตดังกล่าวตกต่ำ  ชาวสบ้านก็เดือดร้อน  การทำเกษตรผสมผสาน  เป็นกิจกรรมทางเลือกที่สามารถแก้ไขปัญหาให้กับครัวเรือนได้ด้วยหลักคิด  ปลูกทุกอย่างที่กิน  กินทุกอย่างที่ปลูก  ปลูกไว้บริโภคในครัวเรือน  ที่เหลือนำไปขาย  และที่สำคัญด้านรายจ่ายของครัวเรือน  ท่ี่ต้องมีรายจ่าย  รายวัน  รายอาทิตย์  รายเดือน  และรายปี  เพื่อให้เรายได้และรายจ่ายเกิดความทสมดุล  มีความจำเป็นที่ต้องดำเนินกิจกรรมย่อยหลาย ๆ  กิจกรรมที่จะทำให้ครัวเรือนมีรายได้  รายวัน  รายอาทิตย์  รายเดือน  หรือรายได้ตามฤดูกาล  หากทำได้ดังกล่าวแล้วสเชื่อว่าแต่กละครัวเรือนจะไม่เดือดร้อน  สามารถดำรงชีวิตได้  และพร้อมรับการเปลี่ยนแปลบงในทุกสภาวะเศรษฐกิจ

วัตถุประสงค์ ->

1.  ต้องนำทะลายปาล์มที่ขนมาจากโรงงานนำมาหมักไว้กองเป็นเวลาประมาณ  10  วัน  การหมักโดยนำฃังทะลายปาล์มมากองไว้แล้วคลุมด้วยพลาสติก  รดน้ำวันเว้่นวัน  จนครบตามระยะเวลา

2.  เมื่อหมักทะลายปาล์มได้ที่แล้ว  จะนำมาปูเป็นร่องขนาดตามต้องการ  ขนาดของร่องทีทางกลุ่มแม่บ้านทำ  ใช้ขนาดความกว้างของร่องที่ ท 80  เซนติเมตร  ยาว  7  เมตร

3.  การล้างทำความสะอาดทะลายปาล์มน้ำมัน  โดยการใช้น้ำฉีดจนกว่าน้ำที่ฉีดล้างจะออกเป็นสีแดง  จึงถือว่าสะอาดได้ที่  ระหว่างการล้าง  ต้องมีการเหยียบย่ำให้ทะลายปาล์มนุ่มลงด้วยเมื่อล้างทำความสะอาดแล้ว

4.  การนำเชื้อเห็ดฟางมาหว่านลงไป  โดยจะใช้เชื้อ  30  ถุง  ผสมกับอาหารเสริมประมาณครึ่งถุงคลุกเคล้าให่้เข้ากันดีแล่้วนำมาโดรยลงของทะลายปาล์มน้ำมันแล้ว  คลุมด้วยพลาสติกไว้บนโครงไม้ไผ่ที่จัดสร้างไว้นานประมาณ  3  วัน  โดยในช่วง  3  วัน  ดังกล่าวไม่ให้เปิดดูโดยเด็ดขาด  จนกระทั่งผ่านระยะเวลาดังกล่าวจนเปิด  เพื่อถ่ายเทอากาศทุกวันในช่วงเช้าและเย็น  นานประมาณ  30  นาที

5.  วันที่  3  ปักกไม้โค้ง

6.  หลังจากนั้นประมาณ  8  วัน  เห็ดฟางจะเริ่มออกดอก

7.  ในส่วนของการเปิดพลาสติกออกเพื่อเก็บดอกเห็ดต้องเริ่มด้วยการเปิดแผ่นพลาสติกบริเวณหัวและท้ายร่องก่อนเพื่อเป็นการระบายอากาศ  จากนั้นจึงเปิดทั้งหมดและเมื่อเก็บดอกเห็ดมาแล้วต้องรีบคลุมพลาสติกไว้ดั้งเดิม  เพื่อป้องกันเชื้อต่าง ๆ  ที่จะเข้าไปเจริญเติบโตในร่องเห็ด  อันจะทำให้มีผลเสียต่อฟางที่้เพาะไว้

8.  สำหรับการให้น้ำ  จะต้องดูที่ความชื้นของกองเห็ดเป็นหลัก  หากพบว่าความชื้นน้อยลงจะให้น้ำทันที  โดยการรดน้ำไปบนผ้ายางแล้วน้ำจะไหลลงสู่ด้านข้างของร่องเพาะเห็ดและซึมเข้าไปในวัสดุเพาะ  เห็ดจะให้ผลผลิตเต็มที่  เมื่อประมาณ  10-15  วัน  แล้ว  เราสามารถเก็บได้ทุกร่อง  ได้ทุกวัน  โดยจะมีปริมาณ๊มากในระยะเวลาประมาณ  3  วัน  หลังจากนั้นปรอมาณดอกเห็ดที่ออกเริ่มลดน้อยลง  หากรวมเวลาท่ี่สามารถเก็บดอกเห็ดจนหมดรุ่น  ใช้เวลาประมาณ    13  วัน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.  เป็นการนำวัตถุดิบ  (ซังทะลายปาล์ม)  ในพื้นที่มาสร้างมูลค่าเพิ่ม

2.  การส่งเสริมของส่วนราขการต่าง ๆ  เกษตร  พัฒนาชุมชน  ธกส  เป็นต้น

3.  การศึกษาดูงานในหลายพื้นที่

4.  แรงบันดาลใจ  ตามรอยเท้าพ่อ

อุปกรณ์ ->

การเพาะเห็ดฟางทะลายปาล์ม  ต้องใช้น้ำมากพอสมควร  ดังนั้นแหล่งน้ำจึงมีความสำคัญโดยเฉพาะในหน้าแล้ง

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1.  ส่งเสริมให้ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนรวมตัวกันเป็นกลุ่มอาชีพ  กลุ่มเพาะเห็๋ฟางทะลายปาล์ม  วัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือซึี่งกันและกันในการประกอบอาชีพและสร้างรายได้

2.  ผลผลิตของกลุ่มสามารถเชื่อมโยงกับตลาดสัมมาชีพชุมชนทั้งในระดับ  หมู่บ้าน  ตำบล  อำเภอ  จังหวัด

3.  พัฒนาผลผลิตของกลุ่มให้เป็นนวัตกรรม  สวามารถเข้าสู่ระบบ    OTOP  และการดำเนินงานของบริษัทประชารัฐรักสามัคคี  (จังหวัด)  จำกัด

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดกระบี่
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา