เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การแปรรูปยางพาราเป็นยางแผ่นรมควัน

โดย : นางศิริกาญต์ ทองปานดี ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-02-11-19:58:31

ที่อยู่ : 98 ม.5 ต.เกาะขันธ์ อ.ชะอวด

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การนำยางแผ่นที่ผ่านการรีดดอกเรียบร้อยแล้วไปรมควันในโรงรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ยางแผ่นที่รมควันนั้นแห้งสนิท ยางแผ่นที่ผ่านการรมควันแล้วเรียกว่ายางแผ่นรมควัน ผลิตภัณฑ์ยางแผ่นรมควันพื้นฐานแบ่งได้เป็น 5 เกรดหลักๆ คือ ยางแผ่นรมควันชั้น 1, 2, 3, 4 และ 5 โดยการแบ่งเกรดนั้น จะใช้คุณภาพยางแต่ละประเภทและความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก ยางแผ่นรมควันถูกใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมต่างๆมากมาย เช่น ยางรถยนต์, สายพานลำเลียง, ท่อยาง, รองเท้า, ชิ้นส่วนรถยนต์ และ อื่นๆอีกมาก

วัตถุประสงค์ ->

  1.  นำยางแผ่นดิบที่รวบรวมได้มาล้างทำความสะอาด

  2. จุ่มยางแผ่นที่ล้างทำความสะอาดแล้วลงในสารละลายของสารพาราไนโตรฟินอล (Paranitrophenol) ความเข้มข้น 1% เพื่อป้องกันการเกิดเชื้อราในขณะที่รมควันหรืออบแห้ง

  3. ผึ่งยางให้สะเด็ดน้ำ โดยนำไปผึ่งในที่ร่มที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก

  4. นำยางแผ่นที่สะเด็ดน้ำแล้วเข้าโรงรมหรือโรงอบ โดยปกติจะใช้เวลาในการรมควันหรืออบให้ยางแห้งประมาณ 4-7 วัน ขึ้นกับความหนาของยางแผ่นที่รมหรืออบ โดยในแต่ละวันจะใช้อุณหภูมิในการรมควันหรืออบ ดังนี้

    วันที่ 1      ใช้อุณหภูมิ     120 – 125 F (ฟาเรนไฮท์)

    วันที่ 2      ใช้อุณหภูมิ     125 – 135 F

    วันที่ 3      ใช้อุณหภูมิ     135 – 140 F

    วันที่ 4      ใช้อุณหภูมิ     140 – 145 F

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่มีผลต่อคุณภาพยางแผ่นรมควัน คือ โรงรมควันยาง ซึ่งโรงรมควันยางที่ดี  จะต้องคำนึงถึง

  • กระจายความร้อนได้ทั่วถึงและสม่ำเสมอ
  • ระบายอากาศได้ดี
  • สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ดี
  • มีระบบป้แงกันไฟไหม้
  • มีทางระบายน้ำที่หยดจากแผ่นยางในขณะรมควัน ออกจากโรงรม
  • ควันและความชื้นไม่รั่วออกทางเพดาน

ฟืนที่ใช้ในโรงรมควัน ควรจะเป็นฟืนที่ให้ความร้อนได้ดี หากใช้ฟืนที่ไม่แห้งสนิท หรือฟืนของไม้บางชนิดที่่มีควันดำมาก จะทำให้ยางที่รมมีคุณภาพต่ำ แผ่นยางเป็นสีดำ

อุปกรณ์ ->

1.   สาเหตุที่เกิดขึ้นในขั้นตอนการผลิตยางแผ่นดิบ

  • การมีฟองอากาศเล็กๆ ในแผ่นยาง การเกิดฟองอากาศนี้เป็นเพราะน้ำยางสดที่นำมาทำยางแผ่นนั้นเริ่มจะเสีย โดยเริ่มมีการจับเป็นก้อนเล็กๆ ที่เรียกว่า เม็ดพริก ควรทำการแก้ไข โดยการใช้สารเคมี เช่น โซเดียมซัลไฟด์ ใส่รองก้นถ้วยหรือใส่ในถังรวบรวมน้ำยาง เพื่อป้องกันการจับเป็นก้อน
  • การมีจุดดำ มีเปลือกไม้หรือทราย เนื่องจากมีสิ่งสกปรกเจือปนมาก การแก้ไขควรจะทำการกรองน้ำยางให้สะอาดด้วยตะแกรงขนาด 60 Mesh (60 รูต่อนิ้ว)
  •  การมีฟองอากาศขนาดเท่าหัวเข็มหมุดตามขอบแผ่นยาง เป็นอากาศที่เนื่องมาจากการใช้น้ำกรด เพื่อให้ยางจับตัวน้อยเกินไปหรือการผสมระหว่างน้ำยางกับน้ำกรดเข้ากันไม่ดีการแก้ไข ควรระมัดระวังการใช้กรดให้ถูกส่วนและในการผสมน้ำกรดลงในน้ำยางให้ใส่ทีละน้อยๆ และรีบคนให้เข้ากัน
  • การมีสีสนิมตามผิวยาง เป็นอาการที่เกิดจากการใช้เครื่องมือที่ไม่สะอาดหรือการเอายางที่ทำเป็นแผ่นแล้วแต่ยังเปียกอยู่ไปวางทับถมกัน การแก้ไข ควรล้างทำความสะอาดเครื่องมือและล้างแผ่นยางให้สะอาด แล้วรีบนำไปผึ่ง อย่าวางทับถมกันไว้นานเกินไป
  • การมีผิวยางเป็นมัน เป็นอาการที่เกิดขึ้นจากการล้างยางแผ่นที่ทำเสร็จใหม่ๆ เอากรดออกไม่หมด หรือใช้น้ำกรดมากเกินไปหรือใช้โซเดียมซัลไฟด์มากเกินไป การแก้ไขควรตรวจสอบความเข้มข้นของกรด หรือโซเดียมซัลไฟด์ที่ใช้ให้ถูกต้อง และล้างแผ่นยางเอากรดตกค้างออกให้หมด

2. สาเหตุที่เกิดขึ้นในขั้นตอนการรมควัน

  • การมีฟองเล็กๆ โดยทั่วไป เกิดจากอุณหภูมิในวันแรกของการรมควันร้อนจัดเกินไปควรปรับอุณหภูมิเสียใหม่ ให้เริ่มด้วย 120 – 125 F ไม่ว่าในระยะใด
  • การมีโพรงอากาศ หรือฟองอากาศ เป็นเพราะอุณหภูมิในระยะสุดท้ายของการรมร้อนจัดเกินไป ควรควบคุมอุณหภูมิไม่ให้สูงเกินกว่า 145 F ไม่ว่าในระยะใด
  • การมีทางสีสนิม สาเหตุเพราะอุณหภูมิในวันแรกที่เข้าโรงรมต่ำมากเกินไป ควรระวังโดยเริ่มต้นด้วยความร้อนที่อุณหภูมิ 120 F
  • การมีทางสีดำและเหนียวเหนอะ เป็นอาการที่เนื่องมาจากเพดานมีช่องให้ควันและความชื้นรั่วออกไปตรงช่องนั้น จึงเกินมีละอองความชื้นเกาะเป็นยางเหนียวสีน้ำตาลหรือสีดำ เมื่อมีความชื้นมาก ยางเหนียวสีน้ำตาลหรือดำนั้น จะละลายหยดลงที่แผ่นยาง ทำให้แผ่นยางมีทางสีดำและเหนียวเหนะติดอยู่ ฉะนั้น ควรจะอุดช่องรั่วของเพดานให้หมด
  • การมีราขึ้น เป็นอาการที่เกิดขึ้นจากการมีความชื้นภายในโรงรมมากเกินไป ซึ่งจะต้องแก้ไขในเรื่องอุณหภูมิ และการล้างแผ่นยางเอาราออกและจุ่มน้ำยาพาราไนไตรฟินอลความเข้มข้น 1% เพื่อป้องกันการเกิดเชื้อรา

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนศูนย์ศีกษาและพัฒนาชุมชนนครศรีธรรมราช
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา