เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การสร้างสัมมาชีพชุมชน บนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

โดย : นายอาคม บุญปก ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-10-06-14:14:59

ที่อยู่ : สำนักงานพัมนาชุมชนอำเภอบัวใหญ่

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

กรมการพัฒนาชุมชน ได้ประกาศวาระกรมการพัฒนาชุมชน (Agenda) ปี 2560 โดยมีเป้าหมาย คือ “เศรษฐกิจครัวเรือนมีความมั่นคงประชาชนใช้ชีวิตอยู่ในชุมชนอย่างมีความสุข” ด้วย 3 ปัจจัยขับเคลื่อน คือ ๑) พัฒนาอาชีพครัวเรือน  ๒) หนึ่งตำบล  หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)  ๓) เศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ  โดยมี 5 ปัจจัยหนุนเสริม คือ ๑) ส่งเสริมองค์กรธรรมาภิบาล  ๒) พัฒนาบุคลากรและผู้นำชุมชน ๓) พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและจัดการความรู้ ๔) พัฒนากระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วม ๕) กองทุนหนุนเสริมอาชีพครัวเรือน เพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากมั่นคง และชุมชนพึ่งตนเองได้ ด้วยกลไกประชารัฐ

วัตถุประสงค์ ->

1)  เตรียมความพร้อมข้อมูลปราชญ์ชาวบ้านในการฝึกอบรมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน  โดยการสำรวจและจัดทำทะเบียนข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

๒)  คัดเลือกปราชญ์ชาวบ้านหรือผู้ประสบความสำเร็จหรือเชี่ยวชาญในอาชีพ ที่พร้อมเข้ารับการอบรมเป็นวิทยากรผู้ถ่ายทอดสัมมาชีพ จำนวน 1 คน จากเวทีประชาคม เข้าอบรมการพัฒนาทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับปราชญ์ชุมชน (วิทยากรสัมมาชีพชุมชน) ณ ศูนย์ศึกษาพัฒนาชุมชน

๓)  วิทยากรสัมมาชีพชุมชนกลับไปสร้างทีมในหมู่บ้าน โดยการคัดเลือกปราชญ์ชุมชน หมู่บ้านละ๔ คน รวมเป็น 5 คน เพื่อสร้างทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน

๔)  จัดประชุมเตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน โดยปราชญ์ที่ผ่านการฝึกอบรมเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้  ถ่ายทอดเทคนิคการเป็นวิทยากรสัมมาชีพชุมชน  และมอบหมายภารกิจหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน กำกับติดตามครัวเรือนเป้าหมาย  จำนวน ๒๐ ครัวเรือน  โดยแบ่งสัดส่วนทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน 1 คน ต่อครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน 4 ครัวเรือน

                   ๕)  เตรียมความพร้อมครัวเรือนเป้าหมายที่จะเข้ารับการอบรมอาชีพ ตามแนวทางสัมมาชีพชุมชน จำนวน 20 คน เพื่อให้ความรู้เรื่องสัมมาชีพชุมชน ความเป็นมาของโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน และกระบวนการสร้างสัมมาชีพชุมชนที่เกี่ยวข้อง  ทบทวนความต้องการของครัวเรือนเป้าหมาย ว่ายังมีความสนใจ หรือต้องการฝึกอาชีพ หรือเปลี่ยนแปลงอาชีพหรือไม่ และกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มการติดตามครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน
                   ๖)  ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูล ความต้องการอาชีพ โดยจัดกลุ่มความต้องการอาชีพ พิจารณาศักยภาพของชุมชน ว่าเป็นอาชีพที่จะสำเร็จได้ สามารถสร้างรายได้จริง ซึ่งต้องเชื่อมโยงกับการตลาด สอดคล้องกับความรู้ที่ปราชญ์ชุมชนในหมู่บ้านจะถ่ายทอด   จัดเตรียมพื้นที่ฝึกอบรม  ศึกษา   ดูงาน  และวัสดุ อุปกรณ์ในการฝึกอาชีพของครัวเรือน

                   ๗)  ดำเนินโครงการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

๑)  ศึกษาข้อมูลการดำเนินงานแนวทางสัมมาชีพชุมชนให้เกิดวามเข้าใจที่ชัดเจน เพื่อจะได้นำไปดำเนินการในระดับพื้นที่ให้เกิดประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผลรวมทั้งกำหนดแผนการดำเนินกิจกรรม/โครงการให้ชัดเจน

๒)  การคัดเลือกปราชญ์ชุมชน จะต้องเป็นปราชญ์ที่มีองค์ความรู้ที่เหมาะสมกับบริบทของชุมชน   และคนในชุมชนสนใจ สามารถต่อยอดให้เกิดพัฒนาเป็นอาชีพได้

๓)  ครัวเรือนเป้าหมาย จำนวน 20 คน ต้องสมัครใจ และตั้งใจฝึกอาชีพ เพื่อก่อให้เกิดการสร้าง

กลุ่มอาชีพให้เกิดรายได้อย่างแท้จริง

๔)  ให้การสนับสนุนกิจกรรมผ่านกระบวนการถ่ายทอด การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และศึกษาผ่านระบบเครือข่ายออนไลน์ต่าง ๆ  เพื่อศึกษาขั้นตอนกระบวนการในการประกอบอาชีพประเภทเดียวกัน หรือมีความใกล้เคียงกัน เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในหมู่บ้านชุมชน

อุปกรณ์ ->

การสร้างสัมมาชีพชุมชนบนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีเป้าหมาย คือ ประชาชนได้รับการพัฒนาอาชีพ และมีรายได้เพิ่ม  โดยให้ชาวบ้านสอนชาวบ้านในสิ่งที่เขาอยากทำ  ฝึกปฏิบัติจริงให้สามารถนำไปเป็นอาชีพได้   เพราะข้อเท็จจริงในทุกพื้นที่จะมีคนเก่งในแต่ละอาชีพอยู่แล้ว สิ่งสำคัญที่สุดคือ สัมมาชีพชุมชน "ต้องเป็นอาชีพที่เป็นความต้องการของชาวบ้านโดยแท้จริง "

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การสร้างสัมมาชีพชุมชน ต้องมีการส่งเสริมสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนศูนย์ศีกษาและพัฒนาชุมชนนครราชสีมา
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา