เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

การส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน ม.6 ต.หมอนนาง

โดย : นส.ชลดา สุขปิติ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-10-16:06:58

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอพนัสนิคม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การส่งเสริมการขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพชุมชน โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามแผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็งของรัฐบาล ซึ่งตอบสนองนโยบายรัฐบาลเรื่อง การลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐ โดยกำหนดพื้นที่เป้าหมายในการดำเนินงาน อำเภอพนัสนิคม จำนวน 24 หมู่บ้าน จากพื้นที่หมู่บ้านเป้าหมายที่ผ่านการให้การศึกษาด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การสำรวจข้อมูลและจัดเวทีประชาคมทำแผนชุมชนในปี 2559 ตามแผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคการเกษตรและชนบท (ยุทธศาสตร์ที่ 1) ซึ่งได้กำหนดกระบวนการขับเคลื่อนที่เริ่มต้นด้วยการพัฒนาทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับปราชญ์ชุมชน เพื่อให้กลับไปสร้างทีม และจัดฝึกอบรมอาชีพให้กับครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพในหมู่บ้าน โดยใช้พื้นที่ในบ้านปราชญ์ชุมชนหรือศูนย์เรียนรู้ชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ เพื่อมุ่งหมายให้ครัวเรือนที่เข้ารับการฝึกอาชีพมีความรู้ และปฏิบัติอาชีพได้จริง จนพัฒนาเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน และต่อยอดสู่การรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพที่มีความเข้มแข็งต่อไป

วัตถุประสงค์ ->

          1. เตรียมความพร้อมก่อนดำเนินการ สังเคราะห์ข้อมูลอาชีพ รวมถึงทักษะพื้นฐาน (ทุนเดิม) ของผู้แทนครัวเรือนเป้าหมายที่จะเข้ารับการฝึกอบรมอาชีพ

          2. ดำเนินการฝึกอบรมพัฒนาความรู้ เสริมสร้างทักษะการพัฒนาอาชีพตามความต้องการของครัวเรือนโดยดำเนินการหลังจากโครงการเตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านแล้วเสร็จ โดยมีกรอบระยะเวลาในการฝึกอบรมสัมมาชีพชุมชน 5 วัน ดังนี้

                   2.1 วันที่ 1-3 ดำเนินการฝึกอบรมความรู้ทางวิชาการ/ทฤษฎีที่ต้องรู้เกี่ยวกับอาชีพ และสาธิตหรือฝึกปฏิบัติเบื้องต้นตามความเหมาะสม จำเป็น ของแต่ละประเภทอาชีพให้กับผู้แทนครัวเรือน (ดำเนินการในหมู่บ้าน ณ ศูนย์เรียนรู้ชุมชนหรือบ้านปราชญ์ชุมชน)

                   2.2 วันที่ 4 ศึกษาดูงานเพิ่มพูนความรู้ด้านอาชีพ ณ หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงหรือบ้านปราชญ์ชุมชน  หรือศูนย์เรียนรู้ชุมชนที่เข้มแข็ง

                   2.3 วันที่ 5 ดำเนินการฝึกปฏิบัติอาชีพ ณ บ้านของครัวเรือนที่เข้ารับการฝึกอบรม โดยมีทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน ติดตามเป็นพี่เลี้ยงในการฝึกปฏิบัติ และมีการสนับสนุนวัสดุการฝึกปฏิบัติอาชีพ

         3. ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ดำเนินการส่งเสริมให้ครัวเรือนนำอาชีพที่ได้ฝึกปฏิบัติไปประกอบอาชีพหรือพัฒนาอาชีพอย่างต่อเนื่อง 

         4. จัดทำฐานข้อมูลครัวเรือนเป้าหมาย เพื่อนำไปใช้ในการต่อยอดการพัฒนาและอื่น ๆ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

จากกการดำเนินงานส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพ ม.6 ต.หมอนนาง สัมมาชีพที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต ดั้งเดิมของครัวเรือน สามารถดำเนินการได้ผลค่อนข้างดี ได้รับความสนใจและสามารถขยายผลไปได้

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การปลูกผักกุ้ยช่าย เป็นการถ่ายทอดความรู้จากปราชญ์ในพื้นที่ การติดตามสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจะส่งผลให้ผลผลิตได้ผลค่อนข้างดี

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนศูนย์ศีกษาและพัฒนาชุมชนอุบลราชธานี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา