เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

ถักแห

โดย : นายยิ้ม เชื้องาม ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-02-27-20:46:08

ที่อยู่ : 102 ม.5 ต.ห้วยกระเจา อ.ห้วยกระเจา จ.กาญจนบุรี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

แห เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งสำหรับใช้จับปลา ซึ่งนิยมกันมากของคนทั่วไป เพราะโดยทั่วไปทุกๆคนจะมีแหล่งน้ำขนาดเล็กมากมาย สวนหนอง บึง ลำคลอง หรือแม้นาขนาดใหญ่จะมีน้อยมากและไม่สามารถเก็บน้ำได้ตลอดปี วิธีจับปลาที่ได้ผลเร็วและสะดวกที่สุด ดังนั้น แห จึงมีหลายขนาด หลายชนิด ด้วยความจำเป็นเพื่อการยังชีพในอดีตแทบทุกครัวเรือน จึงมีแหไว้จับปลา และเป็นการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นจากรุ่นสู่รุ่น คงความเชื่อโบราณหรือเป็นวิถีชีวิตปกติ การถักแหมีมาตั้งแต่ช้านานซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ใช้ในการทำมาหากินและเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการดำรงชีวิตในอดีต ซึ่งปัจจุบันก็ยังคงมีอยู่ตามชนบททั่วไป

วัตถุประสงค์ ->

อุปกรณ์ในการถักแห

             1) ด้ายในล่อนขาว ด้ายสานแห หรือ เอ็นสานแห

             2) ชนุน (กิม มีลักษณะเป็นไม่ไผ่แบนหนาประมาณ 3-4 มิลลิเมตร กว้าง 1 นิ้ว ยาว 8 นิ้ว หัวแหลมมน ประมาณ1 ใน 3ส่วนของความยาวเจาะทะลุยาวตามส่วน1 ใน 3 มีเดือยตรงกลาง ส่วนท้ายใช้มีดควงให้เป็นตัวยู)

             3) ไม่ไผ่ หรือ ปาน (มีลักษณะการเหลาไม้ไผ่คล้ายไม้บรรทัดยาว 5-6 นิ้ว หนาประมาณ2-3 มิลลิเมตร ความกว้างขึ้นอยู่กับตาของแหที่ต้องการ)

             4) กรรไกร

             5) ลูกแห หรือ ลูกโซ่ตะกั่ว

             6) สีย้อมแห หรืออาจจะไม่ใช้ก็ได้

             วิธีการถักแห ขั้นแรกจะต้องเตรียมอุปกรณ์ในการถักแห ให้ครบ แล้วเตรียมเหลาไม้ไผ่ขนาดเล็กใหญ่ เนื่องจากขนาดรอบของด้ายที่จะใช้สานมีขนาดความยาวมากน้อยแตกต่างกัน จะเริ่มต้นสานแหจากจอมแหก่อนเพิ่มและขยายรอบการถักออกและขยายตาข่ายให้กว้างเพื่อที่จะทำให้เป็นวงกลมทั้งฝืน ตามขนาดของการใช้งาน ขนาดของการสานแห ยาวขนาด เจ็ดศอก เก้าข้อศอก และ สิบเอ็ดข้อศอก ขนาดความกว้างมีหลายขนาด อาทิ แหขนาดตาข่าย สองเซ็น สี่เซ็น ห้าเซ็น (เซนติเมตร) ภาษาท้องถิ่นจะเรียกขนาดของตาข่ายว่าเซ็น เป็นต้น ซึ่งจะสานตามความต้องการของการใช้งาน ขั้นตอนพอสังเขป ในการถักแห

             3. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

                  วิธีการโดยสังเขป เริ่มทำการถักที่จับแหส่วนบน (เรียกว่าจอมแห เพื่อใช้จับดึงเวลาหวานแห) และนำไปแขวนไว้ให้สูงพอประมาณเพื่อสะดวกต่อการถักส่วนล่าง บางทีแขวนด้วยตะปูตามฝาผนังบ้าน ผนังข้างบ้าน หรือต้นเสากลางบ้านตามความเหมาะสม หรือความสะดวกของคนที่ต้องการสาน

                   วิธีการก่อจอมแห ตีตะปูสองตัวระยะห่างแล้วแต่ความต้องการจอมเล็กจอมใหญ่ เสร็จแล้วใช้ด้ายพันรอบตะปูเก้ารอบ ผูกหรือมัดไว้ให้แน่น ถัก เพื่อความแข็งแรงสวยงาม เว้นปลายทั้งสองข้างประมาณข้างละ 3 ซม.      

                   วิธีถักคล้อง พับครึ่งจัดให้เท่าๆกันแล้วมัดไว้ให้แน่น ถักเพิ่มเพื่อแยกตาแหให้เรียงรอบจอม ทั้งหมด 16ตา ใช้ชนุนร้อยเชือกไนล่อนที่เตรียมไว้ เริ่มถักโดยใช้ไม้กระดานรองเพื่อให้แต่ละช่องตาข่ายมีขนาดเท่ากัน และดึงขณะที่ถักเพื่อให้ตึงตาข่ายจะได้เสมอกัน ขนาดเท่ากัน ถักไปเรื่อย ๆ ตามความยาวของขนาดแห ดังกล่าวข้างต้นข้างต้น ซึ่งเราสามารถสานแหได้หลายรูปแบบ เช่น การขมปมแหแบบพิรอด แบบบ่วงสายธนู แบบปมขอด แต่ในที่นี้จะนำเสนอการขมปมแบบบ่วงสายธนูมาเป็นตัวอย่าง 1. ใช้ปาน (ไม่ไผ่)สอดเทียบกับตาแห 2. จากนั้นก็ขึงด้ายสานแหไว้ 3.ใช้ปลายกิมหรือชนุนเสยด้ายสานแหขึ้น 4.จากนั้นก็ตวัดลงข้างล่างซึ่งจะเห็นเป็นห่วงแบบนี้ 5.ใช้ปลายกิมเกี่ยวตาบนของตาแห 6.จากนั้นก็ใช้ปลายกิมเกี่ยวเส้นด้ายสานแหผ่ากลางห่วง 7.แล้วก็ดึงให้รอดออกไป 8.ใช้นิ้วนางหรือนิ้วก้อยขึงไว้แล้วก็ทำแบบนั้นเดิมไปเรื่อย 3. สานแหได้ตามขนาดตามต้องการ ที่ปลายแห (ตีนแห) ให้ร้อยลูกแหด้วยลูกโซ่ตะกั่วเพื่อถ่วงน้ำหนักของแหเวลานำไปหว่านจับปลาจะได้ดักปลาไว้จนกว่าจะทำการจิกขอบแหครบรอบวงกลมของแห

                   เป็นวิธีภูมิปัญญาอีกอย่างหนึ่งที่เกิดจากประสบการณ์ เมื่อสานแหเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะนำอุปกรณ์แหไปทำการย้อม โดยใช้วัสดุจากธรรมชาติ การย้อมสีของแหสมัยก่อนจะย้อมจากวัตถุดิบจากธรรมชาติ เปลือกไม้ หรือ ผล เช่น ผลตะโกตำให้แหลกเป็นน้ำ แล้วนำแหมาหมักทิ้งไว้ในน้ำตะโก 1 คืน (จะได้สีออกแดง) และเอาขึ้นมาตากแดดให้แห้ง แล้วหมักโคลนต่อเพื่อให้สีติดทนนาน ซึ่งการหมักตะโกนี้จะทำให้แหมีสีออกดำ และอีกวิธีหนึ่ง จะนำ เอาเปลือกไม้ประดู่มาต้มเคี่ยวให้แดง พอน้ำร้อนแดงได้ที่ ยกลงปล่อยให้อุ่นพอประมาณ ให้เอาแหแช่ไว้ประมาณ 2-3 ชั่วโมง แล้วนำออกมาตากแดดให้แห้ง จากนั้นนำไปแช่น้ำโคลนประมาณ 1-3 ชั่วโมง จึงนำไปวักแหมีสีดำช่วยยืดอายุในการใช้งานยาวนาน 4. การถวงแห หลังจากตากแห แห้งดีแล้ว แหก็ยังนำไปทอดหรือตึกไม่ได้ จะต้องนำแห มาถ่วงโดยการใช้ไหบรรจุน้ำจนเต็ม ด้วยการนำไหใส่ในตัวแหแล้วมัดตีนแหให้จอมมัดกับขอหรือกิ่งไม้ ทิ้งไว้ข้ามคืนโดยประมาณ จุดประสงค์เพื่อให้แหมีความกระชับและอยู่ตัว หลังจากนั้น แหก็ใช้ทอดหรือตึกได้เลย การเหวี่ยงแห (ทอดแห ตึกแห) ถือเป็นศาสตร์เฉพาะตัวจะต้องใช้ความรู้ ความสามารถเฉพาะตัวมาก

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

เมื่อนำแหไปใช้เป็นอุปกรณ์หาปลา เวลาใช้เสร็จจะต้องทำความสะอาด เนื่องจากอาจมีเศษใบไม้ หญ้า ฟาง ดินเหนียว ติดกับหัวแห ล้างและทำความสะอาด สะบัดน้ำให้หมาด ๆ แขวนผึ่งลม ผึ่งแดด เพื่อเป็นการรักษาให้อายุการใช้งานได้ยาวนาน สำหรับอายุการใช้งาน ประมาณ 10 ปี ขึ้นไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการบำรุง รักษา อุปกรณ์การใช้งานของส่วนประกอบของแหนั้นเอง

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนศูนย์ศีกษาและพัฒนาชุมชนอุบลราชธานี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา